การศึกษาธรณีสัณฐานและแร่วิทยาบริเวณเขาชะโงก โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เพื่อเป็นเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะธรณีสัณฐาน ศึกษาแร่ดิกไคต์และแร่ที่สำคัญ และเพื่อจัดทำแผนที่เส้นทางท่องเที่ยวเชิงธรณีบริเวณพื้นที่เขาชะโงก วิธีการศึกษาโดยใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศมาช่วยในการสร้างแบบจำลองภูมิประเทศ การวิเคราะห์ข้อมูล และสร้างแผนที่ทำให้ทราบว่าพื้นที่เขาชะโงกมีระดับความลาดชันอยู่ในช่วง 2-218 เปอร์เซ็นต์ โดยพื้นที่ศึกษาส่วนใหญ่มีลักษณะภูมิสัณฐานเป็นเนินเขา รองลงมาได้แก่ ลูกคลื่นลอนชัน ลูกคลื่นลอนลาด ภูเขาสูงชัน ภูเขาสูงชันมาก ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย พื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ และภูเขาสูงชันมากที่สุด ตามลำดับ การศึกษาธรณีวิทยาในภาคสนาม และเก็บตัวอย่างหิน จำนวน 24 จุด (57 ตัวอย่าง) ตามเส้นทางเส้นทางเดินป่าสำรวจธรรมชาติ เพื่อตรวจสอบชนิดแร่ เนื้อหินและการเปลี่ยนแปลงของแร่ในตัวอย่างหินด้วยกล้องจุลทรรศน์โพลาไรซ์ร่วมกับการตรวจสอบด้วยเครื่องมือขั้นสูงที่ใช้เทคนิคการเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์ (X-Ray Diffractometer) ผลการศึกษาสรุปได้ว่า พื้นที่เขาชะโงกเป็นหินภูเขาไฟสีอ่อนจำพวกหินตะกอนภูเขาไฟและหินไรโอไลต์แทรกสลับกันไปมา ลักษณะเนื้อหินที่มีขนาดละเอียดและหยาบปะปนกันและองค์ประกอบของตะกอนภูเขาไฟบ่งชี้ว่าเขาชะโงกเกิดจากการระเบิดที่รุนแรงของภูเขาไฟในยุคไทรแอสซิคหลายครั้ง กลุ่มหินที่พบในเส้นทางสำรวจประกอบด้วย 1. กลุ่มหินตะกอนภูเขาไฟที่ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง ประกอบด้วย หินตะกอนภูเขาไฟ (Pyroclastic rock) หินเถ้าภูเขาไฟ (Ash tuff) หินตะกอนภูเขาไฟที่มีเศษหินเป็นองค์ประกอบหลัก (Lithic tuff) หินตะกอนภูเขาไฟที่แสดงเนื้อหินของการไหล (Welded tuff) และ หินตะกอนภูเขาไฟเนื้อผลึก (Crystal tuff) 2. กลุ่มหินตะกอนภูเขาไฟที่ถูกแทนที่หรือถูกเปลี่ยนสภาพภายหลัง ได้แก่ 2.1 แร่ดิกไคต์ซึ่งเกิดตามรอยแตกของหินเดิมมีความหนาประมาณ 1-2 เมตร โดยแกนกลางเป็นสินแร่ดิกไคต์เกรดดีที่สุดและเกรดต่ำลงในขอบนอกของสายแร่ 2.2 หินตะกอนภูเขาไฟที่ถูกแทนที่ด้วยน้ำแร่ซิลิกา (Silicified pyroclastic rock) จนกลายเป็นหินเนื้อเนียน และแข็งแกร่งมาก มีรอยแตกคมเนื่องจากสารละลายซิลิกาเข้าไปตกผลึกแทนที่แร่เดิมกลายเป็นแร่ควอตซ์ขนาดเล็กซึ่งบางแห่งเป็นแจสเปอร์สีแดง และ 2.3 หินตะกอนภูเขาไฟที่ถูกเปลี่ยนด้วยน้ำร้อน (Altered pyroclastic rock) จนกลายเป็นแร่ควอร์ตซและเซริไซต์ผสมกัน และ 3. กลุ่มหินอัคนีพุ ได้แก่ หินไรโอไลต์ จากผลการศึกษาผู้วิจัยได้กำหนดจุดที่เหมาะสมในการพัฒนาเป็นแหล่งความรู้สำหรับเส้นทางท่องเที่ยวเชิงธรณีได้จำนวน 7 จุดศึกษา ได้แก่ 1. บริเวณเหมืองแร่เก่าที่เป็นถ้ำพระพุทธรูป 2. บริเวณเหมืองแร่เก่าช่องเขาขาด 3. บริเวณป้าย CRMA 4. น้ำตกวัดเขาชะโงก 5. บริเวณทางขึ้นเขาก่อนถึงศาลฤาษีตาไฟ 6. บริเวณตรงข้ามบันไดพญานาค และ 7. บริเวณถังเก็บน้ำประปา (62.5 MSL) ได้เส้นทางการท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยา 1 เส้นทาง มีระยะทาง 10.13 กิโลเมตร
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ
References
กรมทรัพยากรธรณี, การจำแนกเขตเพื่อการจัดการด้านธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณีจังหวัดนครนายก. กรุงเทพฯ: สำ นักธรณีวิทยา, กรมทรัพยากรธรณี, (2557).
ธงชัย พึ่งรัศมี, “ธรณีวิทยาแหล่งแร่ดิกไคต์และเคโอลิไนต์ในหินภูเขาไฟไรโอลิติกทัฟฟ์จังหวัดสระบุรีและจังหวัดนครนายก”, ใน รายงานวิชาการ เล่มที่ 1/2555 ชุดแร่วิทยา (Mineralogy series), สงขลา: ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, (2555).
อุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่. “จำแนกแร่ดิกไคต์และแร่ไพโรฟิลไลต์ตามหลักวิชาการป้องกันความสับสนในการทำเหมือง.” กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่. https://www.dpim.go.th/. (สืบค้นเมื่อ 30 ธ.ค. 2558).
จุมพล คืนตัก, “ทรัพยากรมีค่า: แหล่งทรัพยากรแร่และหินอุตสาหกรรม.” ใน ทรัพย์ในดินสระบุรี, กรุงเทพฯ: กรมทรัพยากรธรณี, หน้า 23-29, (2531).
C.O. Choo, and Soo J.K., “Dickite and other kaolin polymorphs from an Al-rich clay deposit formed in volcanic tuff, southeastern Korea.” Clays and Clay Minerals, vol. 52, no.6, pp. 749-59, (2004).
S. Saminpanya, D. Dhamakrongart, and N. Susawee, “Dickite: a gem material for carving from Thailand. ”The Journal of Gemmology, vol. 31, no. 5-8, pp. 211-225, (2009).
R. Dowling and D. Newsome, Handbook of Geotourism. Cheltenham: Edward Elgar Publishing Limited, (2018).
R. Ólafsdóttir, “Geotourism.” Geosciences, vol. 9, no. 1, pp. 48-58, (2019).
อภิสิทธิ์ เอี่ยมหน่อ, ธรณีสัณฐานวิทยา, กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช, (2530).
M. Panizza, Environmental Geomorphology, Amsterdam: Elsevier, (1996).
O.M. McLaughlin, R.S. Haszeldine, A.E. Fallick, and G. Rogers, “The case of the missing clay, alluminium loss and secondary porosity, South Brae oil-field, North Sea.” Clay Minerals, vol. 29, pp. 651-663, (1994),
R.J. Schroeder. and J.B. Hayes, “Dickite and kaolinite in Pennsylvanian limestone of south-eastern Kansas. ”Clays and Clay Minerals, vol. 16, pp. 41-49, (1968).
สุกิจ อติพันธ์, “การตรวจแร่ดิกไคต์ จ.สระบุรีและนครนายกด้วยเทคนิคการเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์ (XRD).” ใน รายงานวิชาการ เล่มที่ 1/2555 ชุดแร่วิทยา (Mineralogy series), สงขลา: ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, (2555).
สุนทรี ปัทมสูต, ธงชัย พึ่งรัศมี, เจษ จิรเจษฎา และจุมพล คืนตัก. “หินสบู่ที่เขาชะโงกจังหวัดนครนายก.” ข่าวสารการธรณี, ปีที่ 34, ฉบับที่ 7, หน้า 21-29, (2532).
สุเพชร จิรขจรกุล, ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และการใช้โปรแกรม ARCGIS DESKTOP เวอร์ชั่น 9.1, กรุงเทพฯ: เอส อาร์ พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์, (2549).
สุระ พัฒนเกียรติ, ระบบภูมิสารสนเทศในทางนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อม, กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ยูไนเต็ดโปรดักชั่น, (2546).
S.W. Bailey, “Polymorphism of the kaolin minerals”, American Mineralogist, vol. 48, 1196-209, (1963).
กรมพัฒนาที่ดิน, คู่มือการเขียนหน่วยแผนที่ดิน, กรุงเทพฯ: สำนักสำรวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน, กรมพัฒนาที่ดิน, (2547).