การพัฒนาระบบฐานความรู้ด้านการแกะสลักไม้ กรณีศึกษากลุ่มช่างแกะสลักในอำเภอหางดงและสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของการแกะสลักไม้ และพัฒนาระบบฐานความรู้ด้านการแกะสลักไม้ โดยใช้กรณีศึกษากลุ่มช่างแกะสลักในอำเภอหางดงและสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ งานวิจัยชิ้นนี้ใช้แนวทางการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative approach) โดยใช้วิธีวิเคราะห์เอกสาร การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึกและแบบมีโครงสร้าง โดยผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ คือ 1) สภาพปัจจุบันของการแกะสลักไม้และสินค้าหัตถกรรมในเขตพื้นที่อำเภอหางดงและอำเภอสันป่าตอง พบว่า ยังมีการรวมกลุ่มวิสาหกิจ แต่จำนวนช่างแกะสลัก รวมถึงร้านค้ามีอัตราลดลงอย่างต่อเนื่อง ช่างแกะสลักรุ่นใหม่มีจำนวนน้อยลงมาก 2) การจัดระบบความรู้ ผู้วิจัยดำเนินตามหลักการจัดระบบความรู้ (Knowledge organization) โดยเลือกใช้วิธีการจัดหมวดหมู่ (Classification approach) โดยการกำหนดหัวข้อเนื้อหาใหญ่ (Main topic) ตามกรอบหลักการจัดระบบความรู้เพื่อให้ได้แนวทางและแนวคิดเชิงทฤษฎีของระบบการจัดระบบความรู้ สามารถจัดกลุ่มความรู้เป็นหมวดหมู่ต่างๆ ได้แก่ เครื่องมือ/อุปกรณ์ที่ใช้ในการแกะสลัก ประเภทไม้ที่ใช้ในการแกะสลัก วิธีการ/กระบวนการแกะสลัก เทคนิค ลวดลายของไม้แกะสลักที่เป็นเอกลักษณ์ และรายชื่อช่างแกะสลักที่เชี่ยวชาญ (ครูช่าง) 3) การออกแบบระบบฐานความรู้ด้านการแกะสลักไม้ ผู้วิจัยได้ใช้ UML Diagram ในการออกแบบระบบฐานความรู้ด้านการแกะสลักไม้ โดยใช้ Data flow diagram, Use case diagram, Class diagram และ Activity diagram และออกแบบหน้าจอในส่วนผู้ใช้ โดยทำการแบ่งแยกเป็นส่วนผู้ใช้ทั่วไป และผู้ใช้ที่มีสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลที่ต้องแสดงตัวตน และพัฒนาระบบฐานความรู้ด้านการแกะสลักไม้ โดยผลการประเมินการใช้งานระบบผู้วิจัยอยู่ในเกณฑ์ดี
Article Details
ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ
References
กรมวิชาการ, 2540. ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการจัดการเรียนการสอนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.
กระทรวงวัฒนธรรม, 2559. มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม สมบัติล้ำค่าที่ควรอนุรักษ์. สืบค้น 4 มีนาคม 2560. จาก https://www.m-culture.go.th/surveillance/ ewt_news.php?nid=1275&filename=index.
ชัยวัฒน์ นันทศรี, 2556. รูปแบบการจัดการความรู้สําหรับบริษัทที่ปรึกษาไทย. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสารสนเทศศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
บดินทร์ วิจารณ์, 2547. การจัดการความรู้ สู่ปัญญาปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.
บุญดี บุญญากิจ และคณะ, 2547. การจัดการความรู้: จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: จิรวัฒน์ เอ็กซ์ เพลส.
ประยทุธ สุรเดชไพบูลย์, 2539. การศึกษาการรับรู้และสภาพการดำเนินงานส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นของการศึกษาอำเภอ ในเขตการศึกษา 7. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.
พรอนันต์ เอี่ยมขจรชัย และลำปาง แม่นมาตย์, 2556. ระบบการจัดระบบความรู้ด้านวัฒนธรรม : Cultural Knowledge Organization System. วารสารสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
มาลี กาบมาลา, 2559. แนวทางการศึกษาการจัดระบบความรู้ภูมิปัญญา : Approach to study of Indigenous Knowledge Organization. วารสารสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วิจารณ์ พาณิชย์, 2547. การจัดการความรู้. สืบค้น 12 เมษายน 2560, จาก http://kmi.irf.or.th/Document /AboutKM/KM_Articale.pdf.
สมจิต พรหมเทพ, 2543. รายงานการวิจัยการใช้บริการภูมิปัญญาชาวบ้านของประชาชนชนบท = Using the local wisdom of people in rural areas. เชียงใหม่: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฎเชียงใหม่.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2547. ครูภูมิปัญญาไทย รุ่นที่ 3 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. กรุงเทพฯ :สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้
เอกวิทย์ ณ ถลาง, 2540. ภูมิปัญญาชาวบ้าน 4 ภูมิภาค: วิถีชีวิตและกระบวนการเรียนรู้ของชาวบ้านไทย. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Broughton, V., Hansson, J., Hjørland, B., and López-Huertas, M. J., 2005. Knowledge organization.In L. Kajberg & L. Lørring, (Eds.). European curriculum reflections on library and information science educa tion.
CEN, 2004. European guide to good practice in knowledge management-part1: knowledge manag ement framework. Retrieved April 12, 2017, from http ://cenftp1.cenorm.be/PUBLIC/CWAs/e-Europe/KM/ CWA14924-01-2004-Mar.pdf.
Chan, L.M., 1985. Cataloging and classifica tion: an introduction. New York: McGraw-Hill Book.
Choo, S.W., 2002. Information management for the intelligence organization: The art of scanning in the environment. 3 ed. Medford New Jersey: Infor mation Today, Inc.
Geertz, Clifford, 1983. Local Knowledge: Further Essays in Interpretive Anthropology. New York : Basic Books.
Henry, D.S., 2003. Knowledge management in a professional service firm. Ph.D. dissertation, department of instructional systems technology, Indiana University.
Hjørland, B., 1994. Nine principles of knowledge organization. Retrieved March 21, 2017, from http://arizona.openrepository.com/arizona/han dle/ 10150/106195
Hodge, G., 2000. Systems of knowledge organization of digital libraries: beyond traditional authorityfiles. Washington, D.C.: Digital Library Federa tion
Huang, J.C., and Newell, S., 2003. Knowledge integration processes and dynamics within the con text of cross-functional projects. International Journal of Project Management.
Jansoon, S., 1995. Popular Wisdom and Rural Development. (In Thai). Bangkok: Moobaan publishe.
Keyes, Charles F., 1978. Ethnography and Anthropological Interpretation in the Study of Thai land .N.P.: n.p.
Marquardt, 2005. Building the learning organization: mastering the 5 elements for corporate learning black publishing. A division of CCP, Inc Califor nia. U.S.A.
Na Talang, A, 2001. Isan Wisdom. (In Thai). Bangkok: Amarin Printing.
Nonaka, I., and Takeuchi, H., 1995. The Knowledge-Creating Company, How Japanese Com panies Create the Dynamics of Innovation. England: Oxford University.
Ramitanondh, C., 1994.Culture and Biodi versity. In Wiwat Katitamnith Editor. Biodiversity and Sustainability. (In Thai). 2nd ed. Bangkok: Local insti tutions.
Sveiby, 2001. A knowledge-based theory of the firm to guide in strategy formulation. Journal of intellectual capital.
Taylor, A.G., 2004. The Organization of information. Westport, CT: Libraries Unlimited.
Uddin, M.N., Islam, M.M., &Haque, K.M.G., 2006. Information description and discovery method using classification structures in web. Malaysian Journal of Library and Information Science
Wasee, P., 1993. National Education and Local Wisdom, Folk Wisdom and Rural Development. (In Thai) 2nd ed. Bangkok: Amarin Printing and publishe.
Wiig, K.M., 1993. Knowledge Management Foundation. [n.p.]: Scheme Press.