การตรวจลักษณะทางพื้นผิวและธาตุองค์ประกอบในเส้นใยสังเคราะห์และเส้นใยธรรมชาติที่พบในประเทศไทยโดยวิธี Scanning Electron Microscope/Energy Dispersive X-ray Spectroscopy เพื่อประยุกต์ใช้ในงานนิติวิทยาศาสตร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและจำแนกคุณสมบัติทางเคมีแบบเฉพาะเจาะจงของเส้นใยธรรมชาติและเส้นใยสังเคราะห์ที่พบในประเทศไทย และนำองค์ประกอบทางเคมีไปใช้ในการเปรียบเทียบคุณลักษณะเฉพาะทางเคมีของเส้นใยธรรมชาติและเส้นใยสังเคราะห์ รวมถึงนำเสนอแนวทางในการพัฒนา
การตรวจเส้นใยธรรมชาติและเส้นใยสังเคราะห์ที่มีประสิทธิภาพและแม่นยำในงานนิติวิทยาศาสตร์ โดยการใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนและเครื่องตรวจเอกซเรย์สเปคโตรสโคปีแบบกระจายพลังงาน เป็นตัวจำแนกคุณสมบัติทางแสงของเส้นใยธรรมชาติและเส้นใยสังเคราะห์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้คือ เส้นใยธรรมชาติ ได้แก่ ฝ้าย, ไหม, กัญชง และขนสัตว์ และเส้นใยสังเคราะห์ ได้แก่ ไนลอน, โพลีเอสเตอร์, โมดาไครลิค, อะคริลิค และเรยอน
ผลการวิจัยพบว่า เส้นใยธรรมชาติและเส้นใยสังเคราะห์ตัวอย่างนั้นมีคุณลักษณะทางพื้นผิวและองค์ประกอบทางเคมีแตกต่างกัน ซึ่งเป็นคุณลักษณะเฉพาะของเส้นใยแต่ละชนิด สามารถนำไปจำแนกและใช้ประโยชน์ในการตรวจพิสูจน์วัตถุพยานประเภทเส้นใยในคดีได้อย่างมีประสิทธิภาพและใช้ในการระบุประเภทของเส้นใยที่พบในสถานที่เกิดเหตุได้
Article Details
ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ
References
สายพิณ สืบสันติกุล. (2549). “การศึกษาองค์ประกอบและชนิดของเส้นใยในผ้าเบรกรถยนต์.” เอกสารผลงานที่เสนอให้ประเมินเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนักวิทยาศาสตร์ 8 ว กลุ่มงานเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์ 2. กองฟิสิกส์และวิศวกรรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ.
จารุวรรณ อัมพฤกษ์. (2555). “การวิเคราะห์เส้นใยธรรมชาติ และเส้นใยสังเคราะห์ในงานทางนิติวิทยาศาสตร์ โดย Fourier Transform Infrared Spectroscopy (FT-IR).” การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชานิติวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
กรชุลี พนาพิทักษ์กุล, กัลยา เอี้ยประเสริฐศักดิ์ และมนู เฟื่องฟุ้ง.(2557). การเตรียมและลักษณะทางสัณฐานวิทยาของเส้นใยพอลิสไตรีน/พอลิอะนิลีนโดยการปั่นด้วยไฟฟ้าสถิต.”วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 22(6): 767-774.
Wanagho, S, Gettingby, G, Caddey, B & Robertson, J. (1989). “Determination of particle size distribution of soils in forensic science using classical and modern instrumental methods.” Journal of Forensic Sciences 34, 4: 823-835.
Cho et al. (2001). “Single fiber analysis by internal reflection infrared microspectroscpy.” Journal of Forensic Science 46, 6: 1309-1314.
Houck, M.M. (2003). “Inter-comparison of unrelated fiber evidence.” Forensic Science International, 135: 146-149.
Li-Ling Cho. (2007). “Identification of textile fiber by Raman microspectroscopy.” Forensic Science Journal 6, 1: 55-62.
D. A. Stoney and P. L. Stoney. (2012). “Use of Scanning Electron Microcopy/Energy Dispersive Spectroscopy (SEM/EDS) Methods for the Analysis of Small Particles Adhering to Carpet Fiber Surfaces as a Mean to Test Associations of Trace Evidence in a Way that is Independent of Manufactured Characteristics.” Research report submitted to the U.S. Department of Justice.
Appalaneni, Krishnaveni. (2013). “Non-destructive Analysis of Trace Textile Fiber Evidence Via Roomtemperature Fluorescence Spectroscopy.” Doctoral Dissertation, Department of Chemistry, University of Central Florida.
วิโรจน์ แก้วเรือง. (2555). ไหม...คุณประโยชน์ที่ค้นพบอย่างไม่จบสิ้น ตอนที่ 1. เข้าถึงเมื่อ 1 สิงหาคม. เข้าถึงได้จาก www.gotoknow.org/posts/451359
วิศิษฐ์ แววสูงเนิน. (2556). การเพิ่มสมบัติการใช้งานเส้นใยไหมธรรมชาติโดยวิธีการดัดแปรทางเคมี. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
วิทยาลัยการอาชีพขอนแก่น. (2556). เส้นใยไหม. เข้าถึงเมื่อ 1 สิงหาคม. เข้าถึงได้จากwww.kknic.ac.th/salamai/page/m9.htm
โรจน์ฤทธิ์ โรจนธเนศ และณัฏฐพร พิมพะ. (ม.ป.ป.). ปฏิกิริยาการเตรียมเส้นใยเรยอน. คู่มือสื่อการสอนวิชาเคมีโดยความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานและคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุรินทร์ พุทธโชติ. (ม.ป.ป.). การผลิตเส้นใยสมรรถนะสูง (High Performance Fibers) เพื่อการปฏิรูปอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม. เข้าถึงเมื่อ 1 สิงหาคม. เข้าถึงได้จาก www.oie.go.th/sites/default/files/attachments/article/high_performance_fibers.pdf
ดนตรี จิรภัทรพิมล. (ม.ป.ป.). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเส้นใยและการดูแลรักษา. เข้าถึงเมื่อ 1 สิงหาคม. เข้าถึงได้จาก www.human.cmu.ac.th/home/hc/ebook/006103/lesson2/02.htm
อภิชาติ สนธิสมบัติ. (2555). สมบัติของเส้นใยสิ่งทอ. เข้าถึงเมื่อ 12 ตุลาคม. เข้าถึงได้จากhttp://www.ttcexpert.com/2012/Powerpoint/Intro_cotton_flax_wool_silk.pdf
โรจน์ฤทธิ์ โรจนธเนศ และณัฏฐพร พิมพะ. (ม.ป.ป.). ปฏิกิริยาการเตรียมเส้นใยเรยอน. คู่มือสื่อการสอนวิชาเคมีโดยความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานและคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นพภาพร พานิช และคณะ. (ม.ป.ป.). Acrylonitrile. เข้าถึงเมื่อ 1 สิงหาคม. เข้าถึงได้จากwww.pcd.go.th/info_serv/Datasmell/l3acrylonitrile.htm