การออกแบบและพัฒนาระบบแจ้งเตือนและป้องกันภัยทางอากาศระดับยุทธวิธี

Main Article Content

ผเดิม หนังสือ

บทคัดย่อ

บทความฉบับนี้นำเสนอผลการออกแบบและพัฒนาระบบงานแจ้งเตือนและป้องกันภัยทางอากาศของหน่วยระดับยุทธวิธี ซึ่งครอบคลุมกองพัน กองร้อย หมวด และหน่วยยิง ผลจากการวิเคราะห์ระบบที่เป็นอยู่นำไปสู่การออกแบบและพัฒนาระบบที่สามารถปฏิบัติภารกิจได้รวดเร็วขึ้นและมีข้อมูลที่ตอบสนองต่อภารกิจมากขึ้น เช่นสามารถทราบข้อมูลอากาศยานที่อยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบได้มากขึ้น มีข้อมูลสภาพการแจ้งเตือนภัยทางอากาศ (Air Warning) และระดับการเตรียมพร้อมป้องกันภัยทางอากาศ (DEFCON) ข้อมูลแผนที่ทางทหารที่แสดงผลในรูปแบบ 3 มิติ ซึ่งสนับสนุนการสร้าง Terrain Profile ของภูมิประเทศจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ข้อมูลเขตพื้นที่รับผิดชอบและเส้นประกอบแผนทางยุทธวิธี เจ้าหน้าที่สามารถคัดกรองข้อมูลและแบ่งมอบเป้าหมายให้แต่ละหน่วยรองตามความเหมาะสม ระบบได้รับการพัฒนาให้สนับสนุนมาตรฐานสัญลักษณ์ทางทหาร MIL-STD-2525C เพื่อความเป็นสากลและความง่ายในการเรียนรู้การใช้งาน ในการฝึกเจ้าหน้าที่ให้เกิดความเชี่ยวชาญระบบมีฟังก์ชัน Check Mode ที่สามารถตรวจสอบสถานะการเชื่อมต่อของหน่วยรองและฟังก์ชันการจำลองการบินของอากาศยาน

Article Details

How to Cite
[1]
หนังสือ ผ., “การออกแบบและพัฒนาระบบแจ้งเตือนและป้องกันภัยทางอากาศระดับยุทธวิธี”, Crma. J., ปี 15, ฉบับที่ 1, น. 13–25, ธ.ค. 2017.
บท
บทความวิจัย

References

Wikipedia, 2017. Internet of things [Online] https://en.wikipedia.org/wiki/Internet_of_things

พลเรือเอก ทวีวุฒิ พงศ์พิพัฒน์, 2555. เรือรบยุคใหม่กับการปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง(NCO). นาวิกศาสตร์ 12:23.

C4I.org, 2003. What is C4I? [Online] http://www.c4i.org/whatisc4i.html

นุกูล ทวีศักดิ์, 2543. การพัฒนาโปรแกรมต้นแบบเพื่อการกรองข้อมูลและขจัดความซ้ำซ้อนของอากาศยานในพื้นที่ของระบบเรดาร์หลายเครื่อง. วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พ.ท. ผเดิม หนังสือ และคณะ, 2552. รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการจ้างวิเคราะห์ความต้องการข้อมูลที่จะใช้อำนวยการยุทธของกองทัพไทย เอกสารส่งมอบเล่มที่1 : ภาพรวมของโครงการ

พ.ท. ผเดิม หนังสือ และคณะ, 2552. รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการจ้างวิเคราะห์ความต้องการข้อมูลที่จะใช้อำนวยการยุทธของกองทัพไทย เอกสารส่งมอบเล่มที่4 : ความต้องการข้อมูลที่จะใช้แลกเปลี่ยนในการอำนวยการยุทธของกองทัพไทย

Sanders, A Lockheed Company, 1988. IWD System Operation and Maintenance Instructions for Self-Propelled or Towed Vulcan. P/N 4038607, USA

อภิชาติ พะวงผล, 2544. การพัฒนาระบบประเมินภัยคุกคามจากข้อมูลติดตามอากาศยานเพื่อการแจ้งเตือนภัยทางอากาศของกองทัพบก. วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศักดิ์ชัย พงคพนาไกร, 2543. การพัฒนาระบบแจ้งเตือนและป้องกันภัยทางอากาศสำหรับ ร้อย ปตอ. วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Bing Maps Platform. [Online] https://en.wikipedia.org/wiki/Bing_Maps_Platform

กรมแผนที่ทหาร [Online] https://www.rtsd.mi.th/main/ประชาสัมพันธ์/หน้าแรก/

Department of Defense, 2008. Common Warfighting Symbology MIL-STD-2525C. USA.

สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์กรมหาชน), 2552. ตำราเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศศาสตร์ กรุงเทพฯ : บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิง จำกัด (มหาชน)

National Aeronautics and Space Administration. NASA WorldWind [Online] https://worldwind.arc.nasa.gov/

MBed.org, mbed LPC1768 [Online] https://developer.mbed.org/platforms/mbed-LPC1768/

u-blox.com, UBX-M8030 u-blox M8 concurrent GNSS chips [Online] https://evk-download.u-blox.com/images/downloads/Product_Docs/UBX- M8030_ProductSummary_(UBX-13002862).pdf

Omron, Rotary Encoder (Incremental) [Online] http://www.omron-pro.ru/doc/sensor/encoder/e6a2.PDF