การศึกษาการใช้วัสดุผสมของพอลิโพรพิลีนและใยมะพร้าวเป็นวัสดุทดแทนไม้

Main Article Content

สัณสนีย์ เหมาคม
โชคชัย แจ่มอำพร

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาการผลิตวัสดุทดแทนไม้จากพลาสติกพอลิโพรพิลีนและวัสดุจากธรรมชาติคือผงใยมะพร้าว รวมทั้งสารคู่ควบคือ มาเลอิกแอนไฮไดรด์กราฟเทดพอลิโพรพิลีน นำมาผสมรวมกันด้วยอัตราส่วนของพอลิโพรพิลีน : สารคู่ควบ : ผงใยมะพร้าวเป็น 3 แบบ ได้แก่ 50 : 5 : 45, 60 : 5 : 35, 70 : 5 : 25 และใช้กระบวนการอัดขึ้นรูปร้อนเพื่อให้ได้แผ่นไม้พลาสติกตามต้องการ ซึ่งจากการทดสอบสมบัติทางกายภาพและทางกลตามมาตรฐาน ASTM พบว่าที่อัตราส่วน 70 : 5 : 25 จะมีความเหมาะสมมากที่สุดทั้งในด้านสมบัติทางกายภาพและทางกล ซึ่งประกอบด้วย 1) การดูดความชื้นต่ำมีค่า 1.67 % 2) ความหนาแน่น 0.87 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร 3) การพองตัวตามความหนาเพียง 1.99 % 4) มีความแข็งแรงสูงตาม ค่ามอดุลัสการแตกหัก 24.49 MPa และ 5) ความต้านแรงดึง 23.86 kgf/cm2 ตามลำดับ ดังนั้นจึงสามารถนำมาใช้เป็นทางเลือกในการเป็นวัสดุทดแทนไม้ในการตกแต่งได้ดี แต่ยังมีข้อด้อยในด้านของความสวยงาม และความแข็งที่ไม่สูงมากนัก ซึ่งในการประยุกต์ใช้จะต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับประเภทของงานที่นำไปใช้ และหากต้องการคุณสมบัติที่ดีขึ้น จะต้องนำไปทำการวิจัยต่อยอดและพัฒนาให้ได้วัสดุที่ดีขึ้นต่อไป

Article Details

How to Cite
[1]
เหมาคม ส. และ แจ่มอำพร โ., “การศึกษาการใช้วัสดุผสมของพอลิโพรพิลีนและใยมะพร้าวเป็นวัสดุทดแทนไม้”, Crma. J., ปี 18, ฉบับที่ 1, น. 58–69, ต.ค. 2020.
บท
บทความวิจัย

References

กนกอร แสงสุวรรณ. 2553. ไม้พอลิเมอร์คอมโพสิตจากพอลิโอเลฟินส์และเส้นใยมะพร้าว. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร มหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีพอลิเมอร์ บัณฑิตวิทยาลัย, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

ณัฏฐ์ชญาภา ธนวัฒนาศิริกุล. 2554. การปรับปรุงความแข็งแรงของไม้พลาสติกจากไม้ปาล์ม. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต วิศวกรรมอุตสาหการและระบบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

Brydson, J.A., 2000, Plastics Materials, 7th ed., Butterworth Heinemann, Oxford, p. 247-259.

Strong, A.B., 2000, PLASTICS : Materials and Processing, 2nd ed., Prentice-Hall Inc., Ohio, p. 208-210, 419-446.

Brandt, C.W. and Fridley, 2003, Load-Duration Behavior of Wood-Plastic Composite, Journal of Material in Civil Engineering, Vol.15, p. 524-536.

Bengtsson, M., Gatenholm, P. and Oksman, K. 2005. The effect of crosslinking on the properties of polyethylene/wood flour composite, Composites Science and Technology. p1468-1479.

American Society of Testing Materials, 2003. Standard Method for Compressive Properties of Plastics Lumber and Shapes, ASTM D 7031-04. ASTM. Philadelphia, PA.

วรธรรม อุ่นจิตติชัย, 2555. วัสดุทดแทนไม้. กลุ่มงานพัฒนาอุตสาหกรรมไม้ สำนักวิจัยและพัฒนาการป่าไม้ กรมป่าไม้. กรุงเทพฯ.

Kamthita, P., 2015. Physico-Mechanical properties of Bio-fibers reinforced Polypropylene Composites, Rangsit University Journal of Engineering and Technology, Vol. 18, No. 2, p. 17-26.

อาทร แย้มทะเล และคณะ, 2560. การศึกษาสมบัติทางกลของพอลิโพรพิลีนโดยการเติมเถ้าแกลบ. การประชุมวิชาการระดับนานาชาติ, หน้า B293-B297.

Suksawat, J., et al., 2011. Mechanical and Morphological Studies of Wood Plastic Composites (WPC) made from Polypropylene (PP) and Waste Oil Palm Fibers: Empty Fruit Bunch Fibers (EFBF) and Frond Fibers (FF), The 8th Kasetsart University Kamphaeng Saen Conference , p. 1578-1585.

กุศยา สุวรรณวิหค และคณะ, 2556. การศึกษาการใช้วัสดุผสมของใบสนคาริเบียและพอลิเอทิลีนเป็นวัสดุทดแทนไม้. วารสารวิชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า. ปีที่ 11, หน้า 45-50.

Dam, J.E.G., et al., 2004. Industrial Crops and Products, Vol. 19, p. 207-216.

Ebewele, O.R., 2000, Polymer Science and Technology, CRC Press., Washington D.C., p. 421-423.

Chaisupakitsin, M., et al. 2010. Properties of Fiberboard Made from Coconut Coir/Polystyrene Foam Containing Flame Retardant, Burapha Science Journal, Vol. 15, No. 2, p. 57-66.

กิตติคุณ ลีลาภัทรพันธุ์ และประเสรฐิ แก้ววิชิต , เอกสารวิจัยเรื่องการศึกษาวัสดุทดแทนไม้จากใบสนคาริเบีย. สาขาวิชาวัสดุศาสตร์ทางการทหารและอากาศยาน กองวิชาวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช.

Duglas, J., Gardener. 2010. Extrusion of Wood Plastic Composites, University of Maine.