ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน เรื่องสารชีวโมเลกุลที่มีต่อทักษะการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นปีที่ 2 โรงเรียนเตรียมทหาร จังหวัดนครนายก
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบทักษะการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน เรื่องสารชีวโมเลกุล กับนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นปีที่ 2 โรงเรียนเตรียมทหาร จังหวัดนครนายก ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน เรื่องสารชีวโมเลกุล กับนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ
กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นปีที่ 2 โรงเรียนเตรียมทหาร จังหวัดนครนายก ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 70 คน จำนวน 2 ห้องเรียน โดยการสุ่มแบบกลุ่ม และจับฉลากห้องเรียน เป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน เรื่องสารชีวโมเลกุล จำนวน 5 แผน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดทักษะการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test)
ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ระดับทักษะการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน เรื่องสารชีวโมเลกุล สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นปีที่ 2 โรงเรียนเตรียมทหาร จังหวัดนครนายก ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน เรื่องสารชีวโมเลกุล สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ
References
กองสถิติและประเมินผล รร.ตท.. (2560). ผลการวัดและประเมินความรู้ทางวิทยาศาสตร์วิชาเคมีพื้นฐาน ประจำภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 . ข้อมูลการศึกษาการวัดและเมินผล โรงเรียนเตรียมทหาร.
จินดา พราหมณ์ชู. (2553). ผลของการใช้กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) ปีที่ 2 ฉบับพิเศษที่ 1 มกราคม 2553, หน้า 32-41.
ณัฎฐ์พธู เสริมสุข. (2558). การพัฒนาทักษะการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในหน่วยการเรียนรู้เรื่อง ระบบนิเวศ โดยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา ภาควิชาการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ทัศวรรณ ภูผาดแร่ และศักดิ์ศรี สุภาษร. (2557). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สารชีวโมเลกุล ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ร่วมกับกิจกรรมทำนาย-สังเกต-อธิบาย. การประชุมวิชาการระดับชาติ “วิทยาศาสตร์วิจัย” ครั้งที่ 6 (หน้า 1-6). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ประสาท เนืองเฉลิม. (2558). การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พัฒนพงษ์ พงษ์จันโอ. (2560). การศึกษาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน เรื่อง ปฏิกิริยาเคมี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 . วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.
พัชราภรณ์ บุณยทรรศนีย์. (2558). การพัฒนาทักษะการอภิปรายโต้แย้ง เรื่องแรงและกฎการเคลื่อนที่ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้บริบทเป็นฐานในการจัดการเรียนรู้. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา ภาควิชาการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พัชรมัย นิ่มลออ. (2559). ผลการใช้แนวคิดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานที่มีต่อความเข้าใจมโนทัศน์ชีววิทยาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิชญ์สินี จักรแก้ว. (2559). การจัดการเรียนรู้ตามรปูแบบการเรียนรู้ที่ใช้บริบทเป็นฐานเพื่อพัฒนาสมรรถนะการ ประเมินและออกแบบกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. นเรศวรวิจัย ครั้งที่ 12: วิจัยและนวัตกรรมกับการพัฒนาประเทศ. หน้า 943-958.
ภคพร อิสระ. (2558). ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนสืบสอบแบบมีการโต้แย้งร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเคมีและความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา ปีที่ 10 ฉบับที่ 2. หน้า 249-260
ภรณ์ภัสสรณ์ จ่าชัยภูมิ. (2558). การพัฒนาแนวคิดของนักเรียนเรื่อง ปฏิกิริยาเคมี ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
รร.ตท. (2560). เอกสารประกอบการเรียนการสอนเคมีพื้นฐาน ว 32121 ชั้นปีที่ 2. กองวิชาวิทยาศาสตร์ ส่วนการศึกษา โรงเรียนเตรียมทหาร. พิมพ์ครั้งที่ 1. 2560.
วนิดา ผาระนัด. (2561). การโต้แย้งอย่างมีเหตุผล: ทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ฉบับที่ 2 หน้า 174-181.
วิจารณ์ พานิช. (2554). การศึกษาที่มีคุณภาพสำหรับศตวรรษที่ 21. เอกสารประกอบการบรรยายในกำหนดการประชุมวิชาการ ครั้งที่ 6 สมาคมเครือข่ายพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย (ควอท.) ประจำปี 2554 เรื่อง “การศึกษามุ่งผลลัพธ์: ก้าวสู่บัณฑิตคุณภาพในศตวรรษ 21” วันที่ 29 กรกฎาคม 2554.
ศุภกร สุขยิ่ง. (2560). การจัดการเรียนรู้แบบใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับการใช้ข่าวเป็นสื่อ เรือง สภาพสมดุล เพื่อพัฒนาการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชันมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์: ปีที่ 18 ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม-ธันวาคม 2560. หน้า 31-44.
สสวท. (2554). หนังสือเรียนรายวิชาเคมีเพิ่มเติม เคมีเล่ม 5 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์: พิมพ์ครั้งที่ 1. องค์การค้าของ สกสค.ลาดพร้าว. 2554.
อธิฐาน บุญเป็ง. (2558). การพัฒนาความสามารถในการนำความรู้ไปใช้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง ปฏิกิริยาเคมีโดยการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ ปีที่ 30 ฉบับที่ 2. หน้า 162-172
อัศวิน ธะนะปัด. (2558). การพัฒนาทักษะการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ผ่านการจัดการเรียนรู้โดยใช้ประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ในหน่วยการเรียนรู้ทรัพยากรธรรมชาติ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา ภาควิชาการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
อังคณาภรณ์ ปรีชาพงค์มิตร. (2557). ผลของการเรียนรู้แบบบริบทเป็นฐาน ต่อมโนมติและแรงจูงใจ ใฝ่สมฤทธิ์ในการเรียนวิชาเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัญฑิต สาขาวิชาวิทาศษสตร์ศึกษา, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เอกภูมิ จันทรขันตี. (2559). การจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการโต้แย้งในชั้นเรียนวิทยาศาสตร์. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา, 11(1), 217-232.
อุไรวรรณ ไชยช่วย. (2558). การเปรียบเทียบความสามารถในการโต้แย้งและการคิดเชิงวิจารณ์จากการเรียนประเด็นปัญหาทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการใช้วิทยาศาสตร์ โดยใช้รูปแบบผสมผสานตามวิธีวิทยาศาสตร์และวิธีปัญหาเป็นฐานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีการนำตนเองในการเรียนรู้ต่างกัน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Bennett, Judith; & Holman, John. (2002). Context-based Approaches to the Teaching of Chemistry : What are they and What are their Effect?. in Chemical Education: Toward Research-based Practice, Netherlands: Kluwer Academic Publishers. p.165-184.
Chang M. and Chen G.D., (2009). Learning by Playing: Social and Cultural Issues. Canada: Springer. 184.
Christine, T. (2009). Argumentation: The Language of Science. Journal of Elementary Science Education, Vol. 21, No. 1, pp. 17-25.
Dawson, V.M. & Venville, G. (2010). Teaching strategies for developing students’ argumentation skill about socioscientific issues in high school genetics. Research in Science Education, 40(2), 133-148.
De Jong, O. (2006). Making chemistry meaningful: Conditions for successful context-based teaching. Education Quimica, 17, 215-221.
De Jong, O. (2008). Context-based Chemical education: How to improve it? Chemical Education International, 8(1), 1-7.
Gibert, J.K. (2006). On the nature of “context” in chemical education. International journal of Science Education, 28(9), 957-976
Gutwill-wise. (2001). The Impact of Active and Context-Based Learning in Introductory Chemistry Courses: An Early Evaluation of the Modular Approach. Journal of chemical education. 78(5), 684
Hanegan, N. L., Price, L., & Peterson, J. (2008). Disconnections between teacher expectations and student confidence in bioethics. Science & Education, 17(8-9), 921-940.
Lin, S. & Mintzes, J.J. (2010). Learning argumentation skill through instruction in socioscientific issues: The effect of ability level. Taiwan: National Science Council.
SHU-SHENG LIN and JOEL J. MINTZES. (2010). Learning Argumentation Skills Through Instruction In Socioscientific Issues: The Effect Of Ability Level. International Journal of Science and Mathematics Education, 8: 993-1017.
Neslihan, U. & Muammer, C. (2012). A Thematic Review of Studies into the Effectiveness of Context-based Chemistry Curricula. J Sci Educ technol, 21: 686-701.
Osborne, J., Erduran, S., & Simon, S. (2004). Enhancing the quality of argumentation in school science. Journal of Research in Science Teaching, 41(10), 994-1020
Pattanapong, P., (2017). A Study of Context-based Learning Activity Model on Chemical Reaction Issue for Secondary Student at the 10th Level. European Journal of Education Studies, 629-647.
Seel, N.M. (2012). Encyclopedia of the science of learning. London: Springer Science+Business Media.
Simon, S., Erduran, S., & Osnorne, J. (2006). Learning to teach argumentation: Research and development in the science classroom. International Journal of Science Education, 28(2-3), 235-260.
Ummels, M. H. J., Kamp, M. J. A., Kroon, H. D., & Boersma, K. T. (2015). Promoting conceptual coherence within context-based biology education. Science Education, 99(5), 958-985.
Zeidler, D.L., Sadler, T.D., Simmons, M.L. & Howes, E.V. (2005). Beyond STS: A research-based framework for socioscientific issues education. Science Education, 89, 357-377.
Zhiwei Z., Xiuyi F. & Chunyan M. (2018). Context-based and Explainable Decision Making with Argumentation. International Conference on Autonomous Agents and Multiagent Systems. AAMAS 2018 : 1114-1122.