การสร้างและหาประสิทธิภาพเครื่องปอกสายเคเบิลขนาด 185 ตร.มม. แบบโยก 10–45 องศา

ผู้แต่ง

  • จิรพัฒน์ ลิ่มทอง แผนกวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง วิทยาลัยเทคนิคนครรีธรรมราช
  • ชวนชม ลิ่มทอง แผนกวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง วิทยาลัยเทคนิคนครรีธรรมราช

คำสำคัญ:

เครื่องปอกสาย, สายเคเบิล, แบกกาไลท์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างเครื่องปอกสายเคเบิลขนาด 185 ตร.มม. แบบโยก 10 – 45 องศา 2) หาประสิทธิภาพเครื่องปอกสายเคเบิลขนาด 185 ตร.มม. แบบโยก 10 – 45 องศา 3) ประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้เครื่องปอกสายเคเบิลขนาด 185 ตร.มม. แบบโยก 10 – 45 องศา ประชากรและกลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานช่างของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จ.นครศรีธรรมราช โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จากพนักงานช่างของการไฟฟ้า จ.นครศรีธรรมราช จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบบันทึกข้อมูลและแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่าเครื่องปอกสายเคเบิลขนาด 185 ตร.มม. แบบโยก 10 – 45 องศา ที่สร้างขึ้นโดยมีโครงสร้างประกอบด้วยชุดด้ามจับจากไม้ โครงทำจากแผ่นแบกกาไลท์ ซึ่งเป็นวัสดุที่เป็นฉนวนและทนความร้อน มีกลไกตลับลูกปืนหมุนทางเดียว เพื่อรองรับการปอกสายเคเบิลในทิศทางเดียวและมีชุดใบมีดตัดและใบมีดปอกสาย ซึ่งทำมาจากเหล็กกล้า เมื่อทดลองเปรียบเทียบระยะเวลากับความยาวในการปอกสาย ระหว่างการใช้เครื่องปอกสายเคเบิลขนาด 185 ตร.มม. แบบโยก 10 – 45 องศา กับเครื่องปอกสายแบบใช้แรงหมุนปอกสายแบบ 360 องศา พบว่า ระยะเวลาในการปอกสายที่ระยะทาง 1 เมตร ใช้เวลาเฉลี่ย 45.7 วินาที ลดลงร้อยละ 57.1 ที่ระยะทาง 2 เมตร ใช้เวลาเฉลี่ย 117 วินาที ลดลงร้อยละ 66.5 ที่ระยะทาง 3 เมตร ใช้เวลาเฉลี่ย 198.4 วินาที  ลดลงร้อยละ 58.6 ที่ระยะทาง 4 เมตร ใช้เวลาเฉลี่ย 257.5 วินาที ลดลงร้อยละ 61.5 และเมื่อศึกษาความพึงพอใจต่อเครื่องปอกสายเคเบิลขนาด 185 ตร.มม. แบบโยก 10 – 45 องศา พบว่า ผู้ใช้งานมีความพึงพอใจต่อเครื่องปอกสายเคเบิลขนาด 185 ตร.มม. แบบโยก 10 – 45 องศา ในระดับมากที่สุด

References

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค. (2562). [ออนไลน์]. ประวัติความเป็นมาของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค. [สืบค้นเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2563]. จาก https://www.pea.co.th/เกี่ยวกับเรา/ประวัติความเป็นมา/ภารกิจ.

ทวี งามวิไลกร. (2561). การสร้างเครื่องปอกสายแรงสูงขนาด 24,000 โวลท์. ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลและการผลิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ, สกลนคร.

ชนม์นิภา กุลชาติสถาพร และเลิศชัย ระตะนะอาพร. (2562). การวิเคราะห์สาเหตุและการป้องกันสายไฟฟ้าแรงสูงขาด. วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ. สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. ปีที่ 11 ฉบับที่ 21 มกราคม-มิถุนายน 2562, 52-63.

อนุรักษ์ ไชยเอมและอนุสรณ์ สดใส. เครื่องตัดสายไฟอัตโนมัติ. ปริญญานิพนธ์เทคโนโลยีบัณฑิต. กลุ่มวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์. คณะวิศวกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : สุริยาสาส์น.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-06-2021