การออกแบบและสร้างชุดปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ระบบ Nutrient Flow Technique แบบประหยัด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ระบบ Nutrient Flow Technique (NFLT) เป็นนวัตกรรมทางการเกษตร ช่วยประหยัดเวลาในการเพาะปลูก แต่มีข้อจำกัดในเรื่องต้นทุนโครงสร้างของชุดปลูกค่อนข้างสูง และต้องใช้กระแสไฟฟ้าในการทำงานของปั๊มเพื่อขับเคลื่อนสารละลายธาตุอาหารผ่านรากพืชตลอด 24 ชั่วโมง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและสร้างชุดปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ระบบ NFLT แบบประหยัด และเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของชุดปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ระบบ NFLT ทั้ง 3 แบบ ที่สร้างขึ้นต่อการเจริญเติบโตของผักไฮโดรโปนิกส์ ทำการศึกษาโดยออกแบบชุดปลูก NFLT ขนาด 20 ช่องปลูก ความกว้าง 70 ซม. ยาว 85 ซม. สูง 1.80 เมตร จำนวน 3 แบบ คือ รางปลูกมีความสูงของทางลงน้ำด้านท้ายรางแตกต่างกัน 3 ระดับ คือ 5 มม., 10 มม. และ 15 มม. และนำชุดปลูกผักทั้ง 3 แบบ มาทดลองปลูกผักไฮโดรโปนิกส์จำนวน 3 ชนิด ได้แก่ เรดโอ๊ค เรดปัตตาเวีย และบัตเตอร์เฮด โดยเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของผักกับชุดปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ระบบ NFT ผลการศึกษาพบว่าประสิทธิภาพของชุดปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
ระบบ NFLT ที่มีความสูงของทางลงน้ำ 15 มม. ทำให้น้ำหนักสดของผักเรดโอ๊คและเรดปัตตาเวีย แตกต่างจากชุดปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ระบบ NFLT ที่มีความสูงของทางลงน้ำ 5 มม. 10 มม. และชุดปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ระบบ NFT อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ไม่ทำให้น้ำหนักสดของผักบัตเตอร์เฮดแตกต่างกัน และไม่ทำให้การเจริญเติบโตด้านความยาวรากและจำนวนใบของผักทั้ง 3 ชนิดแตกต่างกันทางสถิติ
Article Details
ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ
References
คงเอก ศิริงาม. (2557). อิทธิพลของพันธุ์ผักกาดหอมและกำลังไฟฟ้าของปั๊มต่อการเจริญเติบโตของผักกาดหอมที่ปลูกบนชั้นปลูกพืชไฮโดรพอนิกส์รูปทรงสามเหลี่ยม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
เจตพล คงดี. (2555). ทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อผักไฮโดรโปนิกส์ในอำเภอเมืองเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์,มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ดิเรก ทองอร่าม. การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดีการพิมพ์, 2550.
ประเทือง อุษาบริสุทธิ์ และคณะ. (2550). การศึกษาเปรียบเทียบการปลูกผักไม่ใช้ดินด้วยรางพลาสติก กระเบื้องลอนคู่และท่อพีวีซี. วิศวกรรมสาร มก, 21 (ส.ค.-พ.ย. 2550), 64-70.
มนูญ ศิรินุพงศ์. การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สยามคัลเลอร์พรินท์, 2556.
สุรินทร์ เหล่าสุขสถิตย์. (2550). ภาวะโลกร้อน Global Warming. วิทยาศาสตร์ประยุกต์, 6 (มิ.ย. – พ.ย. 2550), 90–103.
อารีย์ เสนานันท์สกุล. (2540). การคัดเลือกเทคนิคที่เหมาะสมในการปลูกพืชโดยวิธีไฮโดรโปนิกส์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.