บทบรรณาธิการ
บทคัดย่อ
วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยปทุมธานี ฉบับนี้เป็นฉบับที่ 1 ปีที่ 3 (มกราคม-มิถุนายน 2565) สำหรับเนื้อหาประกอบไปด้วย บทความวิจัย 5 เรื่อง เป็นบทความวิจัยเรื่องทางวิทยาศาสตร์การกีฬา 1 เรื่อง คือ[1]ผลฉับพลันภายหลังการใช้โปรแกรมอบอุ่นร่างกายและเสริมสร้างสมรรถภาพที่มีต่อความเร็ว ความคล่องแคล่วว่องไว และพลังกล้ามเนื้อขาในนักกีฬาฟุตซอลชาย โดย อ.จตุรภุช บุษรา อ.จรสพร ปัสสาคำ อ.เมลานี อุระสนิท จากสาขาวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทาและอ.เพ็ญสินี พนาสิริวงศ์ จากวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล เรื่องที่ 2 เป็นบทความวิจัยด้านแพทย์แผนไทย คือรูปแบบการพัฒนายาเม็ดฟู่จากตำรับยาธาตุอบเชย โดยคุณจิราภรณ์ โสดาจันทร์ สถานผลิตยาและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คุณอดิสรณ์ คงคำและ คุณอำภา คนซื่อ หน่วยวิจัยการแพทย์แผนเดิม สาขาแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อดิศักดิ์ สุมาลีและ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พวงพกา ตันกิจจานนท์ จากหลักสูตรการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และคุณพีรวิชญ์ พาดี จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเปลือยตาล จังหวัดร้อยเอ็ด และบทความวิจัยด้านเทคนิคการแพทย์ 3 เรื่อง เรื่องแรกเป็นเรื่อง การศึกษาผลของการปรับปรุงเปปไทด์ต้านจุลชีพด้วยเทคนิค cyclization ที่มีต่อฤทธิ์ต้านจุลชีพ ความคงทน ความเป็นพิษและกลไกการออกฤทธิ์ต่อเชื้อบาซิลลัส ซีเรียส โดย อ.ดร.ณัฐภรณ์ กลับทวี สาขาเทคนิคการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี และคุณพัชรินทร์ ขจรพิพัฒน์ บัณฑิตศึกษาสาขาชีวเวชศาสตร์ คณะสหเวชศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรื่องที่สอง เรื่องปริมาณน้ำตาลกลูโคสและฟรักโทสในเครื่องดื่มชาและสมุนไพร โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุดาวดี คงขำและคุณสมโภชน์ ประจันทร์ ภาควิชาเทคนิคการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต สำหรับบทความวิจัยเรื่องสุดท้ายเป็นบทความวิจัยเกี่ยวกับการบริหารจัดการห้องปฏิบัติการคือ การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการกระบวนงานรับสิ่งส่งตรวจเชื้ออันตรายร้ายแรง เพื่อการวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ สถาบันบำราศนราดูรด้วย Lean Six Sigma โดยคุณนฤมล ทันประโยชน์และคุณภาวิดา สุวรรณะวัฒนะ จาก สถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยปทุมธานีขอเชิญชวนผู้สนใจที่จะเผยแพร่บทความทางวิชาการและวิจัยทางด้านวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ ด้านวิทยาศาสตร์กายภาพ ด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพและด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์และสุขภาพ โดยวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยปทุมธานีได้เพิ่มผู้ทบทวนบทความเป็นบุคคลภายนอกมหาวิทยาลัยปทุมธานีจำนวน 3 ท่านเพื่อท่านผู้ส่งบทความสามารถนำไปขอตำแหน่งทางวิชาการต่อไปได้ ท่านผู้สนใจที่จะส่งบทความมาตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยปทุมธานีสามารถอ่านคำแนะนำสำหรับผู้เขียนได้ในวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยปทุมธานีหรือทางเว็บไซด์ htts://ph01.tcithaijo.org/index.php/PTUJS
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยปทุมธานี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะใดๆ ที่นำเสนอในบทความเป็นของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว โดยบรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะกรรมการวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยปทุมธานี ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องแต่อย่างใด มหาวิทยาลัย บรรณาธิการ และกองบรรณาธิการจะไม่รับผิดชอบต่อข้อผิดพลาดหรือผลที่เกิดจากการใช้ข้อมูลที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้