การออกแบบและพัฒนาชุดระบบควบคุมการระบายอากาศแบบ อัตโนมัติในภาชนะเก็บข้าวเปลือก
Main Article Content
บทคัดย่อ
ประเทศไทยมีการปลูกข้าวเป็นอาชีพหลักและทำรายได้จากการขายส่งออกเป็นอันดับหนึ่งของประเทศ การปลูกข้าวของเกษตรกรจะปลูกสองครั้งต่อปี คือ ข้าวนาปี และข้าวนาปรัง อย่างไรก็ตามในการเก็บรักษาข้าวเปลือกมักจะพบปัญหาคือ ข้าวเปลือกหลังการเก็บเกี่ยวจะมีความชื้นสูง เมล็ดข้าวเกิดเชื้อรา และเมล็ดข้าวเหลือง ข้าวเปลือกที่มีความชื้นสูงเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดการสูญเสีย ดังนั้นคณะผู้วิจัยจึงมีแนวคิดที่จะออกแบบและพัฒนาชุดระบบควบคุมการระบายอากาศแบบอัตโนมัติในภาชนะเก็บข้าวเปลือก โดยจะทดลองใช้ลมร้อนจากพัดลมระบายอากาศเป่าผ่านหลอดแก้วทำความร้อน จากการทดลองพบว่า การเปิดพัดลมระบายอากาศ และ เปิดหลอดแก้วทำความร้อนเพียงอย่างเดียว โดยมีกำหนดอุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส ทำให้น้ำหนักข้าวก่อนเข้าถังบรรจุมีน้ำหนัก 50 กิโลกรัม หลังจากการทดลองเสร็จ ลดลงเหลือ 45.98 กิโลกรัม จะเห็นได้ว่าการระบายอากาศด้วยการเปิดหลอดแก้วทำความร้อนจะสามารถลดความชื้นในกองข้าวได้ดีกว่าการเก็บรักษาแบบพื้นฐาน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะใดๆ ที่นำเสนอในบทความเป็นของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว โดยบรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะกรรมการวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยปทุมธานี ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องแต่อย่างใด มหาวิทยาลัย บรรณาธิการ และกองบรรณาธิการจะไม่รับผิดชอบต่อข้อผิดพลาดหรือผลที่เกิดจากการใช้ข้อมูลที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้
References
พรศักดิ์ ทองมา. (2542).การอบแห้งข้าวเปลือกโดยเทคนิคสปาเตดขนาดอุตสาหกรรม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีพลังงาน คณะพลังงานและวัสดุ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
ขุนพล สังข์อารียกุล. (2544). การประเมินสถานภาพเครื่องอบแห้งข้าวเปลือกในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอุณหภาพ คณะพลังงานและวัสดุ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
วทัญญู รอดประพัฒน์, สมชาติ โสภณรณฤทธิ์และมนตรี หวังจิ. (2542). ระบบอบแห้งข้าวเปลือก ในโรงสี.ว.เกษตรศาสตร์ (วิทย.) ปี ที่ 33 ฉบับที่ 1:126-133
Jame E. Wimberly. (1983). Drying. Technical Handbook for the paddy Rice Postharvest Industry in Developing Countries. อ้างถึงใน กิติยากิจควรดีคุณภาพข้าวและการ ตรวจสอบข้าวปนในข้าวหอมมะลิไทย (หน้า ).กรุงเทพมหานคร : บริษัทจิรวัฒ์เอ็กซ์เพรส จำกัด.
ยุทธนา ฎิระวณิชย์กุล. การจัดการข้าวเปลือกโดยการอบแห้งในที่เก็บรักษาภายใต้สภาวะอากาศเขตร้อนชื้น.นครราชศรีมา.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
สิทธิเดช กุลวงษ์. (2547). การศึกษาเครื่องอบแห้งข้าวเปลือกแบบส่งไปตามท่อโดยใช้ลม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
ฉัตรชัย นิมมล และอนุชา หิรัญวัฒน์. (2555). รายงานการวิจัยเรื่องการพัฒนาและศึกษาระบบการอบแห้งแบบพาหะลมชนิดท่อเกลียวสำหรับข้าวเปลือก. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. 51 น.
รศ.มนตรีพิรุณเกษตร. 2547. กลศาสตร์ของไหล. พิมพ์ครั้งที่ 1. บริษัทจูลพับลิชชิ่ง. ผศ.ดร.ธนาคม สุนธรชัยนาคแสง. 2547. การถ่ายเทความร้อน. สํานักพิมพ์ท้อป
เทวรัตน์ ตรีอำนรรค (2557). รายงานการวิจัยเรื่องการพัฒนาเครื่องอบแห้งข้าวเปลือกด้วยเทคนิคสเปาเต็ดเบด. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. 51หน้า