การสร้างและหาค่าความเร็วในการปอกเปลือกทุเรียน ของอุปกรณ์สำหรับปอกเปลือกทุเรียนแบบ Knock Down

ผู้แต่ง

  • ขรรค์ชัย กาละสงค์ แผนกวิชาช่างกลโรงงาน วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
  • อำนาจ สมทรง แผนกวิชาช่างกลโรงงาน วิทยาลัยการอาชีพปัตตานี จังหวัดปัตตานี

คำสำคัญ:

อุปกรณ์ปอกเปลือกทุเรียน, ค่าความเร็ว, ความพึงพอใจ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อสร้างอุปกรณ์สำหรับปอกเปลือกทุเรียนแบบ Knock Down 2) เพื่อเปรียบเทียบค่าความเร็วในการปอกเปลือกทุเรียน ของอุปกรณ์สำหรับปอกเปลือกทุเรียนแบบ Knock Down กับการใช้มีดปอกเปลือกทุเรียนแบบเดิม และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่ออุปกรณ์สำหรับปอกเปลือกทุเรียนแบบ Knock Down กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ ผู้บริโภคทุเรียน จำนวน 30 ราย ที่อาศัยอยู่ในเขตจังหวัดสงขลา โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบบันทึกผลการทดลอง และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในงานวิจัยคือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลวิจัยพบว่า 1) อุปกรณ์สำหรับปอกเปลือกทุเรียนแบบ Knock Down ที่สร้างขึ้น สามารถปอกเปลือกทุเรียน ได้อย่างมีคุณภาพตามแบบประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผลการเปรียบเทียบความเร็วในการปอกเปลือกทุเรียน พบว่า อุปกรณ์สำหรับปอกเปลือกทุเรียนแบบ Knock Down สามารถปอกทุเรียนได้เร็วกว่าการใช้มีดปอกเปลือกทุเรียนแบบเดิม โดยอุปกรณ์สำหรับปอกเปลือกทุเรียนแบบ Knock Down ใช้เวลาในปอกเปลือกทุเรียนเฉลี่ยเท่ากับ 1.59 นาทีต่อผล ส่วนการใช้มีดปอกเปลือกทุเรียนแบบเดิม ใช้เวลาในปอกเปลือกทุเรียนเฉลี่ยเท่ากับ 4.01 นาทีต่อผล และ 3) ความพึงพอใจต่ออุปกรณ์สำหรับปอกเปลือกทุเรียนแบบ Knock Down มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด

References

[1] กลุ่มพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก กองนโยบายการสร้างความเข้มแข็งทางการค้า สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า. (2563). [ออนไลน์]. ทุเรียน ราชาแห่งผลไม้ไทย ถูกใจคนต่างแดน. [สืบค้นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2563]. จาก http://www.tpso.moc.go.th/sites/default/files/thueriiyn_240863.pdf.
[2] สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์กรมหาชน). [ออนไลน์]. ทุเรียน. [สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2563]. จาก www. arda.or.th/kasetinfo/south/durian/controller/01-03.php
[3] ปราโมทย์ กุศล, อนุพันธ์ เทอดวงศ์วรกุล และบัณฑิต จริโมภาส. (2553). การพัฒนาเครื่องผ่าผลทุเรียนเพื่อการบริโภคผลสด. วิศวกรรมสาร มก. ปีที่ 23 ฉบับที่ 71. 12-23.
[4] สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2557). [ออนไลน์]. สาระน่ารู้ทางสถิติ. [สืบค้นเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2563]. จาก www.nso.go.th/sites/2014.
[5] จรัญ จันทรลักษณ์ และอนันตชัย เขื่อนธรรม. (2540). สถิติเบื้องต้นแบบประยุกต์. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช.
[6] พีรพัฒน์ ผุดผาด และคณะ. (2562). [ออนไลน์]. อุปกรณ์ช่วยปอกทุเรียน. [สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2563]. จาก http://thaiinvention.net.
[7] สิดาพร จิตรไพบูลย์ และคณะ. (2562). [ออนไลน์]. อุปกรณ์ปอกทุเรียน THAILAND 4.0. [สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2563]. จาก http://thaiinvention.net.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-12-2020