การศึกษาการลดก๊าซเรือนกระจกจากการคัดแยกขยะครัวเรือนเพื่อการรีไซเคิลภายใต้โครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก กรณีศึกษา: โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อการลดก๊าซเรือนกระจกของโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าภายใต้โครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก (Low Emission Support Scheme: LESS) ด้านการจัดการของเสียด้วยการคัดแยกขยะเพื่อการรีไซเคิล ระยะเวลาของโครงการตั้งแต่ ธันวาคม พ.ศ. 2562 ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2563 มีขั้นตอนการดำเนินงานเริ่มต้นจากการประชาสัมพันธ์โครงการคัดแยกขยะเพื่อการรีไซเคิลให้กับกำลังพลโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าทำการคัดแยกขยะครัวเรือน 11 ประเภทได้แก่ 1. กระดาษ A4 2. ลังกระดาษ กล่องพัสดุไปรษณีย์ 3. เศษกระดาษ ห่อบรรจุภัณฑ์ 4. หนังสือพิมพ์ วารสาร 5. ขวดพลาสติกใส เช่น ขวดน้ำดื่ม ขวดน้ำมันพืช 6. ขวดพลาสติกขุ่นขาว เช่น ขวดนม ขวดโยเกิร์ต 7.ขวดพลาสติกขุ่นสี เช่น ขวดแชมพู ครีมทาตัว 8. ขวดแก้วใส 9.ขวดแก้วสี 10. กระป๋องอะลูมิเนียม และ 11. กระป๋องสังกะสี โดยทุกวันพุธที่ 1 ของทุกเดือน กำลังพลที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการนำขยะดังกล่าวที่คัดแยกแล้วนำมาให้ผู้วิจัยทำการชั่งน้ำหนัก คำนวณหาค่าคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าจากขยะที่คัดแยกมา ผลการวิจัยพบว่า โครงการสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้เท่ากับ 2,399.08 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า โดยมีปริมาณขยะที่คัดแยกมาแล้วนำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลเท่ากับ 1,074.95 กิโลกรัมต่อปี ทั้งนี้โครงการมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการขนส่งขยะไปวงษ์พาณิชย์เพื่อส่งต่อไปร้านรับรีไซเคิลขยะ 64.681 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี จึงเห็นได้ว่าโรงเรียนนายร้อย พระจุลจอมเกล้าสามารถดำเนินกิจกรรมที่ช่วยลดก๊าซเรือนกระจก สร้างความตระหนักให้แก่บุคลากร องค์กร และชุมชน ในการมีส่วนร่วมในการลดก๊าซเรือนกระจกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสนับสนุนโครงการ LESS ด้านการจัดการของเสียด้วยการคัดแยกขยะเพื่อการ รีไซเคิลได้เป็นอย่างดี
Article Details
ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ
References
กองบรรณาธิการสำนักข่าวสิ่งแวดล้อม, 2018. ลดขยะ ลดโลกร้อน. (สืบค้นจาก https://greennews.agency/?p=16380)
สำนักนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน, 2562.รายงานการปล่อยก๊าซ CO2 จากการใช้พลังงานจากการใช้พลังงาน 6 เดือนแรก ปี 2562. กรุงเทพฯ. กระทรวงพลังงาน.
สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2557. แผนที่นำทางการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ปีพ.ศ.2564 – 2573. (สืบค้นจาก chrome-extension://oemmndcbldboiebfn laddacbdfmadadm/https://climate.onep.go.th/wp-content /uploads/2019/07/NDC-Roadmap-for-Printing.pdf
วีรทัศน์ อิงคภัทรางกูร, 2558. เปิดโครงการ LESS ชวนร่วมลดก๊าซเรือนกระจก.(สืบค้นจาก http://greennews.agency/?p=5745)
การุณย์ ชัยวณิชย์และคณะ, 2561.การประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์จากการผลิตพลังงานไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินภายในโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า. วารสารวารสารวิชาการ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์, 10(12), 35-46.
IPCC The National Greenhouse Gas Inventories Programme. (2006). 2006 IPCC Guidlines for National Greenhouse Gas Inventories. Japan: The Institute for Global Environmental Strates (IGES).
ค่า Emission Factor โดยแบ่งตามประเภทกลุ่มอุตสาหกรรมต่าง ๆ , Thai National LCI Database/MTE/Update09Apr15 (สืบค้นจาก chrome-extension://oemmndcbldboiebfnladda
cbdfmadadm/https://en.mahidol.ac.th/EI/Downloads/EF_Update.pdf)
วัฒนณรงค์ มากพันธ์ และสมพงศ์ โอทอง, 2562.ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการจัดการขยะมูลฝอย กรณีศึกษา : พื้นที่ฝังกลบเทศบาลนครนครศรีธรรมราช.วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 28(11), 2064-2073
องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก, 2562. คู่มือการพัฒนากิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก LESS องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก(องค์การมหาชน)
จินต์ พันธุ์ชัยโย, ณัฐการย์ วงศ์ทองเหลือ, นราทิพย์ ณ ระนอง, พสุพร สมบูรณ์ธนสาร และอริศรา พรมิ่งมาศ, 2552. การประเมินการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในกระบวนการรีไซเคิลของอุตสาหกรรมขวดแก้ว กรณีศึกษา บริษัทบางกอกกล๊าสจำกัด. วารสารบริหารธุรกิจ, 32(1), 32-41.
ปวีณา พาณิชยพิเชฐ, 2561. การลดก๊าซเรือนกระจกจากการจัดการขยะมูลฝอย. สำนักวิเคราะห์และติดตามประเมินผล องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก. (สืบค้นจาก chrome-extension://oem
mndcbldboiebfnladdacbdfmadadm/http://conference.tgo.or.th/download/tgo_or_th/Article/2017/Waste_GHGs.pdf