การทดสอบสมรรถนะเครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็กที่ใช้น้ำมันมะพร้าวและน้ำมันถั่วเหลือง

Main Article Content

พิมพ์พรรณ ปรืองาม
ประเทือง อุษาบริสุทธิ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ได้นำน้ำมันมะพร้าวและน้ำมันถั่วเหลืองที่ยังไม่ผ่านการทำให้บริสุทธิ์ มาเป็นเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ดีเซล สูบเดียว ยี่ห้อ YANMAR รุ่น TA 120-XL (1) ทดสอบสมรรถนะเครื่องยนต์กับแท่น Dynamometer พบว่า (1.1) เมื่อใช้น้ำมันดีเซล ที่ความเร็วรอบ 1,437 rpm จะได้แรงบิดสูงที่สุดเท่ากับ 40.17 N⋅m และที่ความเร็วรอบ 2,163 rpm จะได้กำลังสูงที่สุดเท่ากับ 8.92 kW มีอัตราความสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงจำเพาะสูงสุดที่ความเร็วรอบ 2,056 rpm เท่ากับ 387.28 g/kW⋅h มีอัตราความสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงสูงสุดที่ความเร็วรอบ 2,163 rpm เท่ากับ 4.13 l/h (1.2) เมื่อใช้น้ำมันมะพร้าว ที่ความเร็วรอบ 1,400 rpm จะได้แรงบิดสูงที่สุดเท่ากับ 38.65 N⋅ m และที่ความเร็วรอบ 2,200 rpm จะได้กำลังสูงที่สุดเท่ากับ 8.79 kW มีอัตราความสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงจำเพาะสูงสุดที่ความเร็วรอบ 1,900 rpm เท่ากับ 485.73 g/kW⋅h มีอัตราความสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงสูงสุดที่ความเร็วรอบ 2,200 rpm เท่ากับ 4.54 l/h (1.3) ส่วนน้ำมันถั่วเหลือง ที่ความเร็วรอบ 1,600 rpm จะได้แรงบิดสูงที่สุดเท่ากับ 39.08 N⋅m และที่ความเร็วรอบ 2,200 rpm จะได้กำลังสูงที่สุดเท่ากับ 9.0 kW มีอัตราความสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงจำเพาะสูงสุดที่ความเร็วรอบ 1,800 rpm เท่ากับ 478.09 g/kW⋅h มีอัตราความสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงสูงสุดที่ความเร็วรอบ 2,200 rpm เท่ากับ 4.6 l/h (2) ทดสอบกับรถไถเดินตาม โดยติดตั้งเครื่องยนต์บนโครงสร้างของรถไถเดินตาม (2.1) ใช้ล้อยาง เคลื่อนที่ด้วยความเร็วเฉลี่ย 2 km/h พบว่า น้ำมันดีเซลมีอัตราความสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงใกล้เคียงกับน้ำมันถั่วเหลือง คือ 0.31 kg/h และน้ำมันมะพร้าวมีอัตราความสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงมากที่สุด คือ 0.35 kg/h (2.2) และเมื่อเปลี่ยนเป็นล้อเหล็ก เคลื่อนที่ด้วยความเร็วเฉลี่ย 2.33 km/h พบว่า เครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซล น้ำมันถั่วเหลือง และน้ำมันมะพร้าว มีอัตราความสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงเท่ากับ 0.31, 0.32 และ 0.35 kg/h ตามลำดับ

Article Details

How to Cite
[1]
ปรืองาม พ. และ อุษาบริสุทธิ์ ป., “การทดสอบสมรรถนะเครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็กที่ใช้น้ำมันมะพร้าวและน้ำมันถั่วเหลือง”, Crma. J., ปี 16, ฉบับที่ 1, น. 11–23, ธ.ค. 2018.
บท
บทความวิจัย

References

พสิษฐ์ มือสันทัด, วิชิต บัวแก้ว และพิชัย อัษฎมงคล, 2550. การพัฒนาเครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็กให้สามารถใช้แก๊สแอลพีจีเป็นเชื้อเพลิงร่วม. วารสารทางวิชาการ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า, ปีที่ 5 : 146-155.

ไพบูลย์ ลีหล้าน้อย, อโณทัย สุขแสงพนมรุ้ง และพิชัย อัษฎมงคล, 2550. การศึกษาสมรรถนะของเครื่องยนต์ดีเซลที่ใช้ดีโซฮอล์ชนิดบิวทานอลเป็นส่วนผสม. วารสารทางวิชาการ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า, ปีที่ 5 : 135-145.

ปเสฏฐา สารลักษณ์, 2554. การทดสอบการใช้น้ำมันไบโอดีเซลที่ผลิตจากน้ำมันพืชใช้แล้ว. วารสารทางวิชาการ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า, ปีที่ 9: 1-17.

กระทรวงพลังงาน, 2551. รู้เฟื่องเรื่องพลังงาน [Online] http://www.energy.go.th

คุณานนต์ ศักดิ์กําปัง และเกียรติฟ้า ตั้งใจจิต, 2556. การศึกษาสมรรถนะและการปลอยมลพิษของเครื่องยนต์ดีเซลหมุนเร็วเมื่อใช นํ้ามันไบโอดีเซลจากไขมันไก่. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น, ปีที่ 18(4) : 616-627.

ทวิช จิตสมบูรณ์, 2544. โอกาสและปัญหาจากการใช้น้ำมันพืชแทนน้ำมันดีเซลในประเทศไทย. การประชุมวิชาการเครือข่ายวิศวกรรมเครื่องกลแห่งประเทศไทย, ครั้งที่ 15: EM20-EM29.

ธนศิษฏ์ วงศ์ศิริอำนวย. 2545, ผลของอุณหภูมิน้ำมันพืชต่อสมรรถนะและสารปลดปล่อยในเครื่องยนต์ดีเซล. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ประสูตร เฉลียวศิลป์. 2548, พลังงานทางเลือก ใช้น้ำมันมะพร้าวหมักเติมรถทดแทนน้ำมันดีเซล. วารสารเกษตรกรรมธรรมชาติ, ฉบับที่ 3 : 13-15.

พิชัย สราญรมย์. 2544, ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสบู่ดำ [Online] http://aopdm01.doae.go.th/data/physicnut21.htm

Zafer Utlu and Mevlut Sureyya Koc-ak. 2008, The effect of biodiesel fuel obtained from waste frying on direct injection diesel engine performance and exhaust emission. Renewable Energy, Vol. 33: 1936-1941.

Saddam H. Al-lwayzy and Talal Yusaf. 2013, Chlorella protothecoides Microalgae as an Alternative Fuel for Tractor Diesel Engines. Energies, Vol.6: 766-783.