สารสกัดน้ำเบญจกูลมีผลต่อการแก่ของเซลล์ตับอ่อนในหนูอ้วนที่ได้รับอาหารไขมันสูงเป็นระยะเวลากลางๆ
Main Article Content
บทคัดย่อ
สารสกัดน้ำเบญจกูลเป็นยาปรับธาตุที่ใช้ในการรักษาแบบพื้นบ้านในประเทศไทยเพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือด อย่างไรก็ตามยังไม่เคยมีการศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดน้ำเบญจกูลต่อการแก่ของเซลล์ตับอ่อนในหนูอ้วนที่ได้รับอาหารไขมันสูงเป็นระยะเวลากลางๆ การศึกษาในครั้งนี้มุ่งหวังให้ความเข้มของเอนไซม์ senescence-associated beta-galactosidase (sa-β-gal) ในเซลล์ตับอ่อนเป็นตัวชี้วัดในการศึกษาฤทธิ์ต้านชราของสารสกัดน้ำของเบญจกูล โดยใช้วิธีการทดสอบอิมมูโนฮิสโตเคมี ศึกษาในหนูขาวเพศผู้สายพันธุ์ Sprague-Dawley จำนวน 18 ตัว ที่แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 6 ตัว เมื่อเลี้ยงหนูจนครบ 16 สัปดาห์ จึงทำการทดสอบน้ำหนักตัวหนู ระดับน้ำตาลในเลือดหนูและอิมมูโนฮิสโตเคมีของ sa-β-gal ของตับอ่อนหนู ผลการศึกษาเมื่อเปรียบเทียบกับหนูกลุ่มควบคุมหรือหนูกลุ่มที่ได้รับอาหารหนูปกติ พบว่าหนูกลุ่มที่ได้รับอาหารไขมันสูงร่วมกับสารสกัดน้ำของเบญจกูลขนาดต่ำ (41.3 มก./น้ำหนักหนู 1 กก.) มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ระดับน้ำตาลในเลือดและการติดสีของ sa-β-gal มีแนวโน้มที่จะลดลง แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนเมื่อเปรียบเทียบกับหนูกลุ่มที่ได้รับอาหารไขมันสูงอย่างเดียว พบว่าหนูกลุ่มที่ได้รับอาหารไขมันสูงร่วมกับสารสกัดน้ำของเบญจกูลขนาดต่ำ (41.3 มก./น้ำหนักหนู 1 กก.) มีน้ำหนักตัว ระดับน้ำตาลในเลือดและการติดสีของ sa-β-gal ของตับอ่อนมีแนวโน้มที่จะลดลง แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปได้ว่าสารสกัดน้ำของเบญจกูลขนาดต่ำ (41.3 มก./น้ำหนักหนู 1 กก.) มีแนวโน้มที่จะช่วยลดน้ำหนัก แต่ไม่สามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดและลดการชราภาพของตับอ่อนในหนูที่ได้รับอาหารไขมันสูงเป็นระยะเวลากลางๆ (15 สัปดาห์) โดยไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.182) และ (p = 0.139) ตามลำดับ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะใดๆ ที่นำเสนอในบทความเป็นของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว โดยบรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะกรรมการวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยปทุมธานี ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องแต่อย่างใด มหาวิทยาลัย บรรณาธิการ และกองบรรณาธิการจะไม่รับผิดชอบต่อข้อผิดพลาดหรือผลที่เกิดจากการใช้ข้อมูลที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้
References
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2564). สังคมผู้สูงอายุในปัจจุบันและเศรษฐกิจในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม 2567. เข้าถึงได้จาก https://www.dop.go.th/th/know/15/926
คณะการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (2561). เบญจกูล ตำรับยาประจำธาตุ ปรับธาตุให้สมบูรณ์. สืบค้นเมื่อ 11 มกราคม 2567. เข้าถึงได้จาก https://www.ttmed.psu.ac.th/th/blog/219
คลังความรู้. (2560). อนุมูลอิสระ และสารต้านอนุมูลอิสระ. สืบค้นเมื่อ 11 มกราคม 2567. เข้าถึงได้จาก https://www.scimath.org/article-biology/item/6903-2017-05-14-06-44-33
ปราณี ชวลิตธำรง เอมมนัส อัตตวิชญ์ พัช รักษามั่น และปราณี จันทเพ็ชร. (2539). ฟ้ษกึ่งเฉียบพลันของยาแผนโบราณเบญจกูล. ไทยเภสัชสาร ปีที่ 20 ฉบับที่ 1: หน้า 39 – 51.
สมุนไพรดอทคอม. (2559). โสฬสเบญจกูล. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2567. เข้าถึงได้จาก https://www.samunpri.com/phikadya/
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2563). NCDs กลุ่มโรคเรื้อรัง ที่ป้องกันได้. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2567. เข้าถึงได้จาก https://www.thaihealth.or.th/ncds
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2564). โรคอ้วน ประตูสู่โรคร้าย ภัยเงียบอันตรายต่อสุขภาพ. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2567. เข้าถึงได้จาก https://www.thaihealth.or.th/โรคอ้วน-ประตูสู่-โรคร้าย/
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2566). ความแก่คืออะไร ทำอย่างไรไม่ให้แก่ ตอนที่ 2 อาหาร. สืบค้นเมื่อ 11 มกราคม 2567. เข้าถึงได้จาก https://www.nstda.or.th/sci2pub/what-is-aging-ep2/
de Mera-Rodríguez, J. A., Álvarez-Hernán, G., Gañán, Y., Santos-Almeida, A., Martín-Partido, G., Rodríguez-León, J., & Francisco-Morcillo, J. (2022). Endogenous pH 6.0 β-Galactosidase Activity Is Linked to Neuronal Differentiation in the Olfactory Epithelium. Cells, 11(2), 298.
Kamchansuppasin, A., Vongthoung, K., Temrangsee, P., Munkong N., & Lerdvuthisopon, N. (2020). Benjakul supplementation improves hepatic fat metabolism in high-fat diet-induced obese rats. Tropical Journal of Pharmaceutical Research, 19 (4), 797-803.
López-Otín, C., Blasco, M. A., Partridge, L., Serrano, M., & Kroemer, G. (2013). The hallmarks of aging. Cell, 153(6), 1194–1217.
MedPark hospital. (2563). โรคอ้วน. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2567. เข้าถึงได้จาก https://www.medparkhospital.com/disease-and-treatment/obesity
MedPark hospital. (2565). โรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2567. เข้าถึงได้จาก https://www.medparkhospital.com/disease-and-treatment/acute-pancreatitis
Munkong, N., Lonan, P., Mueangchang, W., Yadyookai, N., Kanjoo, V., & Yoysungnoen, B. (2022). Red Rice Bran Extract Attenuates Adipogenesis and Inflammation on White Adipose Tissues in High-Fat Diet-Induced Obese Mice. Foods (Basel, Switzerland), 11(13), 1865.
Rattarom, R., Sakpakdeejaroen, I., Hansakul, P., & Itharat, A. (2014). Cytotoxic activity against small cell lung cancer cell line and chromatographic fingerprinting of six isolated compounds from the ethanolic extract of Benjakul. Journal of the Medical Association of Thailand = Chotmaihet thangphaet, 97 Suppl 8, S70–S75.
Reagan-Shaw, S., Nihal, M., & Ahmad, N. (2008). Dose translation from animal to human studies revisited. FASEB journal: official publication of the Federation of American Societies for Experimental Biology, 22(3), 659–661.
Valieva, Y., Ivanova, E., Fayzullin, A., Kurkov, A., & Igrunkova, A. (2022). Senescence-Associated β-Galactosidase Detection in Pathology. Diagnostics (Basel, Switzerland), 12(10), 2309.
Vongthoung, K., Kamchansuppasin, A., Temrangsee, P., Munkong, N., Kaendee, N., & Lerdvuthisopon, N. (2016). Effects of Benjakul water extract on pancreas in high-fat fed rats. Thammasat Medical Journal, 16(2), 161-175.
Wong, S. K., Chin, K. Y., Suhaimi, F. H., Fairus, A., & Ima-Nirwana, S. (2016). Animal models of metabolic syndrome: a review. Nutrition & metabolism, 13, 65.
Wong, S. K., Chin, K. Y., Suhaimi, F. H., Fairus, A., & Ima-Nirwana, S. (2016). Animal models of metabolic syndrome: a review. Nutrition & metabolism, 13, 65.