ความปลอดภัยและประสิทธิผลของการบ่งต้อหินด้วยหนามหวายขม

Main Article Content

ชเอม ขุมเพชร

บทคัดย่อ

การศึกษากึ่งทดลองชนิด 2 กลุ่มวัดก่อนหลังครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาความปลอดภัย และประสิทธิผลของการบ่งต้อด้วยหนามหวายขม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคต้อหินที่มารับบริการแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร จำนวน 30 ราย  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล และข้อมูลเกี่ยวกับการเจ็บป่วย ได้แก่ โรคประจำตัว และยาที่รับประทานเป็นประจำ แบบบันทึกค่าความดันลูกตาและค่าการมองเห็น วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิต สถิติ Wilcoxon Signed-Rank Test และ Mann-Whitney U Test ผลการศึกษาพบว่า การบ่งต้อด้วยหนามหวายขมบริเวณแผ่นหลังไม่พบความผิดปกติในอาสาสมัครทุกราย พบเพียงรอยแผลขนาดเล็กที่เกิดจากการบ่งต้อด้วยหนามหวาย นอกจากนี้ยังไม่พบการอักเสบหรือการติดเชื้อจากแผลในอาสาสมัคร ผลการศึกษาด้านประสิทธิผลของการบ่งต้อหินด้วยหนามหวายขมด้วยการวัดค่าความดันลูกตาพบว่า ระดับความดันลูกตาข้างซ้ายหลังการทดลองมีค่าลดลงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.014) และระดับความดันลูกตาข้างขวาหลังการทดลองมีค่าลดลงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.019) และวัดค่าการมองเห็นพบว่า ค่าระดับการมองเห็นก่อนและหลังทดลองไม่แตกต่างกัน ประโยชน์ที่ได้จากการศึกษานี้ จะได้ข้อมูลที่ยืนยันความปลอดภัย และประสิทธิผลของการบ่งต้อหินด้วยหนามหวายขม ซึ่งสามารถนำไปใช้พัฒนาหรือจัดทำแนวทางเวชปฏิบัติ และมาตรฐานวิชาชีพด้านการแพทย์แผนไทยต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมการพัฒนาระบบบริการที่ตอบสนองต่อปัญหาสุขภาพที่สำคัญ(สาขาจักษุ). (2556). แนวทางพัฒนาระบบบริการสุขภาพสาขาจักษุวิทยา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

จิตอนุวัต พุ่มม่วง และคณะ. (2563). “การศึกษาโครงสร้างของเนื้อเยื่อหลังการรักษาด้วยการบ่งต้อลมบริเวณหลังจากศาสตร์การแพทย์แผนไทย,” ใน วารสารการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก. ปีที่ 18 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม (ฉบับเสริม).

ดวงทิพย์ รักสนิท. (2558). “ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมความดันในลูกตาของผู้ป่วยโรคต้อหิน ปฐมภูมิที่แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า,” ใน วารสารพยาบาลทหารบก. ปีที่ 16 (ฉบับที่ 1) : หน้า 109 - 115

ประกาศสภาแพทย์แผนไทย เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานและกรรมวิธีการแพทย์แผนไทยผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยตามพระราชบัญญัติวิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2556 . (2563, 15 กรกฎาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 137 ตอนพิศษ 162 ง. หน้า 27.

ภาณิกานต์ คงนันทะ. (2553). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้บริการนวดแผนไทยของนักท่องเที่ยวต่างชาติบนถนนข้าวสาร กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศิริลักษณ์ กิจศรีไพศาล และ ปรัศนีย์ พันธุ์กสิกร. (2019). ความร่วมมือในการรักษาของผู้ป่วยต้อหิน : การวิจัยเชิงคุณภาพ. Thai Journal of Nursing Council, 34(4), 21.

สายจิต สุขหนู และคณะ. (2564). การศึกษาองค์ความรู้พื้นบ้านในการรักษาโรคต้อกระจก โดยการบ่งต้อด้วยหนามหวายขม กรณีศึกษาหมอชเอม ขุมเพชร. วารสารหมอยาไทยวิจัย ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2564).

Khaw, P. T., & Elkington, A. R. (2004). Glaucoma 1 : diagnosis. Bmj, 328 (7431), 97-99.

World Health Organization (WHO). [Online]. (2021). Blindness and Vision Impairment. Retrieved from : https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/blindness-and-visual-impairment.

World Health Organization (WHO). [Online]. (2023). Blindness and Vision Impairment. Retrieved from : https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/blindness-and-visual-impairment.