สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และแนวทางพัฒนาการบริหารและการจัดการโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2

ผู้แต่ง

  • ศศิมาภรณ์ นันทะสิงห์ สาขาการบริหารและพัฒนาการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
  • สุมาลี ศรีพุทธรินทร์ สาขาการบริหารและพัฒนาการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม

คำสำคัญ:

สภาพปัจจุบัน, สภาพที่พึงประสงค์, การบริหารและการจัดการโรงเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารและการจัดการโรงเรียน 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นของการบริหารและการจัดการโรงเรียน และ 3) พัฒนาแนวทางพัฒนาการบริหารและการจัดการโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 มีการดำเนินการวิจัยเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอน จำนวน 400 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้เกณฑ์ร้อยละ ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ระยะที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 3 คน ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทาง โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มีจำนวน 4 ฉบับ คือ 1) แบบสอบถามสภาพปัจจุบันของการบริหารและการจัดการโรงเรียน 2) แบบสอบถามสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารและการจัดการโรงเรียน 3) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และ 4) แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการบริหารและการจัดการโรงเรียน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การจัดลำดับความสำคัญความต้องการจำเป็น

ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการบริหารและการจัดการโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารและการจัดการโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ความต้องการจำเป็นของการบริหารและการจัดการโรงเรียน สูงสุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ ด้านการจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ ด้านการมีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา และด้านการพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ และ 3) แนวทางการพัฒนาการบริหารและการจัดการโรงเรียน พบว่า มีความเหมาะสม โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และความเป็นไปได้โดยรวมอยู่ในระดับมาก

References

Ah-Teck, J. C., & Starr, K. (2013). Principals’ Perceptions of “Quality” in Mauritian Schools Using the Baldrige Framework. Journal of Educational Administration, Vol. 51 No. 5, 680-704.

สุมาลี ศรีพุทธรินทร์. (2562). การประกันคุณภาพการศึกษา. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงาน.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2. (2563). ข้อมูลพื้นฐานโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2. นครพนม: กลุ่มสารสนเทศสำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ. (2558). ภาวะผู้นำของผู้บริหาร. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

สุวิมล ว่องวานิช. (2557). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สนอง สุดสะอาด และศศิรดา แพงไทย. (2561). สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการบริหารโรงเรียนคุณภาพที่มีประสิทธิผล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ สาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, ปีที่ 4 ฉบับพิเศษ, 150-159.

อมรรัตน์ จินดา และเอกนฤน บางท่าไม้. (2559). สภาพปัญหาและแนวทางส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาสำหรับสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2. Veridian E-Journal, Silpakorn University สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2559, 395-407.

สุวดี เสนีย์วงค์ ณ อยุธยา. (2560). แนวทางการบริหารสถานศึกษาตามมาตรฐานสถานศึกษาต้นแบบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท. การนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 17มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, พิษณุโลก.

สมกิต บุญยะโพธิ์. (2555). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสู่ความเป็นเลิศ. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา ภาควิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพมหานคร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-12-2021