การศึกษาเปรียบเทียบสมบัติทางกายภาพของทีเอ็นทีในกระบวนการขึ้นรูปทีเอ็นทีแท่ง

Main Article Content

พนมวรรณ ปานสีทา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาสมบัติทางกายภาพของแท่งทีเอ็นทีที่แตกหักจากการขึ้นรูปโดยทำการวิเคราะห์ในเชิงคุณภาพและปริมาณ จากผลการวิจัยพบว่าแท่งทีเอ็นทีที่แตกหักจากการขึ้นรูปมีจุดหลอมเหลวที่อุณหภูมิ 80.0-82.0oC ซึ่งเป็นช่วงการหลอมเหลวที่กว้างกว่าสารตัวอย่างชนิดอื่น เมื่อวิเคราะห์ด้วยเทคนิคทางโครมาโทกราฟีแบบเยื่อบาง เทคนิค


โครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูง และเทคนิคนิวเคลียร์แมกเนติกเรโซแนนซ์สเปกโทรสโคปี พบว่าแท่งทีเอ็นทีที่แตกหักจากการขึ้นรูปและผงทีเอ็นทีที่ได้จากการเจาะแกนกลางไม่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเคมี นอกจากนี้เมื่อนำสารทีเอ็นทีชนิดแท่งที่แตกหักจากการขึ้นรูปทำให้มีความบริสุทธิ์มากขึ้นโดยการละลายด้วยอะซีโตนและทำการกรองจะได้ปริมาณทีเอ็นทีบริสุทธิ์ร้อยละ 95.91 ของทีเอ็นทีที่แตกหักจากการขึ้นรูป ที่เหลือเป็นผงสีดำร้อยละ 4.09 อย่างไรก็ตาม การทดลองนี้ทำให้ทราบว่าแท่งทีเอ็นทีที่เกิดการแตกหักจากการขึ้นรูป ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการสลายตัวของทีเอ็นทีที่ผ่านการอัดแท่งโดยใช้ความดัน แต่สาเหตุหลักมาจากการปนเปื้อนของผงแกรไฟต์ซึ่งทางโรงงานต้องใช้ในการเคลือบแบบก่อนทำการขึ้นรูปอัดแท่ง

Article Details

How to Cite
[1]
ปานสีทา พ., “การศึกษาเปรียบเทียบสมบัติทางกายภาพของทีเอ็นทีในกระบวนการขึ้นรูปทีเอ็นทีแท่ง”, Crma. J., ปี 11, ฉบับที่ 1, น. 137–144, พ.ค. 2013.
บท
บทความวิจัย

References

SMittt, G. C., 1918.Trinitrotoluenes and Mono-and Dinitrotoluenes their Manufactureand Properties. New York : D. Van Nostrand Company.

WHO, 1996. Printing Processes and Printing Inks, Carbon Black and Some Nitro Com-pounds.IARC Monographs on the Evaluationof Carcinogenic Risks to Humans, Lyon; France, vol. 65.

Lide, D.R., et al., 1993. CRC Handbook of Chemistry and Physics, 74th Ed., Boca Raton, FL: CRC Press, p. 3-492.

Lewis, R. J., Sr., 1993. Hawley's Condensed Chemical Dictionary, 12th Ed., New York : Van Nostrand Reinhold Co., p. 1185.