ปัจจัยเอื้อในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันและถ่ายโอนความรู้ในการสร้างคุณค่าของ SMEs ไทย

Main Article Content

มีแสน แก่นชูวงศ์
ชลภัสส์ วงษ์ประเสริฐ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเอื้อในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันและถ่ายโอนความรู้ในการสร้างคุณค่าธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SMEs โดยมีคำถามวิจัยที่สำคัญคือ ปัจจัยความสำเร็จที่ธุรกิจ SMEs ที่สร้างคุณค่าได้แก่อะไรบ้าง การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพใช้ระเบียบวิจัยปรากฏการณ์วิทยา การเลือกผู้ให้ข้อมูลหลัก โดยใช้เทคนิคสโนวบอลล์และกลุ่มตัวอย่างจากธุรกิจที่มีการปฏิบัติที่ดีเลิศก็คือธุรกิจของคนไทยที่เป็นสมาชิกของสมาคมวิสาหกิจขนาดและการย่อมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบธุรกิจส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศและได้รับรางวัลจากองค์กรเอกชนหรือหน่วยงานภาครัฐ จำนวน 7 ประเภทธุรกิจ ๆ ละ 2 องค์กร ประกอบด้วยผู้ประกอบการ 14 คนและพนักงานประจำ 19 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกพร้อมกับผู้ให้ข้อมูลหลักอย่างไม่เป็นทางการ โดยแนวคำถามที่ใช้ในการสัมภาษณ์ได้มาจากการทบทวนวรรณกรรมและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในเรื่องการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันที่ใช้แนวคิด SECI Model ของ Nonaka & Takeuchi [14] และการถ่ายโอนความรู้ที่ใช้แนวคิดของ Karl-Erik [17] และการสร้างคุณค่าที่เป็นเป้าหมายขององค์กรในมุมมอง 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านลูกค้า 2) ด้านผลิตภัณฑ์ 3) ด้านสมรรถนะ และได้ไปใช้ในการสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลให้ครอบคลุมประเด็นที่ต้องการศึกษารวมถึงมีการเปิดประเด็นการสนทนาที่ไม่ได้เตรียมการล่วงหน้าเพื่อให้เข้าถึงปรากฏการณ์เป็นไปอย่างเปิดกว้าง หลังจากนั้นได้นำเอาผลที่ได้มาสร้างกลุ่มข้อมูลและจัดหมวดหมู่เพื่อเป็นแบบในการสัมภาษณ์เชิงลึกแก่ผู้ให้ข้อมูลหลักรายต่อไป พร้อมทั้งมีการปรับปรุงแนวคำถามไปเรื่อย ๆ จนหมวดหมู่ที่สร้างนั้นเริ่มเป็นแบบแผน ทั้งนี้ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลรวมถึงเก็บรวบรวมข้อมูลที่ต้องดำเนินการควบคู่ไปด้วยกัน
ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยเอื้อในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันและถ่ายโอนความรู้ในการสร้างคุณค่าธุรกิจของ SMEs มี 2 ประเภท ดังนี้ 1) ปัจจัยภายในมีอยู่ 5 ประการ ได้แก่ 1.1) การมีเป้าหมายทางธุรกิจ 1.2) การทำตัวเป็นแบบอย่างให้แก่พนักงาน 1.3) การสร้างแรงจูงใจ 1.4) การยอมรับพนักงานที่มีความรู้มากกว่าตนเอง 1.5) การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสั่งการและการถ่ายโอนความรู้ในวิธีการทำงานในการผลิต เป็นต้น 2) ปัจจัยภายนอกมีอยู่ 5 ประการ ได้แก่ 2.1) ความสัมพันธ์ของกิจการที่ผู้ก่อตั้งมีมาก่อน 2.2) การมีผลประโยชน์ร่วมกันกับเจ้าของธุรกิจดั้งเดิม 2.3) การยอมรับเครือข่ายภายนอกผู้ที่มีความรู้มากกว่าตนเอง 2.4) องค์กรที่ให้การสนับสนุนกิจการของผู้ก่อตั้งทั้งภาครัฐ เอกชนหรือกลุ่มที่จัดตั้งของธุรกิจด้วยกันเอง 2.5) การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นต้น

Article Details

How to Cite
[1]
แก่นชูวงศ์ ม. และ วงษ์ประเสริฐ ช., “ปัจจัยเอื้อในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันและถ่ายโอนความรู้ในการสร้างคุณค่าของ SMEs ไทย ”, Crma. J., ปี 15, ฉบับที่ 1, น. 145–159, ธ.ค. 2017.
บท
บทความวิจัย

References

คณะอนุกรรมการส่งเสริมการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคการเกษตรและชนบท, 2558. คู่มือการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคการเกษตรและชนบท และด้านความมั่นคง. พิมพ์ครั้งที่ ๑

ชัชวาล วงษ์ประเสริฐ, 2548. การจัดการความรู้ใน องค์กรธุรกิจ. กรุงเทพฯ : เอ็กซเปอร์เน็ท.

สถาบันคีนันแห่งเอเชีย, 2549. คู่มือการพัฒนาคลัสเตอร์เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิต และบริการ. กรุงเทพฯ : สถาบันฯ.

สมาคมการค้าเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการเทคโนโลยีรายใหม่ (Thailand Startup Association), 2016. รายงานการศึกษาปัจจัยและข้อเสนอแนะ เพื่อพัฒนา Startup Ecosystem ในประเทศไทย (THE WHITEPAPER for STARTUP THAILAND 2016)

สํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม, 2554. แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาด ย่อมฉบับที่ 3 พ.ศ. 2555-2559. ค้นเมื่อ 2 กันยายน 2553, จาก http://www.sme.go.th/SiteCollection Documents/203.pdf

Ahmed, P.K., Lim, K.K. & Loh, A.Y.E, 2002. Learning though knowledge management. Oxford: Butterwort Heinemann.

Connell, Raewyn W, 2007. Southern Theory : The Global Dynamics of Knowledge in Social Science. Sysney: Allen & Unwin.

Davenport, T. and Prusak, L, 1998. Working Knowledge: How Organizations Manage What They Know. Bost

Davenport, T.H. and Probst, G.J.B, 2002. Knowledge Management Case Book. Weinheim, Wiley.

Dewey, John, 1938. Experience & Education. New York: Kappa Delta Pi.

Donald N. Philip, 2010. Social Network Analysis to Examine Interaction Patterns in Knowledge Building Communities.

Huggins, R. and Johnston A, 2009. Knowledge Networks in an Uncompetitive Region: SME Innovation and Growth. Growth and Change. 40(2): 2227-259.

James, T, 2012. A Blueprint for Learning and Knowledge Creation. S. Michailova and K. Husted. Knowledge Sharing Hostility in Russian Firms. California Management Review, 45(3), 59-77.

Nonaka, I. & Takeuchi, H, 1995. The knowledge creating company. New York: Oxford University Press.

Moorthy et al., 2012. A Study on Factors Affecting the Performance of SMEs in Malaysia International Journal of Academic Research in Business and Social Sciences, 2(4), 2222-699.

Okyere-Kwakye and Nor, 2011. Title Individual Factors and Knowledge Sharing, Publication title American Journal of Economics and Business Administration Publication date 2011, Volume 3, Issue 1, Pages 66-72.

Sveiby K.E, 1997. The New Organisational Wealth - Managing and measuring Knowledge Based Assets. Berrett-Koehler, San Fransisco.

Rohana Ngah, Abdul Razak Ibrahim, 2009,International Journal of Management Innovation Systems 1 (1).

Yuen, A.J.K. and Ma, W.W.K, 2004. Knowledge sharing and teacher acceptance of web based learning system. In R. Atkinson, C. McBeath, D. Jonas-Dwyer & R. Phillips (Eds). Beyond the comfort zone: Proceedings of the 21st ASCILITE Conference. (pp. 975-983). Perth, 5-8 December. http://www.ascilite.org.au/conferences/perth04/procs/yuen.html