The concept of public participation in community health promotion

Main Article Content

จีระศักดิ์ ทัพผา
นฤนาท ยืนยง
ปณิธาน กระสังข์

บทคัดย่อ

             การมีส่วนร่วมของประชาชนในการส่งเสริมสุขภาพของชุมชน เป็นกระบวนการทำงานที่เป็นระบบทั้งในเรื่องของการคิดและการตัดสินใจของประชาชนในการที่จะพัฒนาระบบ สุขภาพของชุมชนให้เกิดความเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพโดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำหน้าที่ให้คำแนะนำ การสร้างการมีส่วนร่วมจะทำให้ประชาชนเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของทางด้านสุขภาพ มีความกระตือรือร้นในการที่จะพัฒนาให้เกิดระบบสุขภาพของชุมชน ส่งผลให้ประชาชนสามารถแก้ไขปัญหาสุขภาพของชุมชนได้ในที่สุด การพัฒนาและการส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนในด้านสุขภาพของชุมชนนั้น สามารถทำได้โดยการสร้างความตระหนักชัดให้แก่ประชาชนด้วยการให้ข้อมูลข่าวสารที่ชัดเจน การรับฟังความคิดเห็นเพื่อประกอบการตัดสินใจ การเกี่ยวข้องในการปฏิบัติงาน การสร้างความร่วมมือของทุกภาคส่วนเพื่อการตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมร่วมกัน และการเสริมพลังอำนาจแก่ประชาชนเพื่อให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจในกระบวนการส่งเสริมสุขภาพ ซึ่งกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการส่งเสริมสุขภาพของชุมชนมี 5 ขั้นตอน ประกอบด้วยการสร้างทีมงาน การสร้างความตระหนักถึงปัญหาสุขภาพของชุมชน การวางแผนแก้ไขปัญหาสุขภาพของชุมชน การดำเนินการแก้ไขปัญหาสุขภาพของชุมชน และการประเมินผลและการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เมื่อประชาชนดำเนินการตามกระบวนการทั้ง 5 ขั้นตอนได้ครบถ้วนอย่างต่อเนื่อง จะส่งผลให้ชุมชนมีสุขภาพที่แข็งแรงอย่างยั่งยืนตลอดไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมการพัฒนาชุมชน. (2526). คู่มือการปฏิบัติงานพัฒนาชุมชนสำหรับนักพัฒนากร. กรุงเทพฯ: กระทรวงมหาดไทย.
กองสุขศึกษา (2556). การสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วม ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของชุมชน. กรมสนับสนุน
บริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข.
ขจร ตรีโสภณากร. (2558). รูปแบบการจัดการระบบสุขภาพภาคประชาชนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนเทศบาลเมือง
เมืองแกนพัฒนาจังหวัดเชียงใหม่. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
นาถ พันธุมนาวิน. (2523). สังคมวิทยาชนบท. กรุงเทพมหานคร: สำนักส่งเสริมและส่งเสริมมหาวิทยาลัยเกษตรศ่าสตร์.
ประดิษฐ์ มัฌชิมา. (2522). สังคมวิทยาชนบท. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พิสมัย จันทวิมล. (2541). นิยามศัพท์ส่งเสริมสุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 2 โครงการตำรา. นนทบุรี: สำนักพิมพ์สถาบันระบบ
สาธารณสุข.
ไพโรจน์ สุขสมฤทธิ์. (2531). การมีส่วนร่วมของประชาชน. วารสารพัฒนาชุมชน. ปีที่ 27 ฉบับที่ 2 : หน้า 25-28

ราชบัณฑิตยสถาน. (2542). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542. กรุงเทพมหานคร: บริษัทนามีบุคส์พับลิเคชั่นส์
จำกัด.
วัชรินทร์ ชาญศิลป์. (2552). ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมของไทย : มุมมองทางนิติศาสตร์ สังคมวิทยาและรัฐศาสตร์.
วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. ปีที่ 35 ฉบับที่ 2 : หน้า 15-25
วันชัย วัฒนศัพท์. (2543). คู่มือการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตัดสินใจของชุมชน. นนทบุรี: ศูนย์สันติวิธีเพื่อพัฒนา
ประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า.
วีระกิตติ์ หาญปริพรรณ์ และคนอื่นๆ. (2551). การมีส่วนร่วมของชุมชนในงานยุติธรรมชุมชน : กรณีศึกษาชุมชน
คลองจรเข้น้อย ตำบลเกาะไร่ อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา. กระทรวงยุติธรรม.
เข้าได้ถึงจาก : http://www.moj.go.th/upload/mini109_km/uploadfiles/2786_6770.doc.
สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2526). การพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
สานิตย์ บุญชู. (2536). การพัฒนาชุมชนโดยวิธีการศึกษาอบรมการศึกษานอกระบบ. กรุงเทพมหานคร: คณะสังคม
สงเคราะห์ศาสตร์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุนิสา โพธิ์เตี้ย. (2549). การศึกษารูปแบบการพัฒนาการของชุมชนหัวหินอันเนื่องมาจากการท่องเที่ยว. วิทยานิพนธ์
สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการวางผังเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สนธยา พลศรี. (2533). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ; โอเดียนสโตร์.
สมนึก ปัญญาสิงห์. (2532). การพัฒนาชุมชน (community Development). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2546). กระบวนการเรียนรู้. วารสารวิชาการ. ปีที่ 6 : หน้า 17-21.
สำนักงานคณะกรรมการสาธารณสุขมูลฐาน. (2545). สิทธิหน้าที่พลเมือง : ระบบสุขภาพภาคประชาชน. กรุงเทพมหานคร:
บริษัทเรดิเอชั่น จำกัด.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. (2555). คู่มือการปฏิบัติงานกระบวนการส่งเสริมสุขภาพของชุมชน
(ฉบับปรับปรุงปี 55). ประจวบคีรีขันธ์.
อัครณี ภักดีวงษ์. (2562). การสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการให้บริการโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การ
มหาชน) งานบริการผู้ป่วยนอก งานบริการผู้ป่วยใน และงานบริการในชุมชน ประจำปีงบประมาณ 2562.
วิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาสถิติ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
WHO. (1986). Ottawa Charter for Health Promotion. First International Conference on Health
Promotion, Ottawa, 21 November 1986. World Health Organization, Retrieved January 29,
2014, from: http://www.who.int/ hpr/archive/does/ottawa.html