การประเมินโครงการส่งเสริมการจัดทำสิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรมและงานวิจัย วิทยาลัยการอาชีพไชยา ปีการศึกษา 2562

ผู้แต่ง

  • วันชัย พันเรือง วิทยาลัยการอาชีพไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

การประเมินโครงการ, สิ่งประดิษฐ์, นวัตกรรม, งานวิจัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินโครงการส่งเสริมการจัดทำสิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรมและงานวิจัย วิทยาลัยการอาชีพไชยา ปีการศึกษา 2562 กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้บริหาร จำนวน 5 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 56 คน  นักเรียน นักศึกษา จำนวน 429 คน รวมทั้งหมด 490 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามชนิดแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า ผลการประเมินโครงการส่งเสริมการจัดทำสิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรมและงานวิจัย วิทยาลัยการอาชีพไชยา ปีการศึกษา 2562  สำหรับผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านสภาพแวดล้อมมีผลการประเมินสูงสุดอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านปัจจัยนำเข้าอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านกระบวนการดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุด และด้านผลผลิตโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด สำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านผลผลิตโครงการ มีผลการประเมินสูงสุดอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือด้านกระบวนการดำเนินงาน อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านสภาพแวดล้อมอยู่ในระดับมากที่สุด และด้านปัจจัยนำเข้าอยู่ในระดับมากที่สุด และสำหรับนักเรียน นักศึกษา เป็นการประเมินด้านผลผลิตโครงการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

References

[1] สำนักนายกรัฐมนตรี. (2561). ประกาศเรื่อง ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561- 2580). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอนที่ 82 ก หน้า 20.
[2] Stufflebeam, D.L. (2003). The CIPP Model for Evaluation. In Kellaghan, T. & Stufflebeam, DL (Eds.). The International Handbook of Educational. Boton : Kluwer.
[3] สมนึก ภัททิยธนี. (2546). การวัดผลการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์.
[4] บุญชม ศรีสะอาด และบุญส่ง นิลแก้ว. (2535). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 6. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
[5] ศิริรัตน์ นิลนาก. (2562). การประเมินโครงการการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่นของโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดพิจิตร. วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
[6] รัตนา อยู่สวัสดิ์. (2562). [ออนไลน์]. การประเมินโครงการพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2. [สืบค้นเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2563]. จาก http://www.chan2.go.th/docfile/egp/a743d48340a1f1dc5bb61470f9c01b89.pdf.
[7] ชมขวัญ ขุนวิเศษ. (2561). [ออนไลน์]. การประเมินโครงการโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น (Local Sufficiency School LSS) โรงเรียนบ้านท่าแค (วันครู 2500). [สืบค้นเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2563]. จาก http://www.kroobannok.com /board_view.php?b_id=167679&bcat_id=14.
[8] นิยม แสงวงศ์. (2560). [ออนไลน์]. การประเมินโครงการส่งเสริมการทำวิจัยนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ของวิทยาลัยเทคนิคเดชอุดม. [สืบค้นเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2563]. จาก http://www.ivene4.ac.th/home/images/tiean/tsis.pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-12-2020