แนวทางการพัฒนาศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์อัจฉริยะทางทหารตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อยกระดับเกษตรกรรมไทยด้วยนวัตกรรม

Main Article Content

ปรัชญา อารีกุล

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อนำเสนอแนวทางให้เป็นไปตามกรอบขั้นตอนระเบียบวิธีตามหลักวิชาการ โดยการศึกษาสภาพ วิเคราะห์ ออกแบบ และพัฒนาแนวทางการพัฒนาศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์อัจฉริยะทางทหารตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับเกษตรไทยด้วยนวัตกรรม โดยนำเสนอในประเด็นต่างๆ ดังต่อไปนี้ 1) สภาพปัญหาความต้องการศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์อัจฉริยะ 2) การวิเคราะห์ และออกแบบโครงการย่อยศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์อัจฉริยะ 3) แนวทางการพัฒนาศูนย์เรียนรู้เกษตรอัจฉริยะ โดยการวิจัยนี้ได้ผลนำไปสู่โครงการย่อย 6 โครงการ ได้แก่ 1) การสร้างวิสาหกิจชุมชน 2) มะยงชิดโมเดล 3) ต้นแบบเกษตรอัจฉริยะ 4) นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางชีวภาพ 5) ระบบจัดการความรู้ทางด้านการเกษตร 6) การจัดงานด้านพลังงานในทางทหารและทางการเกษตร จากการศึกษาสามารถเป็นต้นแบบพัฒนาศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์อัจฉริยะทางทหารตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับเกษตรไทยด้วยนวัตกรรม

Article Details

How to Cite
[1]
อารีกุล ป., “แนวทางการพัฒนาศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์อัจฉริยะทางทหารตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อยกระดับเกษตรกรรมไทยด้วยนวัตกรรม ”, Crma. J., ปี 14, ฉบับที่ 1, น. 101–116, ธ.ค. 2016.
บท
บทความวิจัย

References

สำนักปลัดกระทรวงกลาโหม, 2559. หลักเมือง. ฉบับ มีนาคม ข่าวสารของสำนักปลัดกระทรวงกลาโหม, สำนักปลัดกระทรวงกลาโหม.

รศ.ดร.เกรีงศักดิ์ เม่งอำพัน และคณะ, 2556. การเพาะเลี้ยงปลาบึกและปลาหนังลูกผสมบึกสยามแมโจเพื่อเปนแนวทางในการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน. คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

อานัฐ ตันโช, 2551. เทคนิคการผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินจากขยะอินทรีย์และวัสดุเหลือใช้ทาง การเกษตร, โครงการกองทุนปุ๋ยอินทรีย์และไฮโดรโพนิคส์ มูลนิธิโครงการหลวง.