การเผยแพร่ภูมิปัญญาด้านวัฒนธรรมศิลป์เครื่องแขวนดอกไม้ไทยด้วยระบบสื่อเสมือนจริง

Main Article Content

สุมิตรา นวลมีศรี
ปรีดาวรรณ เกษเมธีการุณ
ลาภ พุ่มหิรัญ
อภิชาติ สอนอ่อง
อิสรา นาวาโยธิน
ธนพล ภู่เอี่ยม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ได้พัฒนาระบบสื่อเสมือนจริงภูมิปัญญาด้านวัฒนธรรมศิลป์เครื่องแขวนดอกไม้ไทยด้วยระบบสื่อเสมือนจริง เทคโนโลยีเสมือนจริงมาประยุกต์ใช้เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาด้านวัฒนธรรมศิลป์เครื่องแขวนดอกไม้ไทยด้วยระบบสื่อเสมือนจริง จากนั้นทำการประเมินสื่อเสมือนจริงที่พัฒนาขึ้นด้วยการวิเคราะห์ความสอดคล้องของเนื้อหา (IOC) โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน พบว่าค่า IOC มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.88 ซึ่งบ่งชี้ได้ว่าสื่อเสมือนจริงภูมิปัญญาด้านวัฒนธรรมศิลป์เครื่องแขวนดอกไม้ไทยที่พัฒนาขึ้นสอดคล้องกับเนื้อหา สามารถสื่อความหมายได้อย่างถูกต้อง และนำสื่อเสมือนจริงที่พัฒนาขึ้นไปเผยแพร่ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาด้านวัฒนธรรมศิลป์เครื่องแขวนดอกไม้ไทยให้แก่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน พบว่าผลการเรียนรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาด้านวัฒนธรรมศิลป์เครื่องแขวนดอกไม้ไทยด้วยระบบสื่อเสมือนจริงของกลุ่มตัวอย่างเพิ่มขึ้นจากการเปรียบเทียบความแตกต่างแบบทดสอบการเรียนรู้ทั้งก่อนหลังการใช้งานระบบสื่อเสมือนจริงเครื่องแขวนดอกไม้ไทย ด้วยการทดสอบสมมติฐาน พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และประเมินประสิทธิภาพด้วยความพึงพอใจของผู้เข้าอบรมต่อสื่อเสมือนจริงสำหรับภูมิปัญญาด้านวัฒนธรรมศิลป์เครื่องแขวนดอกไม้ไทย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.80 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานที่ 0.40 กล่าวได้ว่า สื่อเสมือนจริงที่พัฒนาขึ้น ช่วยให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพดีขึ้น

Article Details

How to Cite
[1]
นวลมีศรี ส., เกษเมธีการุณ ป., พุ่มหิรัญ ล., สอนอ่อง อ., นาวาโยธิน อ., และ ภู่เอี่ยม ธ., “การเผยแพร่ภูมิปัญญาด้านวัฒนธรรมศิลป์เครื่องแขวนดอกไม้ไทยด้วยระบบสื่อเสมือนจริง”, Crma. J., ปี 14, ฉบับที่ 1, น. 35–47, ธ.ค. 2016.
บท
บทความวิจัย

References

ณภัทร ทองแย้ม, (2552). เครื่องแขวนดอกไม้ไทย, กรุงเทพฯ:วาดศิลป์.

กิตติศักดิ์ ธรรมศักดิ์ชัย และ อุดมศักดิ์สาริบุตร, (2558). การศึกษาและพัฒนาของที่ระลึก จากเครื่องแขวนไทย, วารสารวิชาการศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 6(1) : 149-160.

พิทย์ภัสร์ เชี่ยวชลาคม, (2555). การศึกษาเครื่องแขวนดอกไม้สดเพื่อออกแบบตกแต่งภายในศูนย์นันทนาการของผู้สูงอายุ, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เยาวลักษณ์ เตียรณบรรจง และคณะ, (2544). ความรู้เกี่ยวกับสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา, กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

กมล จิราพงษ์, (2555). การส่งเสริมศิลปวัฒธรรมไทยด้วยเทคโนโลยีโลกเสมือนจริง กรณีศึกษา โครงการไทยแลนด์แพลเน็ต, มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ณัฐวี อุตกฤษฎ์ และ นวพล วงศ์วิวัฒน์ไชย, (2555). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมเพื่อช่วยในการสอนเรื่องตัวอักษรภาษาอังกฤษ A-Z, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ณัฏฐ์ ดิษเจริญ และคณะ, (2557). การพัฒนาสื่อการเรียนรู้เรื่องโครงสร้างอะตอมและพันธะเคมีด้วยเทคโนโลยีออกเมนเต็ดเรียลลิตี้, วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้, 5(1): 21-27.

วสันต์ เกียรติแสงทอง, พรรษพล พรหมมาศ และอนุวัตร เฉลิมสกุลกิจ, (2557). การศึกษาเทคโนโลยีออคเมนต์เตลเรียลลิตี้: กรณีศึกษาพัฒราเกมส์ "เมมการ์ด", มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Izzurrachman F., (2012). Particle effect on augmented reality for chemical bond learning, Sepuluh Nopember Institute of Technology.

นริศรา กาฬมาตย์ และชนาธรณ์ ธูปพุดซา, (2554). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีออกเมนเต็ดเรียลลิตี้สำหรับหนังสือการ์ตูน 3 มิติ เรื่อง พระมหาชนก, สารนิพนธ์วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

วิวัฒน์ มีสุวรรณ์, (2554). การเรียนรู้ด้วยการสร้างโลกเสมือนผสานโลกจริง, วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

เครื่องแขวนดอกไม้ไทย, (2557). [ออนไลน์] http:// fanony.com.

Volkan I., Bradford W. and Ruzena B., (2013). Building a 3D Virtual Museum of Native American Basket. The University of Minnesota.

สุมิตรา นวลมีศรี, ปรีดาวรรณ เกษเมธีการุณ และลาภ พุ่มหิรัญ, (2558). การพัฒนาสื่อเสมือนจริงชุดไทยพระราชนิยม, วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.ธัญบุรี, 5(2): 74-84.

Kaufmann H., (2013). Collaborative Augmented Reality in Education, Institued of Software Technology and Interactive Systems, Vienna University of Technology.

Kadmateekarun P. and Nuanmeesri S., (2015). Development of Animation Teaching Media on the Topic of The Property of The Father, Suan Sunandha Journal of Science and Technology, 2(1): 39-43.

Polit, D.F. and Beck, C.T, (2008). Nursing research: Generating and assign evidence for nursing practice, Philadelphia: Lippincott.

ราตรี นันทสุคนธ์, (2554). การวิจัยในชั้นเรียนและการวิจัยพัฒนาการเรียนการสอน, กรุงเทพฯ: จุดทอง จำกัด.