คุณสมบัติมอร์ตาร์ที่มีการแทนที่บางส่วนด้วยผงกระจกแผงพลังงานแสงอาทิตย์

Main Article Content

ครองขวัญ ช่วงบุญ
พิชญ รัชฎาวงศ์

บทคัดย่อ

ปริมาณของเสียแผงพลังงานแสงอาทิตย์ที่กำลังจะเกิดขึ้นภายในระยะ 20-30 ปีจากการติดตั้งช่วงพ.ศ. 2545-2558 อาจจะเป็นน้ำหนักได้ถึง 235,954 ตัน โดยส่วนใหญ่ประเทศไทยนิยมใช้แผงพลังงานแสงอาทิตย์ชนิดผลึกซิลิกอน ซึ่งแผงประเภทนี้มีปริมาณกระจกมากถึงร้อยละ 70-80 โดยน้ำหนักขององค์ประกอบแผง การจัดการของเสียแผงพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทยในขณะนี้มีการกำจัดด้วยการนำไปทิ้งที่หลุมฝังกลบอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นการจัดการที่ไม่ยั่งยืนเพราะเป็นการสูญเสียทรัพยากรอย่างไร้ประโยชน์ ในงานวิจัยนี้มุ่งเน้นในการนำกระจกแผงพลังงานแสงอาทิตย์ชนิดผลึกซิลิกอนนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ โดยทำการศึกษาผลกระทบต่อคุณสมบัติของมอร์ตาร์ที่มีการแทนที่บางส่วนของปูนซีเมนต์ด้วยกระจกแผงพลังงานแสงอาทิตย์บดละเอียดขนาด d50 ที่ 4.97 ไมโครเมตร  ที่ร้อยละ 0, 10, 20 และ 30 โดยน้ำหนัก จากผลการศึกษาพบว่าเมื่อเพิ่มปริมาณผงกระจกจะทำให้ค่าการขยายตัวของซีเมนต์เพสต์มีค่าเพิ่มขึ้น ค่าการก่อตัวระยะต้นและระยะปลายของซีเมนต์เพสต์สั้นลง ค่าการไหลแผ่ของมอร์ตาร์มีค่าลดลง สำหรับกำลังรับแรงอัดมอร์ตาร์ช่วงอายุต้น พบว่ามอร์ตาร์ที่มีปูนซีเมนต์ที่มีการแทนที่ด้วยผงกระจกร้อยละ 0 ให้กำลังรับแรงอัดสูงที่สุด แต่ที่อายุ 90 วัน มอร์ตาร์ที่มีการแทนที่ปูนซีเมนต์ด้วยผงกระจกร้อยละ 10 ให้กำลังรับแรงอัดที่สูงที่สุด เนื่องจากการเกิดปฏิกิริยาปอซโซลานิกใช้เวลานานกว่าจะเกิดปฏิกิริยา

Article Details

How to Cite
[1]
ช่วงบุญ ค. และ รัชฎาวงศ์ พ., “คุณสมบัติมอร์ตาร์ที่มีการแทนที่บางส่วนด้วยผงกระจกแผงพลังงานแสงอาทิตย์”, Crma. J., ปี 20, ฉบับที่ 1, น. 50–61, ธ.ค. 2022.
บท
บทความวิจัย

References

สํานักงานนโยบายและแผนพลังงาน. (3 ธันวาคม 2564). พพ. จับมือ แจงเป้าหมาย AEDP2018. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.eppo.go.th/index.php/en/component/k2/item/14928-news-03072562.

พิชญ รัชฎาวงศ์, สมชัย รัตนธรรมพันธ์, เดวิด บรรเจิดพงศ์ชัย, ฐิติศักดิ์ บุญปราโมทย์, สันต์ สัมปัตตะวนิช. “การจัดการแผงพลังงานแสงอาทิตย์ที่หมดความคุ้มค่าในการผลิตไฟฟ้า,” สําานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, กรุงเทพมหานคร, 2559.

ณิชชา บูรณสิงห์. “แผงโซลาร์เซลล์: ขยะพิษที่ไม่ควรมองข้าม,”สําานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, สําานักวิชาการ, กรุงเทพมหานคร, 2561.

ปัญญ์ จันทร์ลออ. (11 กรกฎาคม 2565). มาตรการทางกฎหมายในการจัดการซากแผงเซลล์แสงอาทิตย์”. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gradlawtujournal/article/view/147832/108834.

พินัส เลิศเลื่อมใส, บุนพล แจ้งสว่าง. (12 มกราคม 2565). กระจกและการเลือกใช้ที่เหมาะสม. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.eptg-acsc.co.th/mix-acs/images/Column/column5.pdf.

M. H. Shubbak, “Advances in solar photovoltaics: Technology review and patent trends,” Renewable and Sustainable Energy Reviews, vol. 115, 2019, doi: 10.1016/j.rser.2019.109383.

วีรชาติ ตั้งจิรภัทร, ชัย จาตุรพิทักษ์กุล, คู่มือการทดสอบคุณสมบัติของปูนซีเมนต์ มวลรวม และคอนกรีต, กรุงเทพฯ: วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์, 2556.

มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม, “ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ปอซโซลาน,” กระทรวงอุตสาหกรรม, สําานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม, กรุงเทพมหานคร, 2556.

วินิต ช่อวิเชียร, คอนกรีตเทคโนโลยี, กรุงเทพฯ: บริษัท นิวไทยมิตรการพิมพ์ (1996) จําากัด, 2557.

ศุภนนท์ บรรจงเกลี้ยง, 2549. ศักยภาพของผงแก้วในการเป็นปอซโซลาน. ปริญญานิพนธ์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

American society for Testing and Materials. “ASTM C1866 : Standard specification for Ground-Glass Pozzolan for use in concrete,” Book of ASTM Standards, vol 04.02, pp. 5, 2020, doi: 10.1520/C1866_C1866M-20.

A. Paiano, “Photovoltaic waste assessment in Italy,” Renewable and Sustainable Energy Reviews, vol 41, pp. 99-112, 2015, doi: 10.1016/j.rser.2014.07.208.

K. Zheng, “Pozzolanic reaction of glass powder and its role on controlling alkali-silica reaction,” Cement and Concrete Composition, vol 67, pp. 30-38, 2016, doi: 10.1016/j.cemconcomp.2015.12.008.

S. Islam, M. H. Rahman, N. Kazi, “Waste glass powders partial replacement of cement for sustainable concrete practice,” International Journal of Sustainable Built Environment, vol 6, pp. 37-44, 2017, doi: 10.1016/j.ijsbe.2016.10.005.

Q. Li, H. Qiao, A. Li, G. Li, “Performance of waste glass powder as a pozzolanic material in blended cement mortar,” Construction and Building Materials, vol 324, 2022, doi: 10.1016/j.conbuildmat.2022.126531.

American society for Testing and Materials. “ASTM C204: Standard Test Method for Fineness of Hydraulic Cement by Air-Permeability Apparatus,” Book of ASTM Standards, vol 04.01, p. 11, 2019, doi: 10.1520/C0204-18E01.

American society for Testing and Materials. “ASTM D854-14: Standard Test Methods for Specific Gravity of Soil Solids by Water Pycnometer,” Book of ASTM Standards, vol 04.08, p. 8, 2016, doi: 10.1520/D0854-14.

American society for Testing and Materials. “ASTM C151: Standard Test Method for Autoclave Expansion of Hydraulic Cement,” Book of ASTM Standards, vol 04.01, p. 4, 2018, doi: 10.1520/C0151_C0151M-18.

American society for Testing and Materials. “ASTM C187 : Standard Test Method for Amount of Water Required for Normal Consistency of Hydraulic Cement Paste,” Book of ASTM Standards, vol 04.01, p. 3, 2016, doi: 10.1520/C0187-16.

American society for Testing and Materials. “ASTM C191 : Standard Test Methods for Time of Setting of Hydraulic Cement by Vicat Needle,” Book of ASTM Standards, vol 04.01, p. 8, 2021, doi: 10.1520/C0191-21.

American society for Testing and Materials. “ASTM C1437 : Standard Test Method for Flow of Hydraulic Cement Mortar,” Book of ASTM Standards, vol 04.01, p. 2, 2020, doi: 10.1520/C1437-20.

American society for Testing and Materials. “ASTM C109 : Standard Test Method for Compressive Strength of Hydraulic Cement Mortars (Using 2-in. or [50 mm] Cube Specimens),” Book of ASTM Standards, vol 04.01, p. 12, 2021, doi: 10.1520/C0109_C0109M-21.