ปัจจัยที่มีผลต่อการดูแลตนเองของมารดาหลังคลอดด้วยแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลลำดวน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการดูแลตนเองของมารดาหลังคลอดที่อำเภอลำดวน กลุ่มตัวอย่าง คือ มารดาหลังคลอดในระยะ 6-8 สัปดาห์ที่รับบริการหลังคลอดด้วยแพทย์แผนไทย จำนวน 30 ราย รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของมารดาหลังคลอดด้วยสถิติไควสแคว์ และสหสัมพันธ์เพียร์สัน กำหนดระดับนัยสำคัญที่ p-value< 0.05 ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อายุระหว่าง 30-39 ปี ร้อยละ 63.33 จบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ร้อยละ 36.66 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 40.00 มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเองหลังคลอดอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 56.66 และมีการดูแลตนเองหลังคลอดอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 60.00 เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า อาชีพ ระดับการศึกษา และระดับความรู้มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองหลังคลอดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p-value < 0.05 ในขณะที่ความรู้ (r=0.584) และลำดับการตั้งครรภ์ (r=0.331) มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของหญิงหลังคลอดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p-value< 0.05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะใดๆ ที่นำเสนอในบทความเป็นของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว โดยบรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะกรรมการวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยปทุมธานี ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องแต่อย่างใด มหาวิทยาลัย บรรณาธิการ และกองบรรณาธิการจะไม่รับผิดชอบต่อข้อผิดพลาดหรือผลที่เกิดจากการใช้ข้อมูลที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้
References
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. (2563). คู่มือการดูแลสุขภาพหลังคลอดด้วยแพทย์แผนไทย. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.
คงเพชร ศรีสมพร. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในกลุ่มมารดาหลังคลอดในชนบท. วารสารสุขภาพชุมชน, 5(3), 89-105.
จารุภา วงศ์ช่างหล่อ ปภัสรา วงศ์ศิริ และนิตยา วงศ์ทอง. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและครอบครัวของมารดาหลังคลอดบุตรครรภ์แรก. วารสารพยาบาลเกื้อการุณย์, 24(1), 179–196.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การแปลความหมายของคะแนนตามเกณฑ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พนิดา มากนุษย์ นภาพร แสนพิมพ์ และสิริพร ล้วนดี, (2561). ประสิทธิผลของการทับหม้อเกลือด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทยในหญิงหลังคลอด. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน, 1(1), 26-38.
พรพรรณ พุ่มประยูร พรรณี ไกรศร และสมจิต สงคราม. (2559). ผลของการเตรียมสตรีครรภ์แรกต่อความสำเร็จในการดำรงบทบาทมารดา. พยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 43(4), 33-43. https://doi.org/10.4314/jcn.v43i4.4
โรงพยาบาลลำดวน (2566). ข้อมูลบริการตรวจหลังคลอด ปี 2565-2566. กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลลำดวน.
Anderson, R., Smith, L., & Johnson, P. (2020). Impact of educational attainment on postpartum self-care practices. Journal of Maternal Health Studies, 15(2), 112-123.
Baker, S., Martin, J., & Nguyen, A. (2018). The role of maternal education on postpartum care adherence. Global Health Research, 9(3), 67-75.
Best, J. W. (1981). Research in education (6th ed.). Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.
Brown, T., Williams, K., & Lee, S. (2018). Age-related readiness for postpartum health management. Women’s Health Journal, 21(4), 345-354.
Garcia, M., Chen, L., & Wu, Q. (2019). Socioeconomic factors influencing postpartum health behaviors. Health & Social Care Journal, 14(1), 97-105.
Jones, A., Taylor, M., & White, R. (2019). Previous pregnancy experience and postpartum self-care. Journal of Reproductive Health, 25(6), 251-258.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610. https://doi.org/10.1177/001316447003000308
Singh, V., Kumar, P., & Sharma, R. (2017). Agricultural occupation and its impact on maternal self-care practices. Rural Health Research, 12(2), 134-142.
Thorndike, R. M. (1991). Measurement and evaluation in psychology and education (5th ed.). New York, NY: Macmillan.