ความหนักของการฝึกเกมสนามเล็ก 3 ต่อ 3 ในนักกีฬาฟุตซอลระดับมหาวิทยาลัย

ผู้แต่ง

  • ภาณุพงค์ รุ่งมิตรจรัสแสง
  • ปกรณ์ ฉูตรสูงเนิน คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

คำสำคัญ:

เกมสนามเล็ก, อัตราการเต้นของหัวใจ, ฟุตซอล

บทคัดย่อ

 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลความหนักของอัตราการเต้นของหัวใจ และช่วงร้อยละของอัตราการเต้นใจตั้งแต่ 70-80 ,80-90 ,90 ขึ้นไป ของเกมสนามเล็กรูปแบบไม่ใช้ผู้รักษาประตูและเกมสนามเล็กรูปแบบใช้ผู้รักษาประตูในนักกีฬาฟุตซอล กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาฟุตซอลมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต เพศชาย มีอายุ 18-22 ปี จำนวน 12 คน โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 3 คน ทุกกลุ่มต้องฝึกเกมสนามเล็กรูปแบบไม่ใช้ผู้รักษาประตู และเกมสนามเล็กรูปแบบใช้ผู้รักษาประตู บันทึกอัตราการเต้นของหัวใจความ และช่วงร้อยละของอัตราการเต้นใจตั้งแต่ 70-80 ,80-90 ,90 ขึ้นไป โดยวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การทดสอบความแตกต่างของค่ากลางของสองประชากรไม่อิสระ (Paired t-test )

ผลการวิจัยพบว่าอัตราการเต้นของหัวใจของเกมสนามเล็กในรูปแบบไม่ใช้ผู้รักษาประตูมีค่าเฉลี่ยสูงกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับเกมสนามเล็กรูปแบบใช้ผู้รักษาประตู อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ส่วนช่วงร้อยละของอัตราการเต้นใจตั้งแต่ 70-80 ,80-90 ของเกมสนามเล็กในรูปแบบไม่ใช้ผู้รักษาประตูมีค่าเฉลี่ยสูงกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับเกมสนามเล็กรูปแบบใช้ผู้รักษาประตู และช่วงร้อยละของอัตราการเต้นใจตั้งแต่ 90 ขึ้นไป ของเกมสนามเล็กในรูปแบบใช้ผู้รักษาประตูมีค่าเฉลี่ยสูงกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับเกมสนามเล็กรูปแบบไม่ใช้ผู้รักษาประตู อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 

สรุปได้ การฝึกเกมสนามเล็กทั้ง 2 รูปแบบในนักกีฬาฟุตซอล ได้แก่ เกมสนามเล็กรูปแบบไม่ใช้ผู้รักษาประตู เกมสนามเล็กรูปแบบใช้ผู้รักษาประตู ส่งผลต่อความหนักของอัตราการเต้นของหัวใจ และช่วงร้อยละของอัตราการเต้นใจตั้งแต่ 70-80 ,80-90 ,90 ขึ้นไปในขณะฝึกซ้อมแตกต่างกัน

References

สนธยา สีละมาด. 2555. หลักการฝึกกีฬาสำหรับผู้ฝึกสอนกีฬา. ครั้งที่4 สำนักพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
วรศิษฎ์ ศรีบุรินทร์. 2553. ผลของการฝึกระหว่างเกมสนามเล็กและแบบฝึกเฉพาะเจาะจงต่อ
สมรรถภาพด้านแอโรบิคและแอนแอโรบิคในนักกีฬาฟุตบอล. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท ,มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Abrantes CI., Nunes MI., Macas VM., Leite NM., Sampaio JE. 2012. Effects of the
number of players and game type constraints on heart rate, rating of perceived exertion, and technical actions of small-sided soccer games. Journal of Strength & Conditioning Research. 26(4): 976-981
Barbero-Alvarez J.C., D’ottavio S., Vera J.G. and Castagna C. 2009. Aerobic fitness
in futsal players of different competitive level. Journal of Strength &
Conditioning Research. 23(7): 2163-2166
Halouani, J, Chtourou, H, Gabbett, T, Chaouachi, A, and Chamari, K. 2014. Small-
sided games in team sports training: A brief review. J Strength Cond Res 28(12): 3594–3618
Marco A., Goreti B., Carlos L., Victor M., Jaime S. 2012. A Review on the Effects of
Soccer Small-Sided Games. Journal of Human Kinetics. 33:103-113.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30