การศึกษาการใช้วัสดุผสมของใบสนคาริเบียและพอลิเอทิลีนเป็นวัสดุทดแทนไม้

Main Article Content

กุศยา สุวรรณวิหค
สัณสนีย์ เหมาคม
อิทธิชัย นิ่มมา
ปิยะวัฒน์ ด้วงพิบูลย์

บทคัดย่อ

จากการที่ความต้องการในการใช้ไม้ยังมีอยู่ในปริมาณมาก ในขณะที่ไม้ธรรมชาติมีราคาแพงและหาใช้ได้ยาก งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อหาวัสดุที่สามารถทดแทนไม้ธรรมชาติได้ โดยการนำใบสนคาริเบียที่ร่วงหล่นอยู่ในป่าสน และขวดพลาสติกพอลิเอทิลีนความหนาแน่นต่ำ (LDPE) ที่ผ่านการใช้แล้วมาทำเป็นวัสดุผสมเพื่อใช้ทดแทนไม้ โดยมีมาเลอิกแอนไฮไดรด์กราฟเทดพอลิเอทิลีนเป็นสารคู่ควบ ในงานวิจัยนี้ใช้อัตราส่วน LDPE : สารคู่ควบ : เศษใบสน 65 : 5 : 30 และ 75 : 5 : 20 วัตถุดิบทุกชนิดนำมาบดเป็นผงและผสมให้เข้ากัน แล้วนำมาผ่านกระบวนการอัดขึ้นรูปความร้อนเป็นแผ่นไม้พลาสติก นำไปทดสอบสมบัติทางกายภาพและทางกล พบว่าแผ่นไม้พลาสติกที่มีอัตราส่วน LDPE : สารคู่ควบ : เศษใบสน 75:5:20 มีสมบัติทั้งทางกายภาพและทางกลที่ดีกว่าอีกอัตราส่วนหนึ่ง ไม้พลาสติกของงานวิจัยสามารถนำไปใช้ตกแต่ง ทำเฟอร์นิเจอร์ ที่ไม่ต้องการการรับน้ำหนักมากได้ อย่างไรก็ตาม พบว่า LDPE ที่อยู่ตรงกลางตามความหนาของไม้พลาสติกไม่หลอมเหลว จึงควรอุ่นวัตถุดิบก่อนนำไปผ่านการขึ้นรูป หรือใช้กระบวนการอัดรีดขึ้นรูปในการทำแผ่นไม้พลาสติกแทน

Article Details

How to Cite
[1]
สุวรรณวิหค ก., เหมาคม ส., นิ่มมา อ., และ ด้วงพิบูลย์ ป., “การศึกษาการใช้วัสดุผสมของใบสนคาริเบียและพอลิเอทิลีนเป็นวัสดุทดแทนไม้”, Crma. J., ปี 11, ฉบับที่ 1, น. 45–50, พ.ค. 2013.
บท
บทความวิจัย

References

กิตติคุณ ลีลาภัทรพันธุ์, ประเสริฐ แก้ววิชิต,เอกสารวิจัยเรื่องการศึกษาวัสดุทดแทนไม้จากใบสนคาริเบีย. สาขาวิชาวัสดุศาสตร์ทางการทหารและอากาศยาน กองวิชาวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายเรืออากาศ.

ศูนย์วนวัฒนวิจัยภาคเหนือ,สนคาริเบีย. ศูนย์วนวัฒวิจัยภาคเหนือ กลุ่มงานวัฒนวิจัย สำนักวิจัยการจัดการป่าไม้และผลิตผลป่าไม้ กรมป่าไม้, 2550.

Anatol A. Klyosov,Wood-Plastics Composites.Wiley interscience.

Duglas J. Gardener.Extrusion of Wood Plastic Composites.