รูปแบบการจัดการเรียนการสอนเรื่องเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง ผ่านการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน

ผู้แต่ง

  • ธนาคาร คุ้มภัย สาขาเทคโนโลยีไฟฟ้า, วิทยาลัยการอาชีพกาญจนาภิเษกหนองจอก, สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร
  • แสงอาทิตย์ เจ้งวัฒนพงศ์ สาขาเทคโนโลยีไฟฟ้า, วิทยาลัยการอาชีพกาญจนาภิเษกหนองจอก, สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร
  • ปรัชญา หนูปลอด สาขาเทคโนโลยีไฟฟ้า, วิทยาลัยการอาชีพกาญจนาภิเษกหนองจอก, สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร
  • พงค์สิลป์ รัตนอุดม สาขาเทคโนโลยีไฟฟ้า, วิทยาลัยการอาชีพกาญจนาภิเษกหนองจอก, สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร
  • สมพร ปานดำ ผู้อำนวยการ สำนักติดตามและประเมินผลการอาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

คำสำคัญ:

เกษตรอัจฉริยะ, อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง, โครงงานเป็นฐาน, การเรียนการสอน, ระบบควบคุม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนด้วยการบูรณาการเรื่องเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง ผ่านการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนรู้เรื่องเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง ผ่านการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจในการเรียนของผู้เรียน ซึ่งรูปแบบวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) โดยมีกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยได้แก่นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาเทคโนโลยีไฟฟ้า สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร วิทยาลัยการอาชีพกาญจนาภิเษกหนองจอก ที่ลงทะเบียนเรียนวิชา การซ่อมบำรุงรักษาระบบควบคุม ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 15  คน

ผลการวิจัยพบว่า 1) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนด้วยการบูรณาการเรื่องเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งผ่านการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน ประกอบไปด้วย สำรวจโครงสร้างของหลักสูตร ศึกษารายวิชาที่ต้องการบูรณาการ ศึกษาหน่วยการเรียนรู้ สร้างสรรค์โครงงานในหัวข้อระบบเกษตรอัจฉริยะ ส่งเสริมกิจกรรมและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ เสนอโครงงานที่สร้างสรรค์ขึ้นในรูปแบบต่างๆ สรุปและประเมินผลการเรียนรู้ร่วมกัน 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา พบว่า มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 65.67 คิดเป็นร้อยละ 82.08 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 80 และมีจำนวนนักศึกษาที่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 80 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ร้อยละ 70 และ 3) นักศึกษามีความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนอยู่ในระดับที่ดีมากในทุกหัวข้อของการประเมิน โดยมีผลเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 4.72 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 0.41

References

[1] ศศิมา สุขสว่าง. (2562). [ออนไลน์]. ประเทศไทย 4.0 Thailand 4.0. [สืบค้นเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2563]. จาก https://www.sasimasuk.com.
[2] คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช. (2562). [ออนไลน์]. รมช.ศธ.“คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช” มอบนโยบาย สทศ. [สืบค้นเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2563]. จาก https://gnews.apps.go.th/news?news=46548.
[3] พฤทธิ์ พุฒจร. (2562). [ออนไลน์]. พัฒนาการศึกษาด้วย IoT (Education development with the Internet of Things). [สืบค้นเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2563]. จาก https://medium.com/@pruet19/พัฒนาการศึกษาด้วย-iot-education-development-with-the-internet-of-things-1b0bad7d399.
[4] สุทธิกร แก้วทอง และกุลรภัส เทียมทิพร. (2561). [ออนไลน์]. การบูรณาการการเรียนการสอนรายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาร่วมกับรายวิชาหลักการส่งเสริมสุขภาพด้วยวิธี การเรียนการสอนแบบโครงงานเป็นฐาน. [สืบค้นเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2563]. จาก http://158.108.80.26/kuojs-3.0.2/index.php/jehds/article/view/1072.
[5] ปรีดี แสงวิรุณ. (2555). การพัฒนาการสอนแบบวิศวกรรมดิจิตอลโดยโครงงานเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างการคิดวิเคราะห์และการเก้ปัญหา. วารสารการอาชีวะและเทคนิคศึกษาปีที่ 2 ฉบับที่ 3. 53-60.
[6] ปิยะวดี พงษ์สวัสดิ์ และพัลลภ พิริยะสุรวงศ์. (2558). ห้องเรียนกลับด้านโดยใช้การเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน. ครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. ปีที่ 6 ฉบับที่ 2. 228-234.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-06-2020