การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการกระบวนงานรับสิ่งส่งตรวจเชื้ออันตรายร้ายแรง เพื่อการวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ สถาบันบำราศนราดูร ด้วย Lean Six Sigma

ผู้แต่ง

  • narumol thanprayoch -

คำสำคัญ:

ลีน, ซิกส์ ซิกม่า, เชื้ออันตรายร้ายแรง

บทคัดย่อ

ปัจจุบันเกิดการระบาดของเชื้ออันตรายร้ายแรง โรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ เป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญ การตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติเป็นอีกทางเลือกที่สามารถช่วยวินิจฉัยโรค ป้องกัน ควบคุมการแพร่ระบาดของโรคได้ การตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ แบ่งได้เป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนก่อนการตรวจวิเคราะห์ ขั้นตอนการตรวจวิเคราะห์ และขั้นตอนหลังการตรวจวิเคราะห์ พบว่าปัญหาและความเสี่ยงในขั้นตอนก่อนการตรวจวิเคราะห์ เป็นปัจจัยที่พบความถี่ได้บ่อยที่สุด และส่งผลกระทบต่อการพัฒนาคุณภาพ การรายงานผลการตรวจผิดพลาด รวมถึงระยะเวลาในการรอคอย ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ  ดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประยุกต์แนวคิดลีน (Lean) และ ซิกส์ซิกม่า (Six sigma) ในการพัฒนาคุณภาพ โดยนำหลักการ Define Measure Analyze Improve Control (DMAIC) มาใช้เป็นแนวทางการจัดการกระบวนรับสิ่งส่งตรวจเชื้ออันตรายร้ายแรง สามารถค้นหาปัญหาและความเสี่ยงที่เป็นสาเหตุก่อให้เกิดความผิดพลาด จากการเก็บข้อมูลย้อนหลังเป็นระยะเวลา 1 ปี ประเมินคุณภาพโดยใช้ระดับ Six sigma จากการศึกษาพบ ปัญหาข้อผิดพลาด และความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากขั้นตอนก่อนการตรวจวิเคราะห์ เช่น การลงข้อมูลสั่งตรวจในระบบสารสนเทศ การระบุตัวผู้ป่วย การระบุชนิดสิ่งส่งตรวจ การเก็บสิ่งส่งตรวจไม่ถูกต้องตามมาตรฐาน การขนส่งตัวอย่างผิดวิธี การสื่อสารไม่ถูกต้อง มีระดับ Six sigma เฉลี่ยเท่ากับ 2.63 หลังจากดำเนินการนำเครื่องมือ Lean Six sigma มาใช้ปรับปรุงระบบงาน โดยนำมาช่วยวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา วางแผนการปฏิบัติงาน สร้างแนวทางการปฏิบัติงานและควบคุมการปฏิบัติงาน พบว่าขั้นตอนก่อนการตรวจวิเคราะห์ มีระดับ Six sigma เพิ่มขึ้น เป็น 4.09 ในการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการประยุกต์ใช้แนวคิดลีน (Lean) และ ซิกส์ซิกม่า (Six sigma) มีความเหมาะสม และช่วยพัฒนากระบวนการงานรับสิ่งส่งตรวจเชื้ออันตรายร้ายแรงเพื่อการวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ สถาบันบำราศนราดูร ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขั้น

References

จอร์จ, ไมเคิล แอล โรลแลนด์, เดวิด ที และแมกเซย์, จอห์น เครื่องมือ Lean Six Sigma แปลจาก Lean Six Sigma Pocket Toolbook โดย วิทยา สุหฤทดำรง และพรเทพ เหลือทรัพย์สุข (2554) กรุงเทพมหานคร อี.ไอ. สแควร์

เกรบัน, มาร์ค ปรับปรุงคุณภาพ ความปลอดภัยผู้ป่วย และความพึงพอใจของพนักงาน แปลจาก LEAN HOSPITALS โดย วิทยา สุหฤทดำรง (2555) กรุงเทพมหานคร อี.ไอ. สแควร์

จอร์จ, ไมเคิล แอล โรลแลนด์, เดวิด ที และแมกเซย์, จอห์น เครื่องมือ Lean Six Sigma แปลจาก Lean Six Sigma Pocket Toolbook โดย วิทยา สุหฤทดำรง และพรเทพ เหลือทรัพย์สุข (2554) กรุงเทพมหานคร อี.ไอ. สแควร์

กลุ่มงานเภสัชกรรม (2555) บัญชียาโรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กรมแพทย์ทหารเรือ ชลบุรี งานเภสัชสนเทศ /วิชาการและพัฒนาคุณภาพ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-07-12