ผลของการเตรียมตะกอนปัสสาวะต่อการตรวจวิเคราะห์ทางจุลทรรศนศาสตร์คลินิกที่ใช้ในห้องปฏิบัติการโรงพยาบาลมหาวชิราลงกรณธัญบุรี EFFECT OF URINE SEDIMENT PREPARATION ON THE MICROSCOPIC EXAMINATION UES IN MAHAVAJIRALONGKORM THANYABURI HOSPITAL
Main Article Content
บทคัดย่อ
การตรวจปัสสาวะ (Routine Urinalysis) เพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรคโดยเฉพาะโรคไตและระบบทางเดินปัสสาวะหรือโรคที่มีการเปลี่ยนแปลงทางปัสสาวะ เพื่อตรวจกรองความสมบูรณ์ของสุขภาพ เพื่อติดตามผลของการรักษาหรือผลข้างเคียงจากการรักษา มีการเตรียมตะกอนปัสสาวะด้วยวิธี The National Committee For Clinical Laboratory Standards (NCCLS) เป็นวิธีมาตรฐานอ้างอิงค์ ปัจจุบันมีวิธีหลากหลายซึ่งใช้ในห้องปฏิบัติการทั่วไปที่มาประยุกต์ใช้เพื่อสะดวกในการเตรียมตะกอนปัสสาวะและการรายงานผล วัตถุประสงค์ของศึกษาในครั้งนี้เพื่อเปรียบเทียบผลการตรวจวิเคราะห์ตะกอนปัสสาวะจากการเตรียมตะกอนปัสสาวะวิธี NCCLS และวิธีที่ใช้ในห้องปฏิบัติการที่ใช้ในโรงพยาบาลมหาวชิราลงกรณธัญบุรี ทั้ง 3 วิธี ที่เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการเตรียมตะกอนปัสสาวะในห้องปฏิบัติการและปรับใช้ในการตรวจตะกอนปัสสาวะใช้ของห้องปฏิบัติการ และหาความสัมพันธ์ของผลตะกอนปัสสาวะใน 3 วิธีที่ใช้ในโรงพยาบาล เปรียบเทียบกับวิธี NCCLS โดยศึกษาจากตัวอย่างปัสสาวะผู้ตรวจสุขภาพจำนวน 140 ราย ในโรงพยาบาลมหาวชิราลงกรณธัญบุรี พบว่าวิธีทั้ง 3 วิธีกับวิธีมาตรฐาน NCCLS นั้นให้ผล RBC, WBC, Epithelial cell และ Bacteria ที่ใกล้เคียงกับวิธีมาตรฐาน (P-value < 0.001) ซึ่งแสดงผลที่ได้จากวิธีดังกล่าวสามารถนำมาใช้ในการเตรียมตะกอนปัสสาวะในงานประจำวันโรงพยาบาลมหาวชิราลงกรณธัญบุรีได้ต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะใดๆ ที่นำเสนอในบทความเป็นของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว โดยบรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะกรรมการวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยปทุมธานี ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องแต่อย่างใด มหาวิทยาลัย บรรณาธิการ และกองบรรณาธิการจะไม่รับผิดชอบต่อข้อผิดพลาดหรือผลที่เกิดจากการใช้ข้อมูลที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้
References
สุภาพร วิวัฒนกุล, พัชรินทร์ แสงจารึก. การตรวจปัสสาวะ: กรุงเทพฯ : บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด, 2555 [2012]; 2012.
มาลินี พงศ์เสวี. การตรวจปัสสาวะและสารน้ำ: กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2557 [2014]
พิมพ์ครั้งที่ 2.; 2014.
กนกนาถ ชูปัญญา. คู่มือการตรวจปัสสาวะ: กรุงเทพฯ : โครงการตำรา-ศิริราช คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล 2525.; 2525.
Delanghe J, Speeckaert M. Preanalytical requirements of urinalysis. Biochemia Medica. 2014;24(1):89-104.
Hamasaki N. [Activities of Japanese Committee for Clinical Laboratory Standards (JCCLS) toward standardization of laboratory medicine]. Rinsho Byori. 2009;57(9):894-9.
Aspevall O, Hallander H, Gant V, Kouri T. European guidelines for urinalysis: a collaborative document produced by European clinical microbiologists and clinical chemists under ECLM in collaboration with ESCMID. Clin Microbiol Infect. 2001;7(4):173-8.
โสภาพรรณ เอกรัตนวงศ์. สรีรวิทยาและความผิดปกติของปัสสาวะ = Physiology and abnormal of urine: [ม.ป.ท. : ม.ป.พ., 2552] [2009]; 2009.
ศุภชัย ฐิติอาชากุล, สุวิมล นิลสิน. การศึกษาความสัมพันธ์ของการตรวจโปรตีนในปัสสาวะโดยใช้แถบตรวจ กับค่าอัตราส่วนโปรตีนต่อครีเอตินินในผู้ป่วยที่มีการเสื่อมของไต = Correlation between urine protein dipstick and urine protein creatinine index in renal impairment patients : รายงานงานวิจัย: [ม.ป.ท. : ม.ป.พ., 2544?]; 2544.