ตาข่ายสารประกอบโพลิเมอร์และผงแร่ซีโอไลต์สำหรับดักจับแอมโมเนียในแหล่งน้ำ

Main Article Content

ณภัทร สุขแสงพนมรุ้ง
พิมพ์นิภา ธรรมใจอุต
วชิราภรณ์ อ่อนไทย
เมษสุวัลย์ พงษ์ประมูล
ดวงกมล ตุคะสมิต
รัฐพล รังกุพันธ์

บทคัดย่อ

แอมโมเนียเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหามลพิษทางน้ำ ในปัจจุบันมีวิธีการบำบัดแอมโมเนียในน้ำหลายวิธี แต่วิธีที่ง่ายเเละไม่ซับซ้อน คือการบำบัดด้วยแร่ซีโอไลต์ (zeolite: Z) ซึ่งในสภาวะปกติซีโอไลต์ที่ใช้กันทั่วไปอยู่ในรูปผง จึงพบปัญหาการแยกผงซีโอไลต์ออกจากน้ำหลังบำบัดเสร็จ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิจัยและสร้างนวัตกรรม ตาข่ายสารประกอบโพลิเมอร์ที่มีผงแร่ซีโอไลต์เป็นตัวประกอบสำหรับดักจับแอมโมเนียในแหล่งน้ำ โดยตาข่ายสารประกอบโพลิเมอร์นี้ต้องใช้งานง่ายและต้องสามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่ นอกจากนี้ยังสนใจศึกษาตัวโพลิเมอร์ที่เหมาะสมในการทำเป็นตาข่าย โดยพิจารณาจากเซลลูโลสอะซิเตท (CA) และโพลิอะคลิโลไนไทรล์ (PAN) ดังนั้นเส้นใยคอมโพสิตสองชนิด (CA/Z และ PAN/Z) จึงถูกผลิตด้วยกระบวนการผลิตเส้นใยแบบปั่นเปียก จากการทดลองพบว่า CA/Z มีประสิทธิภาพในการบำบัดแอมโมเนียมากกว่า PAN/Z และ Z ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่าประสิทธิภาพในการบำบัดแอมโมเนียของเส้นใย CA/Z ในอัตราส่วน 3:1 ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับเส้นใย CA/Z ที่อัตราส่วน 4:1 หลังผลการทดลอง ได้จัดทำสร้างตาข่ายดักจับแอมโมเนีย โดยการนำเส้นใยร้อยผ่านแผ่นเฟรมอะลูมิเนียม พบว่าเมื่อนำเส้นใยมาทำเป็นตาข่ายประสิทธิภาพในการดูดซับแอมโมเนียจะเพิ่มมากขึ้น

Article Details

How to Cite
[1]
สุขแสงพนมรุ้ง ณ., ธรรมใจอุต พ., อ่อนไทย ว., พงษ์ประมูล เ., ตุคะสมิต ด., และ รังกุพันธ์ ร., “ตาข่ายสารประกอบโพลิเมอร์และผงแร่ซีโอไลต์สำหรับดักจับแอมโมเนียในแหล่งน้ำ”, Crma. J., ปี 15, ฉบับที่ 1, น. 215–223, ธ.ค. 2017.
บท
บทความวิจัย

References

สำนักจัดการคุณภาพน้ำ กรมควบคุมมลพิษ, 2556. การติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำ. รายงานการดำเนินงานสำนัก จัดการคุณภาพน้ำ ประจำปี 2555. กรุงเทพ.

Water Quality Association, 2013. AMMONIA FACT SHEET [Pamphlet]. Lisle, Illinois.

ศิรินุช ลอยหา, 2556. ซีโอไลต์และเทคโนโลยีซีโอไลต์. วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 41, 56-66.

Global Acetate Manufacturers Association. (n.d.). Cellulose Acetate Polymer [Brochure], New York.

รัตนดิลก ณ ภูเก็ต ศศิประภา, 2558. การผลิตใยอะซิเตท (acetate). สืบค้นจาก http://www.thaitextile.org//index.php/blog/2015/10/58-ecofiber-cellulose.

In-Chui Kim, Hyung-Gu Yun and Kew-Ho Lee, 2002. Preparation of asymmetric polyacrylonitrile membrane with small pore size by phase inversion and post-treatment process. Journal of Membrane Science, 199, 75-84.

Ji Fei, Chaolin Li, Bo Tang, Jianhui Xu, Gang Lu, and Peng Liu, 2012. Preparation of cellulose acetate/zeolite composite fiber and its adsorption behavior for heavy metal ions in aqueous solution. Chemical Engineering Journal, 209, 325-333.

จตุพร วิทยาคุณ และนุรักษ กฤษดานุรักษ, 2547. การเร่งปฏิกิริยา : พื้นฐานและการประยกตุ์, สํานักพิมพมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, กรุงเทพฯ.

Michel Guisnet and Jean-Pierre Gilson, 2002. Zeolites for Cleaner Technologies, Vol. 3.