การจัดระบบคลังชิ้นส่วนซ่อมบำรุงของ กองสรรพาวุธเบา กองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์แบบ ABC – FSN

Main Article Content

กิตติศักดิ์ พิมพ์ขัน

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ: การซ่อมบำรุงยุทโธปกรณ์เป็นการรักษายุทโธปกรณ์ ให้อยู่ในสภาพที่ใช้การได้หรือเพื่อทำให้ยุทโธปกรณ์ที่ชำรุดกลับมาอยู่ในสภาพที่ใช้การได้ ซึ่งการซ่อมบำรุงมีความเกี่ยวข้องกับกิจกรรมด้านการจัดซื้อจัดเก็บชิ้นส่วนซ่อมบำรุง และส่งผลโดยตรงต่อต้นทุนการจัดซื้อและต้นทุนการเก็บรักษา การมีชิ้นส่วนซ่อมบำรุงมากเกินไปทำให้เกิดปัญหาต้นทุนจมโดยเฉพาะชิ้นส่วนซ่อมบำรุงที่มีมูลค่าสูง ส่งผลให้สูญเสียโอกาสในการนำงบประมาณไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่น การมีชิ้นส่วนซ่อมบำรุงที่น้อยเกินไปทำให้เกิดปัญหาชิ้นส่วนซ่อมบำรุงขาดแคลน การซ่อมเป็นไปอย่างล่าช้า สูญเสียโอกาสในการนำยุทโธปกรณ์ไปใช้งาน การวางแผนการจัดการชิ้นส่วนซ่อมบำรุงให้มีปริมาณที่เหมาะสมต่อความต้องการจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะทำให้สามารถใช้ทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่า งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาคลังชิ้นส่วนซ่อมบำรุงของกองสรรพาวุธเบา กองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน เพื่อจัดลำดับความสำคัญของชิ้นส่วนซ่อมบำรุงโดยการประยุกต์ใช้เทคนิค ABC – FSN และหาระดับการจัดเก็บชิ้นส่วนซ่อมบำรุงที่เหมาะสม โดยใช้ข้อมูลการเบิกใช้ชิ้นส่วนซ่อมบำรุงในปี พ.ศ. 2562 – 2563 พบว่าคลังชิ้นส่วนซ่อมบำรุงมีชิ้นส่วนซ่อมบำรุงของยุทโธปกรณ์หลายชนิด จึงได้เลือกศึกษาชิ้นส่วนซ่อมบำรุงของ รถยนต์บรรทุก2½ ตัน M35A2 และ รถยนต์บรรทุก 1¼ ตัน U1100 L/29 เนื่องจากเป็นยุทโธปกรณ์ที่มีต้นทุนชิ้นส่วนซ่อมบำรุงคงคลังสูงที่สุด จากการศึกษาชิ้นส่วนซ่อมบำรุงของยุทโธปกรณ์ทั้ง 2 ชนิด พบว่ามีชิ้นส่วนซ่อมบำรุงที่ไม่มีการเบิกใช้ 745 รายการ มูลค่า 13,391,070 บาท คิดเป็น 38.20% ซึ่งควรพิจารณาการปรับลดจำนวนลง ในชิ้นส่วนซ่อมบำรุงที่มีการเบิกใช้จำนวน 68 รายการ ได้คำนวณหาการสั่งซื้อที่ประหยัดที่สุดโดยใช้วิธี Silver – Meal สามารถลดจำนวนครั้งในการสั่งชิ้นส่วนซ่อมบำรุงจาก 70 ครั้ง เป็น 40 ครั้ง สามารถลดค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อและจัดเก็บชิ้นส่วนซ่อมบำรุงได้ 4.31% ในการคำนวณจุดสั่งซื้อใหม่ (Reorder Point) และระดับอะไหล่สำรองเพื่อความปลอดภัย (Safety Stock) ที่ระดับบริการ 95% สามารถลดชิ้นส่วนซ่อมบำรุงคงคลังได้ 1,594 ชิ้น เป็นจำนวนเงิน 5,740,623 บาท คิดเป็น 17.92%

Article Details

How to Cite
[1]
พิมพ์ขัน ก., “การจัดระบบคลังชิ้นส่วนซ่อมบำรุงของ กองสรรพาวุธเบา กองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์แบบ ABC – FSN”, Crma. J., ปี 20, ฉบับที่ 1, น. 62–74, ธ.ค. 2022.
บท
บทความวิจัย

References

มานะวุฒิ ศรีนคร, 2560. การนําาวิธีการซ่อมบําารุง แบบ OPEN-END รถยนต์บรรทุกขนาด 2 1/2 ตัน อีซูซุ FTS มาใช้ในกองทัพบก. เอกสารวิจัยส่วนบุคคล, วิทยาลัยการทัพบก.

กระทรวงกลาโหม, 2564. นโยบายเร่งด่วนของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมประจําาปีงบประมาณ พ.ศ. 2564.

กฤษณะ สั่งการ, 2558. การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการสินค้าคงคลังประเภทวัสดุหีบห่อ กรณีศึกษา บริษัท เคเคเคโกลบอลจําากัด. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปรดิษฐ์ พุฒิกุลบวร, 2560. การปรับปรุงระบบการจัดการคลังสินค้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการสินค้าคงคลังกรณีศึกษาโรงงานผลิตขนมหวาน. วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต. สาขาวิศวกรรมการจัดการและโลจิสติกส์. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ธนากร อ้นเมฆ, 2562. การปรับปรุงการจัดการสินค้าคงคลัง กรณีศึกษา: โรงงานผลิตเครื่องสําาอาง. วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการจัดการทางวิศวกรรม. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ชมพูนุช เกษมเศรษฐ์. 2554. การวิจัยและการดําาเนินงานสําาหรับวิศวกรรม. เชียงใหม่: สําานักพิมพ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ปุณิกา ชัยศักดิ์ และ ปิยะเนตร นาคสีดี. (2563). การศึกษาการปรับปรุงกระบวนการทําางานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดําาเนินงานกรณีศึกษา บริษัท ABC จําากัด. การประชุมนําาเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ประจําาปี พ.ศ. 2563 (หน้า 1272-1286):มหาวิทยาลัยรังสิต.

วรพจน์ เสรีรัฐ, เอกสารประกอบการสอนวิชาการจัดการวัสดุคงคลัง การวางแผนการผลิต การจัดลําาดับงาน. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.

นันทวรรณ สมศรี, 2563. การลดต้นทุนสินค้าคงคลังด้วยวิธี ABC-FSN Analysis. สาขาวิชาวิศวกรรมการจัดการและโลจิสติกส์ วิทยาลัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ธันว์ระวี สุวรรณหงส์, 2560. การจัดการสินค้าคงคลัง เพื่อลดจําานวนการขนส่งในกรณีเร่งด่วนกรณีศึกษา บริษัทผลิตเลนส์แว่นตา. วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการพัฒนางานอุตสาหกรรม. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

จารุวรรณ ชูใจ, 2559. การปรับปรุงการจัดการวัตถุดิบคงคลัง กรณีศึกษาโรงงานผลิตตัวความต้านทานกระแสไฟฟ้า. วิทยานิพนธ์, สาขาวิชาการพัฒนางานอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พิมพิศา อัตถกิจมงคล, 2562. การจัดการและควบคุมวัตถุดิบคงคลังอย่างมีประสิทธิภาพในพื้นที่จําากัด. วิทยานิพนธ์. สาขาวิศวกรรมอุตสาหการและการจัดการ. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ภราภรณ์ ทศพร, 2559. การปรับปรุงการบริหารวัตถุดิบคงคลัง กรณีศึกษาโรงงานผลิตชิ้นส่วนตลับลูกปืน. วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการพัฒนางานอุตสาหกรรม. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

กิ่งกาญจน์ ผลิกะ, 2559. การบริหารสินค้าคงคลังโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎี ABC Classification Analysis เทคนิค EOQ Model และวิธี Silver-Meal: กรณีศึกษา บริษัท XYZ. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 ประจําาเดือน มกราคม-มิถุนายน 2559. หน้า 102-114.

วาสนา ซุ่นหิรัญ. 2563. การปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดการสินค้าคงคลัง กรณีศึกษา: โรงงานผลิตเครื่องสําาอาง. วิศวกรรมศาสตร-บัณฑิต. สาขาวิศวกรรมการจัดการและโลจิสติกส์. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

Ahmelia, M., Herlin, H., & Rahman, A. (2022). Analysis of Stock Control of Raw Materials of Dzohir Noodles In Bengkulu. Jurnal Ekonomi, Manajemen, Akuntansi dan Keuangan, 3(1), 32-39.