การลดต้นทุนค่าไฟฟ้าต่อกิโลวัตต์-ชั่วโมงโดยใช้งานตัวควบคุมค่าความต้องการกำลังไฟฟ้าสูงสุด ภายในกองวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้นำเสนอการลดต้นทุนค่าไฟฟ้าต่อกิโลวัตต์-ชั่วโมงโดยการลดค่าความต้องการกำลังไฟฟ้าสูงสุดภายใน กองวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ในภาคเรียนที่ 2 ปี 2558 การประเมินผลการใช้งานของตัวควบคุมค่าความต้องการกำลังไฟฟ้าสูงสุดแบ่งเป็น 2 ช่วง นั้นคือการเก็บข้อมูลเพื่อสร้างกราฟลักษณะการใช้ไฟฟ้าโดยเฉลี่ยต่อวันในรอบสัปดาห์ในช่วงสองเดือนแรก และการตัดยอดค่าความต้องการไฟฟ้าสูงสุดที่เกิน 33 กิโลวัตต์โดยใช้ตัวควบคุมค่าความต้องการกำลังไฟฟ้าสูงสุดในช่วงสองเดือนสุดท้าย ในช่วงแรกพบว่าค่าความต้องการกำลังไฟฟ้าสูงสุดเฉลี่ยต่อสัปดาห์ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์มีค่า 44.76 กิโลวัตต์โดยที่ร้อยละของโหลดแฟคเตอร์มีค่า 54.80 หลังจากใช้งานตัวควบคุมดังกล่าวในช่วงสุดท้าย พบว่าค่าความต้องการกำลังไฟฟ้าสูงสุดเฉลี่ยต่อสัปดาห์ที่ความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์มีค่า 42.62 กิโลวัตต์โดยที่ร้อยละของโหลดแฟคเตอร์มีค่า 53.50 แม้ว่าตัวควบคุมดังกล่าวจะสามารถลดค่าความต้องการกำลังไฟฟ้าสูงสุดลงได้แต่ต้นทุนค่าไฟฟ้าต่อกิโลวัตต์-ชั่วโมงก็ไม่ได้ลดลงตาม ทั้งนี้เพราะปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยต่อสัปดาห์ในช่วงสุดท้ายมีค่าน้อยกว่าในช่วงแรก ดังนี้ 911.94 และ 981.06 กิโลวัตต์-ชั่วโมง/สัปดาห์ตามลำดับซึ่งส่งผลให้ร้อยละของโหลดแฟคเตอร์ในช่วงที่สองไม่ได้ดีกว่าในช่วงแรก อย่างไรก็ตามถ้าตัวควบคุมดังกล่าวสามารถตัดค่ายอดความต้องการกำลังไฟฟ้าสูงสุดไม่ให้เกิน 33 กิโลวัตต์ได้จริง ร้อยละของโหลดแฟคเตอร์ในช่วงสุดท้ายจะได้รับการแก้ไขในทางทฤษฎีเป็น 69.08 และต้นทุนค่าไฟฟ้าต่อกิโลวัตต์-ชั่วโมงจะลดลงได้อีกประมาณ 3.27 เปอร์เซ็นต์หรือ 0.1662 บาทต่อกิโลวัตต์-ชั่วโมง
Article Details
ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ
References
Ali, M., Yousaf, A., and Usman, F., “Design and Simu- lation of Load Control & Monitoring System through Demand Side Management Technique” The 8th International Renewable Energy Congress, IEEE Conference, Amman Jordan, March 2017.
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค,มิถุนายน 2555,โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า http://www.pea.co.th
Chipango, M.F., Popoola, O.M., and Munda, J.L., “Peak Demand Control System Using Load Prioritisation for Domestic Households” IEEE Africon, Cape Town, South Africa, September 2017.
Jorje, H., Martin, M., and Gomes, a. “Maximum De- mand Control: A Survey and Comparative Evaluation of Different Methods” IEEE Transactions on Power System, Vol. 8, No. 3, August 1993.
Nghiem, T.X., Behl, M., Mangharam, R., et al. “Scal- able Scheduling of Building Control Systems for Peak Demand Reduction” 2012 Amarican Control Conference, Montreal Canada, June 2012.
Masri, S., Abd Halim, A.R., “Demand Control & Moni- toring System as the Potential of Energy Saving” 2014 IEEE Student Conference on Research and Development, Batu Ferringhi, Malaysia, December 2014.
Minchala, L.I., Armijos, J., Pesantez, D., et al. “Design and Implementation of a Smart Meter with Demand Response Capabilities” Applied Energy Symposium and Forum, REM2016, Elsevier Energy Procedia 103 Maldives, April 2016. p.105-200
Pholboon, S., Sumner, M., and Kounnos, P., “Com- munity Power Flow Control for Peak Demand Reduction and Energy Cost Savings” IEEE PES Innovative Smart Grid Technologies Conference Europe, Ljubljana Slovenia, October 2016.
พงศ์กฤษณ์ รุ่งสุข “ปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการแก้ไขความต้องการกำลังไฟฟ้าสูงสุดของ กองวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า” วารสารวิชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอม เกล้า, ปีที่13 2528. หน้า 133-145
บริษัทแสงชัยมิเตอร์,คู่มือการใช้งานโปรแกรม Richtmass Pro ฉบับสมบรูณ์, http://www.sangchaimeter.com
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า สื่อสาร โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (ปรับปรุง พ.ศ. 2558), http://kmlo.crma.ac.th/qa_edu56
พงศ์กฤษณ์ รุ่งสุข, 2558. การจัดการปริมาณไฟฟ้าเพื่อการแก้ไขค่าความต้องการกำลังสูงสุดของกองวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ กองทุนพัฒนาโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า