การบำบัดน้ำปนเปื้อนไตรไนโตรโทลูอีนโดยใช้พืชร่วมกับกระบวนการเฟนตันออกซิเดชัน
Main Article Content
บทคัดย่อ
2,4,6-ไตรไนโตรโทลูอีน (Trinitrotoluene) หรือทีเอ็นที (TNT) เป็นวัตถุระเบิดแรงสูง จัดเป็นวัตถุระเบิดมาตรฐานที่สำคัญในราชการทหาร มีโครงสร้างเป็นสารประกอบไนโตรอะโรมาติก ซึ่งย่อยสลายยาก ประกอบกับผลอันตรายที่มีต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ทำให้มีการศึกษาวิจัยเพื่อบำบัดสารอันตรายชนิดนี้ งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการผสมผสานการบำบัดโดยใช้พืชร่วมกับกระบวนการเฟนตันออกซิเดชันในการบำบัดน้ำปนเปื้อนไตรไนโตรโทลูอีน ทำการทดลองโดยใช้ชุดการทดลองขนาด 40×40×60 ลูกบาศก์เซนติเมตร ใช้หญ้าแฝกลุ่ม สายพันธุ์สุราษฎร์ธานี (Vetiveria zizanioides) และดินลูกรังเป็นสารตั้งต้นของกระบวนการเฟนตันออกซิเดชัน ทำการทดลองหาอัตราการลดความเข้มข้นของไตรไนโตรโทลูอีนเข้มข้น 40 มิลลิกรัมต่อลิตร ในช่วงระยะเวลา 12 วัน ผลการวิจัยพบว่า การบำบัดโดยใช้หญ้าแฝกลุ่ม สายพันธุ์สุราษฎร์ธานี ได้ผลใกล้เคียงกับการบำบัดโดยดินลูกรังจากกระบวนการเฟนตันออกซิเดชัน มีอัตราการลดลงของไตรไนโตรโทลูอีน 91.80 % และ 91.76 % ตามลำดับ ขณะที่การผสมผสานการบำบัดโดยใช้หญ้าแฝกร่วมกับกระบวนการเฟนตันออกซิเดชัน มีอัตราการลดลงของไตรไนโตรโทลูอีน 95.08 % ในช่วงระยะเวลา 3 วันแรกของการทดลอง ดินลูกรังสามารถลดความเข้มข้นของไตรไนโตรโทลูอีนลงได้ดี ขณะที่หญ้าแฝกสามารถลดความเข้มข้นของไตรไนโตรโทลูอีนลงได้ดีในช่วงระยะเวลา 6 วันแรกของการทดลอง
Article Details
ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ
References
มนต์ชัย จันทร์ศิริ, 2549. ประสิทธิภาพของหญ้าแฝกที่ปลูกด้วยเทคนิคแท่นลอยน้ำในการบำบัดน้ำเสียชุมชน. วิทยานิพนธ์ สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Das P., Datta R. and Sarkar D., 2012. Nitroreductase Enzyme Mediated Phytodegradation of 2,4,6 Trinitrotoluene by Vetiver Grass. ASA, CSSA, and SSSA International Annual Meetings, Oct 2012 : 21-24.
Hung S.H., Yu C.W. and Lin C.H., 2005. Hydrogen Peroxide Function as a Stress Signal in Plants. Bot. Bull. Acad., 46 : 1-10.
Jiamjitrpanich W. et al., 2012. Enhanced Phytoremediation Efficiency of TNT-Contaminated Soil by Nanoscale Zero Valent Iron. IPCBEE 2012, 35 : 82-86.
Kongtip P. et al., 2012 Exposure to Trinitrotoluene and Health Effects among Workers in an Artillery and Ammunition Plant. Journal Medicine Association Thai, 95, Suppl. 6 : 154-160.
Li Z.M., Comfort S.D. and Shea P.J., 1997. Destruction of 2,4,6-Trinitrotoluene by Fenton Oxidation. Journal of Environmental Quality Abstract, 26(2): 480-487.
Matta R., Hanna K. and Chiron S., 2007. Fenton-Like Oxidation of 2,4,6-trinitrotoluene using Different Iron Minerals. Science of the Total Environment, 385: 242-251.
Meagher R.B., 2006. Plants Tackle Explosive Contamination. Nature Biotechnology, 24 : 161 – 163.
Saeed K.A. et al., 2014. Strength of Lime-Cement Stabilized Tropical Lateritic Clay Contaminated by Heavy Metalss. KSCE Journal of Civil Engineering, (0000) 00(0): 1-6.
Shakya et al., 2006. High uptake of 2,4,6-trinitrotoluene by Vetiver Grass - Potential for Phytoremediation. Ecotoxicol. Environ, 64 : 136-138.
U.S. EPA. Integrated Risk Information System (IRIS), 1991. Risk Estimate for Carcinogenicity and Reference Dose for Oral Exposure for 2,4,6-Trinitrotoluene. Office of Health and Environmental Assessment, Cincinnati: OH.