การถ่ายทอดเทคโนโลยีประยุกต์ใช้น้ำยางพาราในงานบำรุงรักษาระบบชลประทาน

Main Article Content

พีรวัฒน์ ปลาเงิน
ชวน จันทวาลย์
สมพร พิบูลย์
ฐกลพัศ เจนจิวัฒนกุล

บทคัดย่อ

การถ่ายทอดเทคโนโลยีประยุกต์ใช้น้ำยางพาราในงานบำรุงรักษาระบบชลประทาน มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้น้ำยางพาราในงานซ่อมแซมคลองชลประทานให้กับผู้เข้าร่วมถ่ายทอดเทคโนโลยีและเป็นการเผยแพร่ผลงานวิจัยและนวัตกรรมสู่กลุ่มเป้าหมายที่มีศักยภาพในการนำไปใช้ประโยชน์ โดยมีการสังเคราะห์องค์ความรู้จากผลการวิจัย (1) การพัฒนาวัสดุเคลือบผิวคลองผสมน้ำยางพาราสำหรับใช้บำรุงรักษาคลองชลประทาน (2) การพัฒนาสูตรมอร์ต้าผสมน้ำยางพาราสำหรับใช้เป็นตัวเชื่อมประสานรอยร้าวในคลองส่งน้ำชลประทาน (3) ศึกษาการรั่วซึมของน้ำในแบบจำลองคลองชลประทานผสมน้ำยางพารา และนำผลการสังเคราะห์องค์ความรู้จัดทำคู่มือการถ่ายทอดเทคโนโลยี
การถ่ายทอดเทคโนโลยีภาคทฤษฏีประกอบด้วย ความรู้ทั่วไปของระบบส่งน้ำชลประทาน, การบำรุงรักษาคลองส่งน้ำชลประทาน, ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับน้ำยางและองค์ประกอบต่างๆ ในน้ำยางพารา และการพัฒนาสูตรมอร์ต้าและวัสดุเคลือบผิวคลองผสมน้ำยางพารา การถ่ายทอดเทคโนโลยีภาคปฏิบัติได้ทำการสาธิตวิธีการเตรียมส่วนผสมต่างๆ ของวัสดุเคลือบผิวคลองและมอร์ต้าผสมน้ำยางพารา และได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ประกอบด้วยขั้นตอนและวิธีการผสมมอร์ต้าและวัสดุเคลือบผิวคลองสำหรับใช้บำรุงรักษาระบบคลองชลประทาน และสาธิตวิธีการใช้มอร์ต้าผสมน้ำยางพาราเพื่อใช้ซ่อมแซมคลองชลประทานในพื้นที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่ยม จังหวัดแพร่ จากผลการสาธิตการซ่อมแซมคลองชลประทานด้วยวัสดุเคลือบผิวและมอร์ต้าผสมน้ำยางพาราในภาคสนาม ผู้เข้าร่วมการถ่ายทอดเทคโนโลยีมีความสนใจเป็นอย่างยิ่งจะนำความรู้ที่ได้จากการถ่ายทอดในครั้งนี้ไปซ่อมแซมคลองในพื้นที่ไร่นาของตนเอง

Article Details

How to Cite
[1]
ปลาเงิน พ., จันทวาลย์ ช., พิบูลย์ ส., และ เจนจิวัฒนกุล ฐ., “การถ่ายทอดเทคโนโลยีประยุกต์ใช้น้ำยางพาราในงานบำรุงรักษาระบบชลประทาน”, Crma. J., ปี 14, ฉบับที่ 1, น. 117–129, ธ.ค. 2016.
บท
บทความวิจัย

References

พีรวัฒน์ ปลาเงิน, 2558, รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ “การพัฒนาวัสดุเคลือบผิวคลองผสมน้ำยางพาราสำหรับใช้บำรุงรักษาคลองชลประทาน” สำนักงานคณะกรรมวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

พีรวัฒน์ ปลาเงิน, 2558, รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ “การประยุกต์ใช้น้ำยางพาราและดินซีเมนต์พัฒนาสระน้ำต้านภัยแล้ง” สำนักงานคณะกรรมวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

พีรวัฒน์ ปลาเงิน, 2555, รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ “การพัฒนาสูตรมอร์ต้าผสมน้ำยางพาราสำหรับใช้เป็นตัวเชื่อมประสานรอยร้าวในคลองส่งน้ำชลประทาน” โครงการวิจัยแห่งชาติ: ยางพารา, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

พีรวัฒน์ ปลาเงิน, 2549, รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ “การศึกษาการรั่วซึมของน้ำในแบบจำลองคลองชลประทานผสมน้ำยางพารา” โครงการวิจัยแห่งชาติ : ยางพารา, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

พีรวัฒน์ ปลาเงิน, ชวน จันทวาลย์, 2559, รายงานการวิจัยและการพัฒนาวิจัยการเกษตรฉบับสมบูรณ์ “การพัฒนาคลองชลประทานผสมน้ำยางพาราสำหรับใช้ในระบบชลประทานไร่นา” สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) : สวก..

พีรวัฒน์ ปลาเงิน, ฐกลพัศ เจนจิวัฒนกุล, สมพร พิบูลย์, 2559, รายงานกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย “การถ่ายทอดเทคโนโลยีประยุกต์ใช้น้ำยางพาราในงานบำรุงรักษาระบบชลประทาน” สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) .

พีรวัฒน์ ปลาเงิน, สมศักดิ์ ชินวิกกัย, 2555, พัฒนามอร์ต้าผสมน้ำยางใช้เป็นตัวเชื่อมประสานรอยร้าวในคลองส่งน้ำชลประทาน, การประชุมวิชาการคอนกรีตประจำปี ครั้งที่ 8, 22-24 ตุลาคม, 2555 พัทยา จ.ชลบุรี.

พีรวัฒน์ ปลาเงิน, 2549, การศึกษาการสูญเสียน้ำเนื่องจากการรั่วซึมในแบบจำลองคลองชลประทานผสมน้ำยางพารา” วิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยสยาม, ปีที่ 7, ฉบับที่ 12, มกราคม – มิถุนายน, หน้า 57 – 61.

พีรวัฒน์ ปลาเงิน, 2559, คู่มือการประยุกต์ใช้น้ำยางพาราในงานบำรุงรักษาระบบชลประทาน, สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กรุงเทพฯ.

กอบเกียรติ ผ่องพุฒิ, 2542, การบำรุงรักษาและปฏิบัติการชลประทาน. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.

วราภรณ์ ขจรไชยกูล (2554) เอกสารประกอบการบรรยาย “โครงการถ่ายทอดความรู้วิชาการพื้นฐานด้านยางพาราสำหรับนักวิจัยเพื่อพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัยยางพารา” 3 – 6 สิงหาคม 2554.

วราภรณ์ ขจรไชยกุล, 2549, “ยางธรรมชาติ : การผลิตและการใช้งาน” สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย พิมพ์ครั้งที่ 1 สิหาคม 2549.