ไลเคนชนิดเด่นในป่าเต็งรังรุ่นที่สองในพื้นที่อนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ณ สถานีวิจัยปฏิบัติการสวนวลัยรุกขเวช อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

ขวัญุเรือน นาคสุวรรณ์กุล
อารีรัตน์ ใสส่อง
อรทัย เสริฐศรี

บทคัดย่อ

ป่าโคกดงเค็งเป็นป่าเต็งรังรุ่นที่สองในพื้นที่อนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ณ สถานีปฏิบัติการวิจัยสวนวลัยรุกขเวช อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม เป็นป่าพื้นที่อนุรักษ์ วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัยนี้ คือ สำรวจไลเคนชนิดเด่นที่พบในป่าเต็งรังรุ่นที่สองเพื่อใช้เป็นดัชนีชี้วัดสภาพของป่าในพื้นที่อนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ โดยเก็บตัวอย่างไลเคนบนเปลือกต้นไม้ในระหว่างเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 พบว่าไลเคนชนิดเด่นในพื้นที่พบไลเคน 3 กลุ่ม คือ โฟลิโอส ลีโพรส และครัสโตส โดยโฟลิโอสไลเคนจำนวน 3 ชนิด ได้แก่ Hyperphyscia adglutinata (Flörke) H. Mayrhofer & Poelt, Physcia dimidiata (Arnold) Nyl., Pyxine cocoes (Sw.) Nyl. ลีโพรสไลเคนจำนวน 1 ชนิด คือ Chrysothrix xanthina (Vain.) Kalb และครัสโตสไลเคนจำนวน 8 ชนิด ได้แก่ Dyplolabia afzelii (Ach.) A. Massal., Graphis streimannii A.W. Archer, Lecanora leprosa Fée, Lecanora tropica Zahlbr., Marcelaria benguelensis (Müll. Arg.) Aptroot, Nelsen & Parnmen, Nigrovothelium tropicum (Ach.) Lücking, M.P. Nelsen & Aptroot, Pyrenula nitida (Weigel) Ach. และTrypethelium eluteriae Spreng. ไลเคนทั้ง 12 ชนิดที่สำรวจพบจึงสามารถใช้เป็นดัชนีบ่งชี้สภาพป่าเต็งรังรุ่นที่สองได้ เนื่องจากสามารถพบได้ทุกเส้นทางการสำรวจในพื้นที่ นอกจากนี้ยังใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงของสภาพป่าได้ในอนาคต

Article Details

How to Cite
นาคสุวรรณ์กุล ข. ., ใสส่อง อ. ., & เสริฐศรี อ. . (2023). ไลเคนชนิดเด่นในป่าเต็งรังรุ่นที่สองในพื้นที่อนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ณ สถานีวิจัยปฏิบัติการสวนวลัยรุกขเวช อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 51(1), 44–56. https://doi.org/10.14456/kkuscij.2023.5
บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ขวัญุเรือน นาคสุวรรณ์กุล, ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

หน่วยวิจัยเห็ดและไลเคนเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

อารีรัตน์ ใสส่อง, ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

หน่วยวิจัยเห็ดและไลเคนเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

อรทัย เสริฐศรี, ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

หน่วยวิจัยเห็ดและไลเคนเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

References

กัญจน์ ศิลป์ประสิทธิ์, วิรงรอง ดวงใจ, อรินทม์ งามนิยม, ภัทรพงษ์ เกริกสกุล, ศิริกุล ธรรมจิตรสกุล, ทายาท ศรียาภัย และอัญชัญ ตัณฑเทศ. (2556). ความหลากหลายของไลเคนบริเวณแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เขื่อนขุนด่านปราการชล จังหวัดนครนายก. วารสารวนศาสตร์ 32(ฉบับพิเศษ): 85 - 96.

กัณฑรีย์ บุญประกอบ และกวินนาถ บัวเรือง. (2550). ไลเคนแห่งเกาะแสมสารจากยอดเขาถึงชายทะเล. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง. หน้า 1 - 54.

ขวัญุเรือน นาคสุวรรณ์กุล. (2558). อนุกรมวิธานของไลเคน. ขอนแก่น: บริษัทศิริภัณฑ์ (2497) จำกัด. หน้า 1 - 230.

ขวัญเรือน พาป้อง. (2555). ดัชนีชี้วัดทางชีวภาพสำหรับตรวจสอบคุณภาพอากาศ. วารสารวิทยาศาสตร์ มข. 40(1): 13 - 23.

ขวัญเรือน พาป้อง, กัณฑรีย์ บุญประกอบ และ H. Thorsten Lumbsch. (2554). ไลเคนวงศ์ Lecanoraceae (Lecanorales: Ascomycota) ในประเทศไทย. มหาสารคาม: อภิชาติการพิมพ์. หน้า 1 - 46.

ฉันทนา รุ่งพิทักษ์ไชย, ลักขณา รักขพันธ์, อลภา ทองไชย, สายใจ แก้วอ่อน และศศิธร พังสุบรรณ. (2559). ความหลากหลายของไลเคนในมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา : ดัชนีชีวภาพชี้วัดมลพิษทางอากาศ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรย. 1(2): 31 - 41.

พชร มงคลสุข และวสันต์ เพิงสูงเนิน. (2555). ไลเคนวงศ์กราฟิดาซิอิ, ศิลปกรรมตามธรรมชาติ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง. หน้า 1 - 85.

พชร มงคลสุข และสัญญา มีสิม. (2555). ไลเคน : วงศ์ฟิสเซียซิอิในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง. หน้า 1 - 124.

มูฮำหมัดตายุดิน บาฮะคีรี, ประยูร ดำรงรักษ์, ฉันทนา รุ่งพิทักษ์ไทย, พาตีเมาะ อาแยกือจิ, ซูไบดี โตะโมะ และนัสรี มะแน. (2557). ความหลากหลายของไลเคนในพื้นที่หุบเขาลำพญา ตำบลลำพะยา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา. ยะลา: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. หน้า 1 - 158.

สรณรัชฎ์ กาญจนวณิชย์. (2553). นักสืบสายลม : คู่มือสำรวจไลเคนกรุงเทพมหานครตรวจคุณภาพอากาศเมือง. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโลกสีเขียว. 1 - 15.

หน่วยวิจัยไลเคน ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. (2547). ความหลากชนิดของไลเคน ณ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่. กรุงเทพฯ: สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. หน้า 1 - 114.

Arup, U., Ekman, S., Lindblom, L. and Mattsson, J. (1993). High performance thin layer chromatography (HPTLC), an improved technique for screening lichen substance. Lichenologist 25(1): 61 - 71.

Buaruang, K., Boonpragob, K., Mongkolsuk, P., Sangvichien, E., Vongshewarat, K., Polyiam, W., Rangsiruji, A., Saipunkaew, W., Naksuwankul, K., Kalb, J., Parnmen, S., Kraichak, E., Phraphuchamnong, P., Meesim, S., Luangsuphabool, T., Nirongbut, P., Poengsungnoen, V., Duangphui, N., Sodamuk, M., Phokaeo, S., Molsil, M., Aptroot, A., Kalb, K., Lücking, R. and Lumbsch, H.T. (2017). A new checklist of lichenized fungi occurring in Thailand. MycoKeys 23: 1 - 91.

Culberson, C.F. (1972). Improved conditions and new data for the identification of lichen products by a standardized thin-layer chromatographic method. Journal of Chromatography 72: 113 - 125.

Culberson, C.F. and Johnson, A. (1976). A standardized two-dimensional thin-layer chromatographic method for lichen products. Journal of Chromatography 128: 253 - 259.

Elix, J.A. (2014). A Catalogue of Standardized Chromatographic Data and Biosynthetic Relationships for Lichen Substances. 3rd edition. Canberra: Australian National University. pp. 1 - 576.

Lücking, R., Kalb, K., Staiger, B. and McNeill, J. (2007). Proposal to conserve the name Phaeographis, with a conserved type, against Creographa, Ectographis, Flegographa, Hymenodecton, Platygramma, and Pyrographa (Ascomycota: Ostropales: Graphidaceae), along with notes on the names Graphina and Phaeographina. Taxon 56(4): 1296 - 1299.

Nimis, P.L., Aptroot, A., Boonpragob, K., Buaruang, K., Poengsungnoen, V., Polyiam, W., Vongshewarat, K., Meesim, S., Boonpeng, C., Phokaeo, S., Molsil, M., Nirongbutr, P., Sangvichien, E., Moro, A., Pittao, E., and Martellos, S. (2017). 100 Lichens from Thailand: a tutorial for students (online). Edizioni Università di Trieste. Trieste 1 - 124.

White, F.J. and James, P.W. (1985). A new guide to microchemical techniques for the identification of lichen substances. Bulletin of the British Lichen Society 57 (Supplement): 1 - 41.