แรงจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานโรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ มิราจ บีช รีสอร์ท พัทยา
คำสำคัญ:
แรงจูงใจ, ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน, โรงแรมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแรงจูงใจที่มีผลต่อการประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ มิราจ บีช รีสอร์ท พัทยา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย พนักงานระดับปฏิบัติการภายในโรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ มิราจ บีช รีสอร์ท พัทยา ที่ตอบรับให้ความร่วมมือในการทำแบบสอบถาม จำนวน 50 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่าง และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การใชแบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล ค่าสถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย เพื่อใช้ในการอธิบายแรงจูงใจที่มีผลต่อการประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ มิราจ บีช รีสอร์ท พัทยา
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ แรงจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานโรงแรม เซ็นทารา แกรนด์ มิราจ บีช รีสอร์ท พัทยา โดยเรียงลำดับรายข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ท่านได้รับความเอาใจใส่จากหัวหน้างานเป็นอย่างดี รองลงมา คือ ที่ทำงานแห่งนี้มีการฝึกอบรมเพิ่มความรู้และประสบการณ์ในงาน, ผู้บังคับบัญชาให้โอกาสท่านได้แสดงความคิดเห็นในเรื่องต่างๆเป็นอย่างดี, ท่านได้รับคำแนะนำในการทำงานจากผู้บังคับบัญชา, ค่าจ้างที่ได้รับจากการทำงานเหมาะสมกับความรู้ความสามารถของท่าน, เพื่อนร่วมงานเอารัดเอาเปรียบในขณะปฏิบัติงาน, ท่านรู้สึกพอใจในความก้าวหน้าของตำแหน่งหน้าที่การงานในขณะนี้, ท่านได้รับความเป็นธรรมจากตำแหน่งและการโยกย้ายงาน, การพิจารณาความดีความชอบหรือปรับเงินเดือนขึ้นอยู่กับผลการปฏิบัติงานของท่าน, เงินเดือนและสวัสดิการที่ได้รับทำให้ท่านไม่ต้องดิ้นรนหาเงินจากทางอื่น, สวัสดิการที่ได้รับครอบคลุมหมดแล้ว, งานที่ท่านทำอยู่มีโอกาสที่จะได้เลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น และค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ได้แก่ บริษัทของท่านได้ให้ค่าจ้างและผลตอบแทนสูงกว่าที่อื่น ตามลำดับ
References
[2] ธีระชัย ไชยเมือง. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการโรงแรมอิสตินแกรนด์สาทร. ศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต.
[3] พัชรีวรรณ ภาสบุตร. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจและความคาดหวังในการทำงานกับความผูกพัน ต่อองค์การของพนักงานในธุรกิจอุตสาหกรรม : กรณีศึกษา บริษัท ฮอนด้า จำกัด ในเขตนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง.
[4] รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2550). มนุษยสัมพันธ์: พฤติกรรมมนุษย์ในองค์การ. กรุงเทพมหานคร :มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
[5] สุรพันธ์ ฉันทแดนสุวรรณ. (2550). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพมหานคร : จุดทอง.