ระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ของวิทยาลัยการอาชีพหลังสวน

ผู้แต่ง

  • ประสิทธิ์ วัชรินทร์พร วิทยาลัยการอาชีพหลังสวน จังหวัดชุมพร

คำสำคัญ:

ประกันคุณภาพการศึกษา, พัฒนาระบบ, คุณภาพการศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยการอาชีพหลังสวน 2) พัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา 3) ประเมินระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา 4) ดำเนินงานตามระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และ 5) ศึกษาผลการพัฒนาคุณภาพภายในสถานศึกษาของวิทยาลัยการอาชีพหลังสวน กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญด้านการประกันคุณภาพการอาชีวศึกษา และผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาที่ได้รับการประเมินคุณภาพภายนอก รอบ 4 ปี พ.ศ. 2561 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ค่าสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean), ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)

ผลการวิจัย พบว่า 1) องค์ประกอบของระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยการอาชีพหลังสวน ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 7 องค์ประกอบ ได้แก่ การกำหนดมาตรฐานการศึกษา การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษา การดำเนินการตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษา การประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษา การติดตามผลการดำเนินการ การจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองตามมาตรฐานการศึกษา และการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาจากผลการประเมินตนเอง และตามข้อเสนอแนะของหน่วยงานต้นสังกัด 2) ผลการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาประกอบด้วย 44 องค์ประกอบรอง 3) ผลการประเมินระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 4) ผลการดำเนินงานตามระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาเป็นไปตามองค์ประกอบหลักและองค์ประกอบรองที่พัฒนา และ 5) ผลการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาภาพรวมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.37 โดยผลการประเมินคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยการอาชีพหลังสวน อยู่ในระดับคุณภาพยอดเยี่ยมทั้ง 3 มาตรฐาน

References

[1] สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2562). แผนยุทธศาสตร์ ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579). กรุงเทพมหานคร: สำนักงาน.
[2] กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 พร้อมกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องและพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: กระทรวง.
[3] สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2558). คู่มือการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาอาชีวศึกษา. ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สำนักงาน.
[4] สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2562). การจัดระดับคุณภาพสถานศึกษาอาชีวศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงาน.
[5] สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2561). หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติการประกันคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงาน.
[6] กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพมหานคร: กระทรวง.
[7] สมัคร นรินทร์รัมย์. (2561). การบริหารการประกันคุณภาพภายในวิทยาลัยเทคนิค สังกัดสถาบันอาชีวศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, บุรีรัมย์.
[8] สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ. (2561). หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติการประกันคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.
[9] ประชาคม จันทรชิต. (2558). รูปแบบระบบการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพการอาชีวศึกษาที่ยั่งยืน. สาขาวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
[10] สมศักดิ์ สินธุระเวชญ์. (2543). แนวคิดในการพัฒนาคนและกระบวนการเรียนรู้. วารสารข้าราชการครู, ปีที่ 19 ฉบับที่ 6. 11-21.
[11] อำรุง จันทวานิช. (2542). การประกันคุณภาพเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภาลาดพร้าว.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-12-2020