การพัฒนาการบริหารคลังยาและเวชภัณฑ์ กรณีศึกษา โรงพยาบาลโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

Main Article Content

ร้อยโท วิชญ์ชพล พลตื้อธนะกูล

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ : โรงพยาบาลโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าปฏิบัติงานสอดคล้องกับนโยบายการรักษาสมดุลทางการเงินในโรงพยาบาลของกรมแพทย์ทหารบกด้านการบริหารจัดการในระยะยาวของการจัดหายาและสิ่งอุปกรณ์ทางการแพทย์ตามลำดับความสำคัญ ปัญหาที่พบคลังยามียาและเวชภัณฑ์บางรายการที่ใช้น้อยแต่มีมูลค่าสูงและยาบางส่วนหมดอายุก่อนใช้งาน การบริหารคลังยาและเวชภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพจะช่วยลดปัญหาที่เกิดขึ้นและนำไปสู่การรักษาผู้ป่วยที่ดีขึ้นตามไปด้วย งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อบริหารคลังยาและเวชภัณฑ์ให้มีประสิทธิภาพโดยใช้เครื่องมือการบริหารสินค้าคงคลัง คือ การจัดกลุ่มยาและเวชภัณฑ์ที่มีความสำคัญด้วยหลักการ ABC-VED Analysis แล้วนำกลุ่มยาและเวชภัณฑ์ที่มีความสำคัญและต้นทุนสูงหาปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด จากนั้นการหาจุดสั่งซื้อใหม่และสินค้าคงคลังสำรองเพื่อการจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ที่เหมาะสม ผลการศึกษาสรุปว่า การประยุกต์ใช้หลักการ ABC-VED Analysis สำหรับจัดกลุ่มยาและเวชภัณฑ์มีจำนวนทั้งหมด 1,121 รายการ มูลค่ารวมรายปี เท่ากับ 188,544,735 บาท กลุ่มที่ 1  ได้แก่ AV, AE, AD, BV และ CV มีคุณสมบัติเป็นยาที่มีความจำเป็นและมีต้นทุนสูงแต่มีจำนวนรายการสัดส่วนน้อย มีจำนวนเท่ากับ 202 รายการ คิดเป็นร้อยละ 18.02 ของปริมาณยาและเวชภัณฑ์ทั้งหมด มีมูลค่ารวมเท่ากับ 162,854,826 บาท  คิดเป็นร้อยละ 86.37 ของมูลค่ายาและเวชภัณฑ์รวมรายปี ปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัดเท่ากับ 8,084,487 หน่วย และจำนวนการสั่งซื้อเท่ากับ 201 ครั้งต่อปี  ทำให้ปริมาณการใช้ยาและเวชภัณฑ์ลดลง 4,405,413 หน่วย หรือร้อยละ 35.27 และจำนวนรอบการสั่งซื้อลดลง 124 ครั้งต่อปี หรือร้อยละ 38.15 ส่งผลให้สินค้าคงคลังและรอบการสั่งซื้อลดลง การจัดซื้อที่จุด (Q/2) หรือเท่ากับครึ่งหนึ่งของจำนวนปริมาณการใช้ยาและเวชภัณฑ์ที่ต้องการต่อหน่วยเวลาเป็นจุดที่มีความเหมาะสมและลดปัญหาการขาดสินค้าคงคลัง

Article Details

How to Cite
[1]
พลตื้อธนะกูล ว., “การพัฒนาการบริหารคลังยาและเวชภัณฑ์ กรณีศึกษา โรงพยาบาลโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า”, Crma. J., ปี 22, ฉบับที่ 1, น. 97–110, ธ.ค. 2024.
บท
บทความวิจัย

References

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน, “แผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ด้านสาธารณสุข (พ.ศ. 2560-2579),” กรุงเทพฯ: สำ นักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, กระทรวงสาธารณสุข, (2561).

กรมแพทย์ทหารบก, “4 ยุทธศาสตร์แนวนโยบายและเป้าหมายเร่งด่วน,” (ออนไลน์), สืบค้นจาก: https://amed.rta.mi.th/main/page/284/th.html (23 เม.ย. 2567).

โรงพยาบาลโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า, “ภารกิจและวิสัยทัศน์,” (ออนไลน์). สืบค้นจาก: https://amed.rta.mi.th/main/page/284/th.html (23 เม.ย. 2567).

N. Kalaphut, “Healthcare Logistics,” Journal of Hematology and Transfusion Medicine, vol. 20(3), pp. 165-168, (2010).

J. Stock & D. Lambert, “Strategic Logistics Management,” 4th ed. New York: McGraw-Hill/Irwin; (2001).

T. Sirisrisornchai, “The Characteristics of Hospital Logistics in Thailand,” Journal of the Thai Medical Informatics Association. vol. 8(2), pp. 86-92, (2022).

D. Kritchanchai et al., “Logistics within the Hospital,” Center of Excellence in Health Supply Chain Management (Log Health), Mahidol University, (2019).

P. Vrat, “Selective inventory management, ”Materials management: an integrated systems approach, India, Springer, (2014)

K. Holloway & T. Green, “Drug and Therapeutics Committees: A Practicalguide,” Department of Essential Drugs and Medicines Policy, Switzerland, World Health Organization, (2003).

B. Techajamroensuk et al., “Application of ABC-VED analysis in drug and medical inventory management,” Center for Continuing Education, Pharmacy Council, (2018).

R. Suwandechochai & N. Muangpat, “Analysis and development of medicine inventory model: a hospital case study,” Thailand Research Fund, (2011).

Packhai., “What is Inventory Cost ?,” 2023, (Accessed on Apr. 23, 2024, at https://packhai.com/storage-cost/)

J. Chujai, “The Improvement for Inventory Management System for Case Study Resistor,” Independent Study of Department of Industrial Engineering, Thammasat University, (2016).

R. Peterson & E.A. Silver, “Decision System for Inventory Management and Production Planning,” New York, John Wiley & Sons, (1979).

กานติมา ศรีวัฒนะ. “การพัฒนาประสิทธิภาพในการบริหารคลังยา โรงพยาบาลสระบุรี,” การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิชา เอกการจัดการโลจิสติกส์. คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลธัญบุรี, (2562).

ลภัสรดา ลิ่มศิลา. “การลดต้นทุนสินค้าโดยใช้หลักการ ABC-VED Analysis: กรณีศึกษา โรงงานเครื่องผลิตสำ อาง,” วิทยานิพนธ์ สาขาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทางวิศวกรรม, วิทยาลัยด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยธุรกิจ บัณฑิตย์, (2562).

วิชัย ก้องเกียรตินคร. “การศึกษาการจัดกลุ่มรายการยาในเภสัชตำ รับโรงพยาบาลศรีนครินทร์ โดยใช้ ABC-VED Matrix,” วารสารประสาทวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ปีที่ 15 ฉบับที่ 4, หน้า 46-55, ตุลาคม-ธันวาคม, (2563).

R. Saxena et al., “ABC-VED analysis of the Pharmacy of an urban health centre,” International Journal of Muttidisciplinary Research and Development, vol. 4(8), pp. 233-236, (2017).

M. Hussain et al., “ABC-VED and Lead Time Analyss in the Surgical Store of a Public Sector Tertiary Care Hospital in Delhi, ”Indian Journal of Public Health, vol. 63(3), pp. 194-198, (2019).

N. D. Gunawan & P.Y. Setiawan, “Inventory Management with EOQ Method at Nitra Jaya Fashion-Making Company In Badung,” European Journal of Business and Management Research, vol. 7(3), pp. 347-351, (2012).