ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้าของนักเรียนมัธยมศึกษา ตอนปลาย จังหวัดสมุทรปราการ
คำสำคัญ:
ความชุก, พฤติกรรมการสูบบุหรี่, บุหรี่ไฟฟ้าบทคัดย่อ
บทนำ: การสูบบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ก่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและมะเร็ง ส่งผลกระทบต่อตัวผุ้สูบและคนรอบข้าง ซึ่งบุหรี่ไฟฟ้าเป็นผลิตภัณฑ์ที่กลุ่มเยาวชนใช้อยุ่ในปัจจุบัน ส่งผลให้ความชุกของการสูบบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้าของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดสมุทรปราการ
วิธีการศึกษา: การศึกษาครั้งนี้การวิจัยเชิงพรรณนา โดยมีกลุ่มตัวอย่าง 225 คน ดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่าง 28 กันยายน 2566 – 25 ตุลาคม 2566 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา เพื่ออธิบายลักษณะทางประชากร และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ปัจจัยต่อการสูบบุหรี่ไฟฟ้าด้วยสถิติโลจิสติกถดถอยพหุคูณ
ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 52.0 ผลการเรียนอยู่ระหว่าง 3.01-3.50 มีความชุกของการสูบบุหรี่ไฟฟ้าร้อยละ 36 เริ่มสูบครั้งแรกตอนอายุ 15 ปี ร้อยละ 87.65 การรับรู้เกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า กฎหมาย และความรอบรู้ด้านสุขภาพอยู่ในระดับดีมาก ส่วนความเครียดอยู่ในระดับต่ำ เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า เพศและผลการเรียนมีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้า (COR = 0.56; 95%CI = 0.32-0.99; p-value <0.04; COR = 0.39; 95%CI = 0.19-0.81; p-value <0.01) ส่วนปัจจัยด้านเพื่อน ครอบครัวและการรับรู้ต่างๆ ไม่มีความสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ไฟฟ้า
สรุป: ความชุกในการสูบบุหรี่ไฟฟ้าในเด็กมัธยมศึกษาตอนปลายพบในกลุ่มนักเรียนหญิง ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ได้แก่ เพศและผลการเรียน
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยปทุมธานี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะใดๆ ที่นำเสนอในบทความเป็นของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว โดยบรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะกรรมการวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยปทุมธานี ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องแต่อย่างใด มหาวิทยาลัย บรรณาธิการ และกองบรรณาธิการจะไม่รับผิดชอบต่อข้อผิดพลาดหรือผลที่เกิดจากการใช้ข้อมูลที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้