การพัฒนาผลิตภัณฑ์ไอศกรีมฟักข้าวผสมแบคทีเรียกรดแลคติกจากนมคีเฟอร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ไอศกรีมฟักข้าวผสมแบคทีเรียกรดแลคติกจากนมคีเฟอร์ โดยศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมระหว่างปริมาณนมต่อนมคีเฟอร์ 5 ระดับ คือ 100:0 75:25 50:50 25:75 และ 0:100 (w/w) ผลการศึกษาพบว่า เมื่ออัตราส่วนของนมคีเฟอร์เพิ่มขึ้นส่งผลให้การขึ้นฟูเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับอัตราการละลายที่ลดลง (p≤0.05) และจากการทดสอบคุณภาพทางประสาทสัมผัสด้วยวิธี 9-point Hedonic scale โดยใช้ผู้ทดสอบทั่วไปจำนวน 50 คน พบว่า อัตราส่วนระหว่างนมต่อนมคีเฟอร์ 75:25 (สูตรที่ 2) มีคะแนนเฉลี่ยด้านสี กลิ่น เนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวมสูงที่สุด จึงเลือกสูตรดังกล่าวมาศึกษาคุณภาพทางเคมี พบว่า มีค่าความเป็นกรด-ด่าง ปริมาณของแข็งที่ละลายได้ทั้งหมด (องศาบริกซ์) ปริมาณกรดทั้งหมด (ร้อยละ) ปริมาณไขมัน (ร้อยละ) และปริมาณโปรตีน (ร้อยละ) เท่ากับ 4.73±0.06 18.73±0.23 0.35±0.02 1.70±0.32 และ 19.04±0.34 ตามลำดับ และผลการศึกษาปริมาณจุลินทรีย์ พบปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมด ปริมาณแบคทีเรียกรดแลคติก และปริมาณโคลิฟอร์มแบคทีเรีย เท่ากับ 1.79×106 โคโลนีต่อกรัม 1.32×105 โคโลนีต่อกรัม และน้อยกว่า 3 MPN ต่อกรัม ตามลำดับ ซึ่งมีต้นทุนของผลิตภัณฑ์ เท่ากับ 4.83 บาทต่อ 37 กรัม (1 ถ้วย)
Article Details
ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ
References
พัชริน ส่งศรี. 2555. ฟักข้าว พืชพื้นบ้านคุณค่าสูงเพื่อสุขภาพ. แก่นเกษตร. 40: 1-6.
ยุทธนา บรรจง, มะลิวัลย์ หฤทัยธนาสันต์, เกษม หฤทยัธนาสันต์และวิชัย หฤทยัธนาสันต. 2553. สมรรถภาพการเจริญเติบโตและผลผลิตของฟักข้าวแหล่งพันธุ์ไทยและ เวียดนามในการเก็บเกี่ยวปีแรก. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร. 41(3/1)(พิเศษ): 1-4 (2553)
รุ่งโรจน์ ศรีรักษา, ศิริรัตน์ ดีศีลธรรม, อนุชิตา มุ่งงาม, เกษศิรินทร์ ศักดิ์วิวัฒน์กุล. 2554. ฤทธิ์การยับยั้งแบคทีเรียและคุณสมบัติการทนความร้อนของแบคเทอริโอซินที่ผลิตจากคีเฟอร์. โครงการประชุมวิชาการ เรื่อง ความงามตามธรรมชาติและสุขภาพดีผ่านวิถีวิทยาศาสตร์ความงามโครงการประชุมวิชาการ เรื่อง ความงามตามธรรมชาติและสุขภาพดีผ่านวิถีวิทยาศาสตร์ความงาม.
พรผจง เลาหวิเชียร. 2556. บัวหิมะ Kifer. มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.
ตรีชฎา อุทัยดา. 2556. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ไอศกรีมเพื่อสุขภาพจากผลผลิตทางการเกษตรในท้องถิ่น. วารสารเกษตรพระวรุณ. ปีที่ 10 ฉบับที่ 1: 43-51.
ปิ่นมณี ขวัญเมือง. 2550. คีเฟอร์: อาหารสุขภาพจากผลิตภัณฑ์นมหมัก. ภาควิชาครุศาสตร์เกษตร คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
Arbuckle, W.S. 1986. Ice Cream. 4th ed, The AVIPublishing Co., Inc.,Westport. 483.
Rosalina, P. S. and Richard W. H. 2004. Effects of Overrun on Structural and Physical Characteristics of Ice cream. Int. Dairy Journal, 14: 255–262.
A.O.A.C. 2000. Officail Methods of Analysis. The Association of official Chemists. 17th Ed., Arlington, Virginia.
กมลพิพัฒน์ ชนะสิทธิ์ ปรัชญา แพมงคล และณนนท์ แดงสังวาลย์. 2557. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ไอศกรีมโยเกิร์ตเสริมว่านหางจระเข้. รายงานการวิจัย. คณะเทคโนโลยี คหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
จันทร์วิไล วงค์ละคร. 2558. การผลิตไอศกรีมโยเกิร์ตน้ำนมข้าวกล้องไรซ์เบอรี่งอก เสริมมะม่วงหาวมะนาวโห่. ปัญหาพิเศษ สาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.