บทบาทการรักษาและการดำรงอยู่ของหมอพื้นบ้านจังหวัดปทุมธานี ในการดูแลสุขภาพชุมชน

Main Article Content

พวงผกา ตันกิจจานนท์

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ  (Survey   Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ


(Qualitative Research) วัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและรวบรวมองค์ความรู้การแพทย์พื้นบ้านไทย จาก


ความรู้โดยนัย (Tacit knowledge) เป็นความรู้ที่บันทึก (Explicit knowledge) และศึกษาบทบาท การ


ดำรงอยู่ของหมอพื้นบ้านจังหวัดปทุมธานี ในการดูแลสุขภาพชุมชน กลุ่มตัวอย่างเป็นหมอพื้นบ้านในเขต


จังหวัดปทุมธานี ที่มีรายชื่อในฐานข้อมูลหมอพื้นบ้านของสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานีและกองการแพทย์


พื้นบ้าน กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ที่ทำการรักษาผู้ป่วยมาแล้วไม่น้อยกว่า 10 ปี มี


จำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลองค์ความรู้หมอพื้นบ้าน 2 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 ข้อมูล


ทั่วไป ส่วนที่ 2 ความรู้และประสบการณ์แต่ละด้านของหมอประกอบด้วยหมอยาสมุนไพร หมอเด็กและ


สตรี หมอนวดพื้นบ้าน และหมอพื้นบ้านที่มีความชำนาญด้านอื่นๆ


          ผลการวิจัยพบว่าหมอพื้นบ้านจำนวน 12 ราย ยังคงมีบทบาทในการให้การรักษาในชุมชน


ประเภทของหมอพื้นบ้านที่ยังให้การรักษาในชุมชนประกอบด้วย หมอยาสมุนไพร หมอนวด หมอจัด


กระดูก หมอรักษาต้อ หมอเด็ก หมอเป่า จำนวนคนไข้ที่มารับการรักษาพบว่าอยู่ระหว่าง 15-100 คนต่อ


เดือน ส่วนการดำรงอยู่ของหมอพื้นบ้านเนื่องปัจจัยด้านการเข้าถึงการบริการ ค่ารักษาพยาบาล ผลของ


การรักษาและความศรัทราในตัวหมอพื้นบ้าน


คำสำคัญ:หมอพื้นบ้าน บทบาท ความคงอยู่ การดูแลสุขภาพชุมชน


 

Article Details

บท
บทความวิจัย