การจัดการและการอนุรักษ์พลังงาน : กรณีศึกษาอาคารศูนย์การค้า ฟอร์จูนทาวน์ จังหวัดกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
การจัดการและการอนุรักษ์พลังงาน การประเมินสมรรถนะด้านพลังงาน อาคารศูนย์การค้าฟอร์จูนทาวน์บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อศึกษาแนวทางการอนุรักษ์พลังงานตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน (ฉบับที่ 2) ปีพ.ศ. 2550 โดยพิจารณาจากปริมาณการใช้พลังงาน โอกาสในการใช้งาน พิจารณาให้คะแนนตามหลักเกณฑ์การกำหนดมาตรการประหยัดพลังงานที่เหมาะสม ทั้งศึกษาความคุ้มค่าการลงทุนทางเศรษฐศาสตร์ในแต่ละมาตรการจากกรณีศึกษาอาคารศูนย์การค้าฟอร์จูนทาวน์ ในกรุงเทพมหานคร ผลการศึกษาพบว่าการเปลี่ยนสปริงเกอร์เฮด ที่ Cooling Tower ขนาด 500 TR จำนวน 4 ชุด สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำความเย็นและลดการใช้พลังงานในระบบทำความเย็น โดยใช้พลังงานไฟฟ้าได้ 15,695.00 kWh/ปี (ประหยัดค่าไฟฟ้า 187,785.00 บาท/ปี) มีค่า IRR 86.00% คืนทุน 2.95 ปี ส่วนการเปลี่ยน Package Water Cooled เครื่องปรับอากาศสามารถเพิ่มศักยภาพการใช้พลังงานของเครื่องปรับอากาศให้ดีขึ้น แต่ไม่สามารถคืนทุนและประหยัดได้ เนื่องจากค่าการใช้พลังงานจากเครื่องจักรใหม่มีการใช้พลังงานสูงขึ้นเมื่อเทียบกับเครื่องเดิม และการลงทุนสำหรับมาตรการเปลี่ยนจากหลอดฟลูออเรสเซนต์เป็นหลอด LED พบอาคารทั้งส่วนพลาซ่าและอาคารไอทีมอลล์ พบส่วนพลาซ่า สามารถลดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้ถึง 100,552.54 kWh/ปี (ประหยัดค่าไฟฟ้า 407,237.77 บาท/ปี) มีค่า NPV ที่ได้รับจากมาตรการประหยัดพลังงานเท่ากับ 1,584,424.86 บาท มีค่า IRR 86.10 % คืนทุน 1.11 ปี และส่วนไอทีมอลล์ สามารถลดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้ 70,293.74 kWh/ปี (ประหยัดค่าไฟฟ้า 284,689.66 บาท/ปี ) มีค่า NPV ที่ได้รับจากมาตรการประหยัดพลังงานเท่ากับ 1,170,212.30 บาท IRR 109.64 % คืนทุน 0.89 ปี
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะใดๆ ที่นำเสนอในบทความเป็นของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว โดยบรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะกรรมการวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยปทุมธานี ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องแต่อย่างใด มหาวิทยาลัย บรรณาธิการ และกองบรรณาธิการจะไม่รับผิดชอบต่อข้อผิดพลาดหรือผลที่เกิดจากการใช้ข้อมูลที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้