ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ และทัศนคติต่อบุหรี่ไฟฟ้าของนักศึกษามหาวิทยาลัยปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

นันทวรรณ นามนัย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบตัดขวาง (cross-sectional study) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับของความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรม การรับรู้บุหรี่ไฟฟ้า และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรม และการรับรู้บุหรี่ไฟฟ้า ของนักศึกษามหาวิทยาลัยปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยปทุมธานี จำนวน 350 คน จากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยสูตรคำนวณของ Taro Yamane (1971) โดยมีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.81  การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติสหสัมพันธ์เชิงอันดับแบบสเปียร์แมน (Spearman Correlation Coefficient) สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Correlation Coefficient) และการทดสอบไคสแควร์ (Chi-square test) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01   ผลการวิจัย พบว่าความรู้เกี่ยวกับการรับรู้เกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 71.70  ทัศนคติเกี่ยวกับการรับรู้บุหรี่ไฟฟ้าอยู่ในระดับปานกลาง (𝑥̅ = 2.26, S.D = 0.405)  พฤติกรรมการใช้บุหรี่อยู่ในระดับปานกลาง (𝑥̅ = 2.20, S.D = 0.312)   การรับรู้เกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าอยู่ในระดับมาก (𝑥̅ = 2.45, S.D = 0.412) และความรู้ พฤติกรรมของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี มีความสัมพันธ์เกี่ยวกับการรับรู้บุรี่ไฟฟ้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยความรู้ของนักศึกษา มีความสัมพันธ์ทางบวก อยู่ในระดับต่ำ ขณะที่พฤติกรรมของนักศึกษามีความสัมพันธ์ทางลบกับการรับรู้เกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า อยู่ในระดับปานกลาง และต่ำ (r=.034* และ .208*) ตามลำดับ ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาช่องทางการสื่อสาร เพื่อให้ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับอันตรายของบุหรี่ไฟฟ้า รวมถึงการกำหนดมาตราการการให้คำปรึกษา การสร้างเครือข่ายนักศึกษาที่สนับสนุนการไม่สูบบุหรี่

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Best JW. (1977). Research in Education. 3rd. Engle Wood Cliff. NJ Prentice Hall.

Bloom BS. (1971). Handbook on formative and summative evaluation of student learning.

Taro Yamane. (1970). Statistics: An Introductory Analysis. (2d ed.). ToKyo: John Weatherhill, Inc.

World Health Organization [WHO]. (2019). Report on the global tobacco epidemic. Retrieved from https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/326043/ 9789241516204-eng.pdf

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (24 กันยายน 2567). พฤติกรรมการสูบบุหรี่ของเยาวชนไทย.https://hss.moph.go.th/show_topic.php?id=6024.

ณัฐพล รุ่งโรจน์สิทธิชัย. (2560). การรับรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม ที่มีต่อบุหรี่ไฟฟ้า (วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์). TU Digital Collections. https://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2017/TU_2017_5907011042_8133_8197. pdf

ธนากร ธนวัฒน์. (2567). ผลกระทบในทุกมิติจากการใช้บุหรี่ไฟฟ้าการทบทวนแนวทางการจัดโปรแกรมสำหรับ การสร้างการรับรู้ถึงอันตราย ต่อสุขภาพ และการป้องกันการสูบบุหรี่ไฟฟ้าใน วัยรุ่น. วารสาร สาธารณสุข และ วิทยาศาสตร์ สุขภาพ, 7(2), 93-106.

ธีรังกูร วรบำรุงกุล, เชษฐ รัชดพรรณธิกุล และมนตรี วิชัยวงษ์. (2564). พฤติกรรมและการประเมิน ความเสี่ยงตนเองในการสูบบุหรี่ของกลุ่มบุคลากรและนักศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จังหวัดจันทบุรี. วารสารคุณภาพชีวิตกับกฎหมาย, 17(2), 66-79.

นพรัตน์ รัตนวราภรณ์, ธนพร เบญจพะ, ชวนพิศ ตฤนานนท์. (24 กันยายน 2567). การตรวจสาร นิโคตินในของกลางบุหรี่ไฟฟ้า. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. http://innovation.dmsc.moph.go.th/InnovationV1.

พิมพ์ชนก คําชู, บัณฑิตา จารี, เบญญาภา ทั่งจ้อย, ปราณี คําวงค์ษา,จีรนันท์ วงศ์ศิลป์ และคณะ.(2567). ความรู้ กับทัศนคติเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า ของนิสิตระดับอุดมศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในเขตภาคเหนือ ตอนล่างของประเทศไทย. วารสารการพยาบาลสุขภาพ และ สาธารณสุข, 3(3), 46-54.

พงษ์ศักดิ์ อ้นมอย, อาทิตยา บัวเรือง และคณะ. (2565). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้าของเยาวชนจังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 31(2), S197- S205.

ไพฑูรย์ สอนทน และคณะ. (2565). ความชุกของการใช้บุหรี่ไฟฟ้าและความสัมพันธ์กับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การใช้กัญชา และการสูบบุหรี่ของมัธยมตอนศึกษาตอนปลาย จังหวัดเพชรบูรณ์. (รายงงานฉบับสมบูรณ์) คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

ภัณฑิรา ปริญญารักษ์ และ ปรีชญา ตาใจ. (2565) อิทธิพลของข้อมูลข่าวสารต่อพฤติกรรมและการตัดสินใจสูบบุหรี่ไฟฟ้า. วารสารควบคุมโรค, 48(3), 539-550.

วิวัฒน์ โรจนพิทยากร. (2565). สงครามบุหรี่ไฟฟ้า. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 31(1), 1-2.

ศิริพร พูลรักษ์. (2565). ผลของโปรแกรมการเลิกสูบบุหรี่ไฟฟ้าผ่านระบบออนไลน์ที่มีต่อความรู้ ทัศนคติ และความตั้งใจเลิกสูบบุหรี่ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน, 9(1), 20-38.

อารักษ์ มุ่งหมาย, สริญญา รอดพิพัฒน์และ จินตนา สรายุทธพิทักษ์. (2566). ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสาร การรับรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้าของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ, 15(3), 311-324.