สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และแนวทางพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2
คำสำคัญ:
การพัฒนาแนวทางพัฒนา, เทคโนโลยีดิจิทัล, การบริหารงานวิชาการ, ความต้องการจำเป็นบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ของทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นของทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา และ 3) พัฒนาแนวทางพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและหัวหน้ากลุ่มงานบริหารวิชาการ จำนวน 188 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยเทียบตารางของเครจซี่ย์และมอร์แกน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มีจำนวน 4 ฉบับ คือ 1) แบบสอบถามสภาพปัจจุบันของทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา 2) แบบสอบถามสภาพที่พึงประสงค์ของทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา 3) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และ 4) แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์การจัดลำดับความสำคัญความต้องการจำเป็น
ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันของทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ของการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ความต้องการจำเป็นในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา ค่าดัชนีความต้องการจำเป็นสูงสุดได้แก่ ด้านการใช้โปรแกรมสร้างสื่อดิจิทัล และ 3) แนวทางพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 พบว่า มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมาก และความเป็นไปได้โดยรวมอยู่ในระดับมาก
References
ทิศนา แขมมณี. (2562). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). แนวทางการนำมาตรฐานการศึกษาชาติสู่การปฏิบัติสำหรับประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : 21 เซ็นจูรี่.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 OBEC’S POLICY 2020. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2. (2562). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ ปี พ.ศ. 2562 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2. นครพนม : กลุ่มนโยบายและแผน.
Shepherd, Andrew C. and Taylor, Rosemarye T. (2019). An Analysis of Factors Which Influence High School Administrators' Readiness and Confidence to Provide Digital Instructional Leadership. International Journal of Educational Leadership Preparation, Vol. 14 No. 1, 52-76.
สุติพงษ์ อมูลราช. (2557). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อสนับสนุนด้านการศึกษาของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
Bayer, Aydm and Oz, OMer. (2018). Academicians’ Views on Digital Transformation in Education. International Online Journal of Education and Teaching (IOJET), Vol. 5 No. 4, 809-830.