การศึกษาคุณภาพผ้าเครื่องแบบฝึกสีพรางปล่อยเอวแบบที่ 2 ทหารอากาศ

Main Article Content

นาวาอากาศโท ผู้ช่วยศาสตราจารย์ โชคชัย แจ่มอำพร
นาวาอากาศเอก รองศาสตราจารย์ กิตติ ศรีนุชศาสตร์
นาวาอากาศตรี นัยยุนาถ นนทะภาพ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ : การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบสมบัติเส้นใยเครื่องแบบฝึกสีพรางปล่อยเอวแบบที่ 2 ทหารอากาศ (ทอ.) กับผ้าชุดฝึกพราง ทบ. ทร. และผ้ายุทธวิธี 2) เพื่อนำเสนอแนวทางในการพัฒนาคุณภาพผ้าแบบฝึกสีพรางปล่อยเอวแบบที่ 2 ทอ. ให้มีคุณภาพดีขึ้น โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานเชิงทดลอง ซึ่งได้ผลสรุปคือ เครื่องแบบฝึกสีพรางปล่อยเอวแบบที่ 2 ทอ. มีส่วนประกอบของผ้าฝ้าย ร้อยละ 86.54 และมีโพลีเอสเตอร์ ร้อยละ 13.46 มีความคงทนของสีต่อการขัดถู (แบบแห้ง) ทั้งทางแนวด้ายพุ่งและด้ายยืนที่ระดับ 4 เกรย์สเกล ความคงทนของสีต่อการขัดถู (แบบเปียก) ทั้งทางแนวด้ายพุ่งและด้ายยืนที่ระดับ 2 เกรย์สเกล ความคงทนของสีต่อการซักด้วยสบู่ หรือสบู่และโซดาที่ระดับ 5 เกรย์สเกล ความคงทนของสีต่อเหงื่อ (กรด) ที่ระดับ 5 เกรย์สเกล ความคงทนของสีต่อเหงื่อ (ด่าง) ที่ระดับ 5 เกรย์สเกล แรงดึงขาดแนวด้ายพุ่ง 548.60 นิวตัน แรงดึงขาดแนวด้ายยืน 864.90 นิวตัน ความต้านแรงฉีกขาดแนวด้ายพุ่ง 36.50 นิวตัน และความต้านแรงฉีกขาดแนวด้ายยืน 26.24 นิวตัน ดังนั้น จากผลการทดสอบสามารถสรุปแนวทางในการพัฒนาคุณภาพผ้าเครื่องแบบฝึกสีพรางปล่อยเอวแบบที่ 2 ทอ. คือ ควรเน้นปรับปรุงพัฒนาในเรื่องความคงทนสีต่อการขัดถูแบบเปียก ซึ่งมีค่าความคงทนอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ผ้ามีสีซีดง่าย ในสภาวะที่เกิดการขัดถูขณะเปียกหรือบริเวณที่เกิดการเปียกและเสียดสี เพื่อจะทำให้ผ้าเครื่องแบบฝึกมีคุณภาพที่ดีมากขึ้นจากการพัฒนากระบวนการผลิตต่อไป


 


 

Article Details

How to Cite
[1]
แจ่มอำพร โ., ศรีนุชศาสตร์ ก. ., และ นนทะภาพ น. ., “การศึกษาคุณภาพผ้าเครื่องแบบฝึกสีพรางปล่อยเอวแบบที่ 2 ทหารอากาศ ”, Crma. J., ปี 19, ฉบับที่ 1, น. 111–123, ก.ย. 2021.
บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมการติดตามกิจกรรมหลักสูตรวิชาวิทยาการทหารและหลักสูตรวิชาการพัฒนาความมั่นคงแห่งชาติ, 2557. การเรียนการสอนวิชาวิทยาการทหาร (Military Science). กรุงเทพฯ : กองทัพไทย.

ศูนย์การทหารอากาศโยธินหน่วยบัญชาการอากาศโยธิน, 2562. คู่มือวิชาทั่วไป เล่ม ๒. กรุงเทพฯ : ศูนย์การทหารอากาศโยธินหน่วยบัญชาการอากาศโยธิน.

กองทัพอากาศ, 2553. ระเบียบกองทัพอากาศว่าด้วยการแต่งกาย พ.ศ.๒๕๕๓. กรุงเทพฯ: กองทัพอากาศ.สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. 2556. พระราชบัญญัติเครื่องแบบทหารพุทธศักราช ๒๔๗๗. กรุงเทพฯ: การกระทรวงกลาโหม.

ร้อยตรีหญิง ภิญญาพัชญ์ เยี่ยมพานิช, 2553. การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การแต่งกาย เครื่องแบบทหารบกของนายทหารชั้นสัญญาบัตร กองทัพบกไทย. วิทยานิพนธ์เทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม, 2560. แบบรูปรายละเอียดชุดเครื่องแบบฝึกทหารอากาศ (ทอ.) เครื่องแบบฝึกสีพรางปล่อยเอว. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม.

กรมพลาธิการ กองทัพอากาศ, 2562. คุณลักษณะของวัสดุที่ใช้ในการผลิต เครื่องแบบฝึกสีพรางปล่อยเอวแบบที่ 2 ทอ. กรุงเทพฯ : กรมพลาธิการ กองทัพอากาศ.

สิรัชชา สาลีทอง และ เกศทิพย์ กรี่เงิน, 2564. ความรู้พื้นฐานการผลิตผ้าทอและลวดลาย. Fashion Design, Faculty of Fine and Applied Arts, Suan Sunandha Rajabhat University.

กิตติ ศรีนุชศาสตร์ และคณะ, 2554. การเปรียบเทียบสมบัติผ้าชุดฝึกของนักเรียนนายร้อย 3 เหล่าทัพ.วารสารวิชาการนายเรืออากาศ, ปีที่ 7 ฉบับที่ 7 : 100-103.

เจนณรงค์ แผ่นทอง และอโณทัย สิงห์คำ, 2563. การออกแบบผลิตภัณฑ์แฟชั่นร่วมสมัยจากเส้นใยต้นสาร. วารสารศิลปกรรมและการออกแบบแห่งเอเชีย, ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 : 78-94.

สุดาพร ตังควนิช, 2561. ผ้าฝ้ายนาโนคาร์บอนและไทเทเนียมไดออกไซด์ย้อมด้วยสีจากเปลือกหอมแดง. วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 : 63-73.

มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม, 2552. วิธีทดสอบสิ่งทอ มอก.121 เล่ม 26 ส่วนผสมของเส้นใย. กรุงเทพฯ : สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม.

มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม, 2552. วิธีทดสอบสิ่งทอ มอก.121 เล่ม 5 ความคงทนของสีต่อการขัดถู. กรุงเทพฯ : สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม.

มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม, 2552. วิธีทดสอบสิ่งทอ มอก.121 เล่ม 14 การประเมินการเปลี่ยนสีและการเปื้อนสีโดยใช้เกรย์สเกลและเครื่องมือ. กรุงเทพฯ : สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม.

มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม, 2552. วิธีทดสอบสิ่งทอ มอก.121 เล่ม 3 ความคงทนของสีต่อการซักด้วยสบู่ หรือสบู่และโซดา. กรุงเทพฯ : สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม.

มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม, 2552. วิธีทดสอบสิ่งทอ มอก.121 เล่ม 4 ความคงทนของสีต่อเหงื่อ. กรุงเทพฯ : สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม.

มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม, 2553. วิธีทดสอบสิ่งทอ มอก.121 เล่ม 17 แรงดึงขาดของผ้าทอโดยใช้เครื่องทดสอบแรงดึงชนิดอัตรายืดคงที่. กรุงเทพฯ : สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม.

American Society of Testing Materials, 2013. Standard Test Method for Tearing Strength of Fabrics by the Tongue (Single Rip) Procedure (Constant-Rate-of-Extension Tensile Testing Machine), ASTM D 2261. ASTM. Philadelphia, PA.