การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมาใช้กับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เรื่อง พื้นฐานทางสถิติและการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างง่าย และการแจกแจงความน่าจะเป็นแบบไม่ต่อเนื่อง ในวิชาหลักสถิติ

Main Article Content

พันโทหญิง ณหทัย สระกบแก้ว

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างสื่อการเรียนการสอนแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นสื่อการเรียนการสอนร่วมกับสื่อการเรียนการสอนที่มีอยู่มาใช้กับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง พื้นฐานทางสถิติและการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น และการแจกแจงความน่าจะเป็นตัวแปรสุ่มแบบไม่ต่อเนื่อง ระหว่าง นนร. ที่ใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นสื่อการเรียนการสอนร่วมกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกและ นนร. ที่ไม่ใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นสื่อการเรียนการสอน 3) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนความพึงพอใจ เรื่อง สื่อการเรียนการสอน ระหว่าง นนร. ที่ใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นสื่อการเรียนการสอนร่วมกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกและ นนร. ที่ไม่ใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นสื่อการเรียนการสอน กลุ่มทดลองคือ นนร. ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปีการศึกษา 2562 จำนวน 24 นาย และกลุ่มควบคุม คือ นนร. ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปีการศึกษา 2563 จำนวน 32 นาย เครื่องมือในการศึกษาได้แก่ 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง พื้นฐานทางสถิติและการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น และการแจกแจงความน่าจะเป็นตัวแปรสุ่มแบบไม่ต่อเนื่อง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ คือข้อสอบระหว่างภาค และ 3) แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เรียนทาง E-learning  สถิติที่ใช้ในการศึกษา คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบผลต่างค่าเฉลี่ยของประชากรสองกลุ่มที่เป็นอิสระกัน ผลการศึกษาพบว่า ค่าสถิติของการทดสอบผลต่างคะแนนสอบ คือ  t = 0.007  และ P = 0.995 หมายความว่า  นนร. ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ปีการศึกษา 2562 และ นนร. ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ไม่ใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ปีการศึกษา 2563  คะแนนเฉลี่ยของทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน  นอกจากนี้ค่าสถิติของการทดสอบผลต่างคะแนนความพึงพอใจ คือ t = 2.063 และ P = 0.0285 หมายความว่า นนร. ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ปีการศึกษา 2562 ให้คะแนนความพึงพอใจ เรื่อง สื่อการเรียนการสอน มากกว่า นนร. ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ไม่ใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ปีการศึกษา 2563  ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05


 

Article Details

How to Cite
[1]
สระกบแก้ว ณ., “การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมาใช้กับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เรื่อง พื้นฐานทางสถิติและการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างง่าย และการแจกแจงความน่าจะเป็นแบบไม่ต่อเนื่อง ในวิชาหลักสถิติ”, Crma. J., ปี 19, ฉบับที่ 1, น. 34–46, ก.ย. 2021.
บท
บทความวิจัย

References

ขนิษฐา ชานนท์, “เทคโนโลยีทางการศึกษา กรุงเทพฯ: ภาควิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทวิโรฒประสานมิตร,” 2552.

ชัชวาลย์ เรืองประพันธ์, “สถิติพื้นฐาน พร้อมตัวอย่างการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม Minitab SPSS และ SAS,” ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2543.

ไชยยศ เรืองสุวรรณ, “การออกแบบพัฒนาโปรแกรมบทเรียนและบทเรียนเว็บมหาสารคาม,” มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2553.

ไชยยุทธ์ อินบัว, “วิธีการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learn-ing ในรายวิชาการเมืองกับนโยบายสาธารณะ,” ปัตตานี: วิทยาลัยสงฆ์ปัตตานี : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, 2560.

มานะ โสภา, ไชยันต์ แก้วผาไล, ภาวิณี โยธาแข็ง, ไพศาล ดาแร่,“การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนตามแนวคิดของกาเย่ เรื่อง อุปกรณ์คอมพิวเตอร์เบื้องต้น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2,” สงขลา: วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, ปีที่ 9 ฉบับที่ 1,2560.

วีระชัย นาสารีย์, “การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาฟิสิกส์ เรื่องการเคลื่อนที่แบบหมุนตามแนวคิดของโรเบิร์ตกาเย่สําาหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคําาแหง” กรุงเทพฯ: วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, ปีที่ 11 ฉบับที่ 1, 2561.

เยาวเรศ ภักดีจิตร, เอกสารประกอบการเสวนาทางวิชาการ “วันส่งเสริมวิชาการสู่คุณภาพการเรียนการสอน”. นครสวรรค์: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 2557.