ผลของการนวดน้ำมันและประคบสมุนไพรในมารดาหลังคลอดที่มีภาวะเต้านมคัด ณ หอผู้ป่วยในโรงพยาบาลเสนา อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
คำสำคัญ:
การนวดน้ำมัน , การนวดเต้านม , การประคบเต้านม, มารดาหลังคลอดบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ใช้วิธีการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi – Experimental Research) แบบกลุ่มเดียววัดก่อนและ หลังการทดลอง เพื่อศึกษาผลการนวดน้ำมันและประคบสมุนไพรในมารดาหลังคลอดที่มีเต้านมคัด ณ หอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลเสนา อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง 30 ราย สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ SPSS คำนวณหาความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการทดสอบสมมติฐานเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง ระดับการคัดเต้านม ก่อนและหลังทำการรักษารวมถึงระดับอาการปวด ก่อนและหลังทำการรักษา โดยใช้สูตร T – test ผลการศึกษาพบว่าปัญหาเต้านมคัดใน มารดาหลังคลอด กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีภาวะคัดตึงเล็กน้อยเต้านมเริ่มตึงกดนุ่ม ไม่พบบวมแดงร้อน สัมผัสได้ไม่มีไข้ บีบน้ำนมออกหลังจากให้การรักษาและทำการประเมินอาการคัดเต้านม พบว่าส่วนใหญ่กลุ่มตัวอย่าง มีอาการดีขึ้น ในด้านระดับความปวด พบกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อยู่ในระดับรุนแรง (severe pain) หลังจาก ที่ทำการรักษาได้ทำการประเมินระดับอาการปวดหลังทำการรักษา พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีอาการปวดลดลง ส่วนใหญ่อยู่ในระดับน้อย (mild pain) ดังนั้น จากผลการศึกษาพบว่าผลของการนวดน้ำมันและ ประคบสมุนไพรในมารดาหลังคลอดที่มีภาวะเต้านมคัด ณ หอผู้ป่วยในโรงพยาบาลเสนา อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สามารถลดระดับความเจ็บปวดและเพิ่มการไหลของน้ำนมในมารดาหลังคลอดได้ และนอกจากนี้ผู้วิจัยสังเกตพบว่าหลังการนวดน้ำมันและประคบสมุนไพร พร้อมการให้คำแนะนำวิธีดูแลเต้านม วิธีการให้นม และอาหารบำรุงเต้านมตามศาสตร์การแพทย์แผนไทยแก่มารดานั้น ทำให้มารดาหายจาก ภาวะเต้านมคัดและมีปริมาณน้ำนมที่เพียงพอต่อการเลี้ยงดูทารก จากผลการศึกษาครั้งนี้ จึงมีส่วนในการสนับสนุนให้มารดาหลังคลอดประสบความสำเร็จในการเลี้ยงทารกด้วยน้ำนมตนเองต่อไป
References
กฤษณา ปิงวงศ์และคณะ. (2560). การนวดเต้านมเพื่อส่งเสริมการสร้างและการหลั่งน้ำนม. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
กลุ่มงาน วิชาการเวชกรรมแลผดุงครรภ์ไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวง สาธารณสุข. (2560). ตำราภูมิปัญญาการผดุงครรภ์ไทย .นนทบุรี:จุฑาเจริญทรัพย์.
เกณฑ์การประเมินความคัดตึงของเต้านมของโรงพยาบาลศิริราช, (2549).
คณะการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (2560).ภาวะเต้านมคัด .แนวทางเวชปฏิบัติ ทางการแพทย์แผนไทย เล่ม 3.
จันทนา วนารมย์และคณะ. (2553). การเปรียบเทียบความเจ็บปวดจากเต้านมคัดระหว่างก่อนและ หลังใช้โดนัทประคบเต้านมของมารดาหลังคลอดในโรงพยาบาลเสนา. ตึกศัลยกรรมหญิง โรงพยาบาลเสนา.
จงกชพร พินิจอักษร. (2554). นวดน้ำมัน .เอกสารความรู้ผู้ดำเนินการสปาเพื่อสุขภาพ สำนักงานส่งเสริม ธุรกิจบริการสุขภาพ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข.
ชุติมาพร ไตรนภากุลและคณะ. (2553). ผลของการไหลของน้ำนมในหญิงหลังคลอดที่ถูกนวด-ประคบ เต้านมด้วยกระเป๋าน้ำร้อนและลูกประคบสมุนไพร. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 4 ราชบุรี กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.
ทีมงานห้องคลอด โรงพยาบาลบ้านฉาง. (2557). ผลของการนวด/ประคบเต้านมต่อการไหลของน้ำนม ในมารดาหลังคลอด. ห้องคลอด โรงพยาบาลบ้านฉาง.
นครชัย เผือนปฐม. (2538). ความเจ็บปวด = Pain. สงขลา: โรงพิมพ์ไทยนำ.
นภารัตน์ ศรีละพันธ์, (2554). การนวดอายุรเวทศิริราช การแพทย์แผนไทยประยุกต์กับการพัฒนา การแพทย์ไทยให้ยั่งยืน 2554 สถานพยาบาลการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราช พยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล.กรุงเทพมหานคร :ศุภวนิชการพิมพ์.
นิภา เพียรพิจารณ์. (2558).คู่มือการพยาบาล การส่งเสริมสายสัมพันธ์แม่-ลูก และการเลี้ยงลูก ด้วยนมแม่ ในห้องคลอด.งานการพยาบาลสูติศาสตร์-นารีเวชวิทยา ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศิริราช มหาวิทยาลัยมหิดล.
ประมินทร์ อนุกูลประเสริฐ และคณะ. (2549). การเปรียบเทียบผลของการนวดเต้านม เพียงอย่างเดียวกับการนวดเต้านมร่วมกับประคบเต้านมด้วยผ้าชุบน้ำอุ่นในการกระตุ้น. โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน.
พนิตนาฎ โชคดี. (2554, 22-24 มิถุนายน 2554). การใช้ขวดน้ำร้อนประคบเต้านมตึงคัด, เอกสาร ประกอบการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติ ครั้งที่ 3, โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร.
มณีภรณ์ โสมานุสรณ์. (2548). การพยาบาลสูติสาสตร์ เล่ม 2. (พิมพ์ครั้งที่ 4). นนทบุรี: ยุทธรินทร์.
มาลา สร้อยสำโรง. (2553). คู่มือสร้างเสริมฟื้นฟูสุขภาพแม่ก่อนและหลังคลอดด้วยศาสตร์การ แพทย์แผนไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย. (2562 ).น้ำนมจากแม่ ให้แต่ประโยชน์. แผ่นพับให้ความรู้ สำนักงาน กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).
วิภาวรรณ ศุภพฤกษ์ และคณะ. (2554). ตัวอย่างการพัฒนาแนวทางเวชปฏิบัติการแพทย์แผนไทย กรณี มารดาหลังคลอดมีน้ำนมไม่พอเลี้ยงบุตร การแพทย์แผนไทยประยุกต์กับการพัฒนาการแพทย์ไทย ให้ยั่งยืน 2554 สถานพยาบาลการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล.กรุงเทพมหานคร :ศุภวนิชการพิมพ์.
ศศิธารา น่วมภา. (2556). ปัจจัยส่วนบุคคลเวลาที่เริ่มให้นมแม่ และการสนับสนุนจากพยาบาล ในการทํานายความสําเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวก่อนจําหน่ายในมารดา หลังผ่าตัดคลอด .คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
ศุภกิจ สุวรรณไตรย์ และคณะ. (2553). ถุงประคบสมุนไพร แบบหูรูด .อายุรเวทศิริราช สถานพยาบาล การแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล.
ศุภกร โรจนนินทร์. (2553). การให้นมลูก ตอนที่ 1 .ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราช พยาบาล.
ศุภวรรณ พันธ์บูรณะและคณะ, (2553). ตำราการนวดไทยเพื่อสุขภาพ 150 ชั่วโมง แบบทั่วไป. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
สมบูรณ์ เทียนทอง และวิมลรัตน์ กฤษณะประกรกิจ. (2544). การระงับปวดหลังผ่าตัด. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.
อมรินทร์ ชะเนติยัง. (2562). ผลการนวดและประคบเต้านมเพื่อกระตุ้นการไหลของน้ำนมในมารดา หลังคลอด. งานแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ.
McCaffery, M. (1979). Nursing the patient in pain. London: Harper & Row.
Melzack, R. & Katz, J. (1999). Pain measurement in persons in persons in pain. In P. D. Wall, & R. Melzack (Eds.), Textbook of pain (pp. 409-426). London: Harcourt.
Rowlingson, J. C. (1994). The assessment of pain. In R.J Hamill and Rowlingson (Ed.), Handbook of critical care pain management. (pp.13-25). Singapore: Mcgraw-Hill.
Taylor, C., Lillis, C. & Lemone, P. (2001). Fundamentals of nursing: the art science of nursing care. (4th ed.). Philadelphia: Lippincott.
สืบค้นจากอินเตอร์เนท
กรมอนามัย. (2562). “กรมอนามัยแนะเทคนิค 3 ดูด รณรงค์เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยเฉพาะช่วง 6 เดือนแรก ของชีวิต” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://workpointnews.com/2019/08/05/13/ สืบค้น 11 พฤษภาคม 2564
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. (2561). “นโยบายและทิศทางการดำเนินงาน กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปีงบประมาณ 2562” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.ppho.go.th/webppho/dl_strat/F20181018142905.%20%E0%B8%AD%E0%B8 %98%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A1%E0%B8 %AD%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%9A%E0%B8 %B2%E0%B8%A262 %20_version12102018 สืบค้น 11 พฤษภาคม 2564
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์. (2562). “ภาวะเต้านมคัด” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://www.bumrungrad.com/th/conditions/engorged-breasts สืบค้น 11 พฤษภาคม 2564
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะใดๆ ที่นำเสนอในบทความเป็นของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว โดยบรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะกรรมการวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยปทุมธานี ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องแต่อย่างใด มหาวิทยาลัย บรรณาธิการ และกองบรรณาธิการจะไม่รับผิดชอบต่อข้อผิดพลาดหรือผลที่เกิดจากการใช้ข้อมูลที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้