การศึกษาและพัฒนาคูส่งน้ำคอนกรีตผสมน้ำยางพาราสำหรับใช้ในระบบชลประทานไร่นา

Main Article Content

พีรวัฒน์ ปลาเงิน
ชวน จันทวาลย์

บทคัดย่อ

การศึกษาและพัฒนาคูส่งน้ำคอนกรีตผสมน้ำยางพาราสำหรับใช้ในระบบชลประทานไร่นา ได้ทำการศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพและทางกลของคอนกรีตผสมน้ำยางพารา (พรีวัลคาไนซ์) ในห้องปฏิบัติการ ได้แก่ โครงสร้างจุลภาคคอนกรีตผสมน้ำยางพารา ความสามารถในการเทได้ กำลังรับแรงอัด กำลังรับแรงดึง ค่าโมดูลัสความยืดหยุ่น และการดูดซึมน้ำของคอนกรีตผสมน้ำยางพารา โดยกำหนดอัตราส่วนเนื้อยางต่อปูนซีเมนต์ (P/C) เท่ากับ 0%, 1%, 3%, 5%, 10% และ 15% (โดยน้ำหนัก) และทำการทดสอบคุณสมบัติทางกลของคอนกรีตระยะเวลา 28 วัน พบว่าคอนกรีตผสมน้ำยางพาราที่อัตราส่วนเนื้อยางต่อปูนซีเมนต์ เท่ากับ 1% มีคุณสมบัติการรับแรงต่างๆ ดีที่สุด ได้แก่ กำลังรับแรงอัด 244 กก./ซม2 กำลังรับแรงดึง 35 กก./ซม2 โมดูลัสความยืดหยุ่น 46 กก./ซม2 การดูดซึมน้ำร้อยละ 1.0 จากผลการศึกษาคุณสมบัติของคอนกรีตในห้องปฏิบัติการจึงแนะนำให้ใช้อัตราส่วนผสมคอนกรีตสำหรับนำไปใช้งานในการหล่อคูส่งน้ำคอนกรีตผสมน้ำยางพารา โดยใช้น้ำยางต่อปูนซีเมนต์ (P/C) เท่ากับ 1% (โดยน้ำหนัก) สำหรับปูนซีเมนต์ 50 กก. ประกอบไปด้วยวัสดุต่างๆ ดังนี้ ทราย 135 กก. หินกรวด 148 กก. น้ำ 29.67 กก. และน้ำยางพรีวัลคาไนซ์ 0.83 กก. การศึกษาวิจัยภาคสนามได้พัฒนาคูส่งน้ำผสมน้ำยางพาราแบบสำเร็จรูปและแบบดาดในที่ติดตั้งในพื้นที่แปลงนาของเกษตรกร ความกว้างท้องคูส่งน้ำ 0.40 ม. สูง 0.30 ม. และความหนา 0.07 ม. การติดตามประเมินผลเบื้องต้นการใช้งานคูส่งน้ำในพื้นที่แปลงนา พบว่าปริมาณน้ำที่ไหลเข้าสู่พื้นที่แปลงนาจะไหลได้สะดวกและเร็ว สามารถป้องกันการสูญเสียน้ำเนื่องจากการรั่วซึมจึงทำให้ประสิทธิภาพการชลประทานเพิ่มขึ้น

Article Details

How to Cite
[1]
ปลาเงิน พ. และ จันทวาลย์ ช., “การศึกษาและพัฒนาคูส่งน้ำคอนกรีตผสมน้ำยางพาราสำหรับใช้ในระบบชลประทานไร่นา ”, Crma. J., ปี 17, ฉบับที่ 1, น. 100–116, ธ.ค. 2019.
บท
บทความวิจัย

References

พีรวัฒน์ ปลาเงิน (2558). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ การประยุกต์ใช้น้ำยางพาราและดินซีเมนต์พัฒนาสระน้ำต้านภัยแล้ง. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

พีรวัฒน์ ปลาเงิน, ชวน จันทวาลาย์, สมพร พิบูลย์ และฐกลพัศ เจนจิวัฒนกุล (2559). การถ่ายทอดเทคโนโลยีประยุกต์ใช้น้ำยางพาราในงานบำรุงรักษาระบบชลประทาน. วารสารวิชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า, ปีที่ 14, ฉบับที่ 14, หน้า 117 - 129

พีรวัฒน์ ปลาเงิน (2549). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ การศึกษาการรั่วซึมของน้ำในแบบจำลองคลองชลประทานผสมน้ำยางพารา. โครงการวิจัยแห่งชาติ : ยางพารา, สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (สกว.)

พีรวัฒน์ ปลาเงิน และชวน จันทวาลย์ (2559). รายงานการวิจัยและการพัฒนาวิจัยการเกษตรฉบับสมบูรณ์ การพัฒนาคลองชลประทานผสมน้ำยางพาราสำหรับใช้ในระบบชลประทานไร่นา สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) : สวก.

พีรวัฒน์ ปลาเงิน, ชวน จันทวาลาย์, สมพร พิบูลย์ และฐกลพัศ เจนจิวัฒนกุล (2559). รายงานกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย การถ่ายทอดเทคโนโลยีประยุกต์ใช้น้ำยางพาราในงานบำรุงรักษาระบบชลประทาน. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ

Chatveera, B. and Wongkamjan, W. (2001). “Mechanical Behavior of Fine RHA Concrete,” KMUTT Research and Development Journal, 24 (3), pp. 327-342.

Chatveera, B. and Kongsub, T. (2002) “Durability of Concrete Containing Black RHA from Rice Mill,” KMUTT Research and Development Journal, 25 (4), pp. 374-389.

Homsriprasert, W.and Chatveera, B. (2016) “Mechanical Properties of Fly Ash-based Geopolymer Mortar with Electric Oven Curing under Sodium Sulfate and Magnesium Sulfate Attacks,” KMUTT Research and Development Journal, 39 (2), pp. 271-286.

Phoo-ngernkham, T., Hanjitsuwan, S. and Chindaprasirt, P. (2016). “Influence of Sand to Binder Ratio on Properties of Geopolymer Mortar Containing Portland Cement,” KMUTT Research and Development Journal, 39 (2), pp. 127-137.

วราภรณ์ ขจรไชยกุล (2554) เอกสารประกอบการบรรยาย โครงการถ่ายทอดความรู้วิชาการพื้นฐานด้านยางพาราสำหรับนักวิจัยเพื่อพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัยยางพารา. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย 3 – 6 สิงหาคม 2554

American Society for Testing and Materials (2009) ASTM C33 Standard Specification for Concrete Aggregates, ASTM International, Book of Standards, Volume 04-02, West Conshohocken, PA.

วราภรณ์ ขจรไชยกุล (2549) ยางธรรมชาติ : การผลิตและการใช้งาน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย พิมพ์ครั้งที่ 1 สิงหาคม 2554

American Society for Testing and Materials (2009) ASTM C143 Standard Test Method for Slump of Hydraulic-Cement Concrete. Annual Book of ASTM Standard, Section 4 Construction, Volume 04.02 Concrete and Aggregate.

American Society for Testing and Materials (2009) ASTM C39 Standard Test Method for Compressive Strength of Cylindrical Concrete Specimens, Annual Book of ASTM Standard, Section 4 Construction, Volume 04.02 Concrete and Aggregate.

American Society for Testing and Materials (2009) ASTM C496 Standard Test Method for Splitting Tensile Strength of Cylindrical Concrete Specimens, Annual Book of ASTM Standard, Section 4 Construction, Volume 04.02 Concrete and Aggregate.

American Society for Testing and Materials (2009) ASTM C78 Standard Test Method for Flexural Strength of Concrete (Using Simple Beam with Third-Point Loading), Annual Book of ASTM Standard, Section 4 Construction, Volume 04.02 Concrete and Aggregate.

American Society for Testing and Materials (2009) ASTM C234 Standard Test Method for Comparing Concretes on the Basis of the Bond Developed with Reinforcing Steel, Annual Book of ASTM Standard, Section 4 Construction, Volume 04.02 Concrete and Aggregate.

American Society for Testing and Materials, 2009, ASTM C1585 Standard Test Method for Measurement of Rate of Absorption of Water by Hydraulic-Cement Concretes, Annual Book of ASTM Standard, Section 4 Construction, Volume 04.02 Concrete and Aggregate.

เนาวรัตน์ ป้อมเพชร (2526). หลักเกณฑ์การออกแบบระบบชลประทานในแปลงนา. เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการทำงานชลประทาน. กรมชลประทาน, กรุงเทพมหานคร.