การออกแบบหลักเกณฑ์การประเมินผลงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์ทางการทหารเพื่อบ่งชี้ศักยภาพในการผลิต: กรณีศึกษาด้านอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพบกไทย

Main Article Content

สราวุฒิ คงรอด
ศันสนีย์ สุภาภา
พัชราภรณ์ ญาณภิรัต

บทคัดย่อ

ด้วยงบประมาณที่จำกัดและไม่แน่นอนของรัฐบาล โครงการวิจัยและพัฒนาที่มีนโยบายการพึ่งพาตนเองจึงถือเป็นกุญแจสำคัญของกองทัพบกไทย การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบหลักเกณฑ์การประเมินผลงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์ เพื่อให้สามารถต่อยอดไปสู่การผลิตและใช้ประโยชน์ทางการทหารของกองทัพบกไทย โดยเสนอเกณฑ์สำหรับการประเมินความสามารถของโครงการวิจัยและยุทโธปกรณ์ของกองทัพบกไทย ที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทัพบกไทยในการเสริมสร้างนโยบายการพึ่งพาตนเองในด้านศักยภาพการผลิต โดยมีขั้นตอนการวิจัยเริ่มจากรวบรวมข้อมูลหลักเกณฑ์การประเมินผลงานวิจัยและพัฒนาทางทหารด้านยุทโธปกรณ์ที่กองทัพบกใช้ จากนั้นทำการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องกับสายงานการประเมินผลงานวิจัยและพัฒนาทางทหาร ผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งผู้บริหารของกองทัพบก เพื่อเชื่อมโยงวิสัยทัศน์และนำมาพิจารณาหลักเกณฑ์การประเมินรวมทั้งตรวจสอบความตรงของเนื้อหาและประมวลผลแบบสอบถามเกี่ยวกับเกณฑ์ที่เหมาะสม และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้นโดยการออกเสียงเพื่อจัดอันดับความสำคัญในการคัดเลือกหลักเกณฑ์การประเมินและกำหนดน้ำหนักความสำคัญของแต่ละหลักเกณฑ์ ผลการวิจัยสามารถสรุปหลักเกณฑ์การประเมินหลักได้ 4 เกณฑ์ คือ 1) ด้านหลักทางยุทธวิธี 2) ด้านหลักการส่งกำลังบำรุง 3) ด้านหลักวิชาด้านวิทยาศาสตร์และ วิศวกรรมศาสตร์ 4) ด้านความมีมาตรฐานเปรียบเทียบ และหลักเกณฑ์รองจำนวน 15 เกณฑ์ สุดท้ายได้ตรวจสอบความเหมาะสมของการประเมินโดยจัดทำแบบประเมินผลสำหรับทดสอบกับผลงานวิจัยทางทหารที่ผ่านมา และให้ผู้เชี่ยวชาญสายงานการประเมินมาตรฐานผลงานวิจัยประเมินผลงานฯ และวิจารณ์แบบประเมิน ซึ่งพบว่า แบบประเมินใหม่มีความครอบคลุมในหัวข้อหลักเกณฑ์การประเมินเนื่องจากมีค่าน้ำหนักที่แสดงความสำคัญของแต่ละหลักเกณฑ์ อีกทั้งค่าคะแนนที่ผู้ประเมินให้นั้นทำให้ทราบถึงความพอใจของผู้ประเมินที่มีต่อผลงานได้อย่างชัดเจนซึ่งจะนำไปสู่กระบวนการคัดเลือกต้นแบบของผลงานวิจัยไปทดลองใช้และนำสู่สายการผลิตได้ต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

How to Cite
[1]
คงรอด ส., สุภาภา ศ., และ ญาณภิรัต พ., “การออกแบบหลักเกณฑ์การประเมินผลงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์ทางการทหารเพื่อบ่งชี้ศักยภาพในการผลิต: กรณีศึกษาด้านอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพบกไทย”, Crma. J., ปี 15, ฉบับที่ 1, น. 61–77, ธ.ค. 2017.
บท
บทความวิจัย

References

กองนโยบายและแผน สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหาร, บันทึกข้อความ เรื่อง นโยบายการวิจัยและพัฒนาการทางทหาร พ.ศ. 2557–2559. 27 ธันวาคม 2556.

Taheria A., D. Cavalluccia and D. Ogeta, 2015. Measuring the efficiency of inventive activities along inventive projects in R&D. Procedia Engineering, 131: 561 – 568.

Bhattacharyya, R., 2015. A grey theory based multiple attribute approach for R & D project portfolio selection. Fuzzy Information and Engineering, 7: 211 - 225.

Karasakal, E. and P. Aker, 2016. A multicriteria sorting approach based on data envelopment analysis for R&D project selection problem. Omega. [Online] http://dx.doi.org/10.1016/ j.omega.2016.12.006i

Huanga, C.-C., P.-Y. Chub, and Y.-H. Chiang, 2008. A fuzzy AHP application in government-sponsored R&D project selection. Omega, 36: 1038 – 1052.

Barragán-Ocaña, A. and J. Zubieta-García, 2013. Critical Factors toward Successful R&D Projects in Public Research Centers: a Primer. Journal of Applied Research and Technology 11 (6): 866-875.

Purvis, R. L. and G.E. McCray, 1999. Project Assessment: A Tool for Improving Project Management. Information Systems Management Winter 1999. 16(1): 55-60.

พิสณุ ฟองศรี, 2551. เทคนิควิธีประเมินโครงการ. พิมพ์ครั้งที่ 5. บริษัท พรอพเพอร์ตี้พริ้นท์ จำกัด, กรุงเทพฯ

Lawshe, C.H., 1975. A quantitative approach to content validity. Personnel Psychology 28: 563-575.

Dweiri, F., S. Kumar, S. A. Khan and V. Jain, 2016. Designing an integrated AHP based decision support system for supplier selection in automotive industry. Expert Systems with Applications 62: 273 – 283.

Chin, K.-S., D.-l. Xu, J.-B. Yang and J. P.-K. Lam, 2008. Group-based ER–AHP system for product project screening. Expert Systems with Applications 35: 1909–1929.

Azadeh, A., A. Keramati and M. J. Songhori, 2009. An integrated Delphi/VAHP/DEA framework for evaluation of information technology/information system (IT/IS) investments. Int J Adv Manuf Technol. 45: 1233–1251.

Liu, F.-H.F. and H.L. Hai, 2005. The voting analytic hierarchy process method for selecting supplier. Int. J. Production Economics 97: 308-317.

พ.ท.วสันต์ พัฒน์วิชัยโชติ, 2554, การทดสอบแปเหล็กขึ้นรูปเย็นลักษณะรูปหมวก ในโครงหลังคา เพื่อหาความสามารถในการรับน้ำหนัก, วารสารวิชาการ สภาอาจารย์ ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า.

พ.อ.ปรัชญา เฉลิมวัฒน์, 2551, ต้นแบบเชิงหลักการชุดเครื่องแม่ข่ายความปลอดภัยสูงและระบบเครือข่ายไร้สายแบบตาข่าย, วารสารวิชาการ สภาอาจารย์ ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า.

พ.อ.ปรัชญา เฉลิมวัฒน์, 2551, ต้นแบบเครื่องดักฟังเสียงระยะไกลสำหรับปฏิบัติการข่าว, วารสารวิชาการ สภาอาจารย์ ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า.

พ.อ.เผดิม หนังสือ, 2556, การพัฒนาต้นแบบอุปกรณ์ในการส่งและอุปกรณ์ในการรับข้อมูลดิจิตอลสำหรับวิทยุทางทหารรุ่น AN/PRC-77, วารสารวิชาการ สภาอาจารย์ ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า.