ไก่ยอทดแทนไขมันไก่ด้วยน้ำมันรำข้าวลดเกลือปราศจากฟอสเฟตเสริมอินนูลินและพีโปรตีน

Main Article Content

อภิญญา เจริญกูล
กมลทิพย์ เอกธรรมสุทธิ์
รัชนี ไสยประจง

บทคัดย่อ

ไก่ยอเป็นผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูปประเภทอิมัลชันเป็นเนื้อบดละเอียดทำจากเนื้อไก่  มันไก่  และเครื่องปรุงต่างๆ ไขมันจากสัตว์เป็นไขมันที่มีปริมาณกรดไขมันอิ่มตัวและคอเลสเตอรอลสูง ซึ่งถ้าบริโภคปริมาณมากจะเป็นผลเสียต่อสุขภาพ อีกทั้งผลิตภัณฑ์ไก่ยอยังมีใยอาหารต่ำ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงได้ศึกษาการผลิตไก่ยอทดแทนไขมันไก่ด้วยน้ำมันรำข้าวเสริมอินนูลินและพีโปรตีนโดยใช้น้ำมันรำข้าวทดแทนไขมันไก่ทั้งหมด แปรปริมาณเกลือในระดับ 0.5 และ 1% และเติมอินนูลินในระดับ 0  2 และ 4% ร่วมกับการเสริมพีโปรตีน 2% โดยมีไก่ยอที่ใช้น้ำมันรำข้าวเป็นสูตรควบคุม ประเมินผลด้านความแน่นเนื้อ ความคงตัวของอิมัลชัน  ปริมาณผลผลิต สี การทดสอบทางประสาทสัมผัสโดยวิธี 9 - point hedonic scale การทดสอบความพอดีโดยวิธี 5 - point Just about right (JAR) scale และการทดสอบการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภค จากผลการทดลองพบว่า เมื่อปริมาณเกลือลดลง และอินนูลินเพิ่มขึ้น ทำให้ไก่ยอมีค่าความแน่นเนื้อ  ความคงตัวของอิมัลชัน  ค่าสี L* และ a* มีแนวโน้มลดลง ยกเว้นที่ระดับเกลือ 1% มีค่าความแน่นเนื้อเพิ่มขึ้น ส่วนปริมาณผลผลิต  ค่าสี b*  Chroma และ Hue มีค่าเพิ่มขึ้น (p < 0.05) จากการทดสอบทางประสาทสัมผัสพบว่า สูตรเกลือ 0.5% และเสริมอินนูลิน 2% ได้คะแนนความชอบมากที่สุดในทุกด้าน และการประเมินผลด้านการตัดสินใจซื้อพบว่า มีผู้ตัดสินใจซื้อมากถึง 70.83% ซึ่งแสดงถึงการยอมรับของผู้บริโภคในผลิตภัณฑ์ไก่ยอทดแทนไขมันไก่ด้วยน้ำมันรำข้าวเสริมอินนูลินและพีโปรตีน

Article Details

How to Cite
เจริญกูล อ. ., เอกธรรมสุทธิ์ ก. ., & ไสยประจง ร. . (2023). ไก่ยอทดแทนไขมันไก่ด้วยน้ำมันรำข้าวลดเกลือปราศจากฟอสเฟตเสริมอินนูลินและพีโปรตีน. วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 51(1), 22–30. https://doi.org/10.14456/kkuscij.2023.3
บท
บทความวิจัย

References

กรรวี พิสันเทียะ และประภาศรี เทพรักษา. (2561). การใช้สารทดแทนฟอสเฟตต่อคุณภาพผลิตภัณฑ์ไก่ยอพร้อมรับประทานที่บรรจุในรีทอร์ทเพาช์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 26(1): 121-135. doi: 10.14456/tstj.2018.11

ขนิษฐ์ณิชา ศักดิ์สมบูรณ์ และประภาศรี เทพรักษา. (2558). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ไก่ยอโดยใช้น้ำมันรำข้าวแช่เยือกแข็งทดแทนมันไก่. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 23(ฉบับพิเศษ 5): 797—804. doi: 10.14456/tstj.2015.34

จิตรลัดดา กิติศรีวรพันธุ์. (2562). Good health, Fit body with “Pea Protein”. แหล่งข้อมูล: https://www.fit-biz.com/pea-protein_healthy-trend.html. ค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2566.

สมบูรณ์ รุ่งพรชัย. (2561). ประโยชน์ของ Inulin และ Fructooligosaccharide. แหล่งข้อมูล: https://www.interpharma. co.th/articles/สุขภาพ/บทที่-2-inulin-และ-fructooligosaccharide-fos. ค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2566.

Ferjančič, B., Kugler, S., Korošec, M., Polak, T. and Bertoncelj, J. (2021). Development of low-fat chicken bologna sausages enriched with inulin, oat fibre or psyllium. International Journal of Food Science and Technology 56(4): 1818-1828.

Jazbec, P., Šmidovnik, A., Puklavec, M., Križman, M., Šribar,.J., Milivojević, L. and Prošek, M. (2009). HPTLC and HPLC–MS Quantification of Coenzyme Q10 and Cholesterol in Fractionated Chicken-Breast Tissue. Journal of Planar Chromatography 22 (6): 395–398.

Magalhães, I.M.C., Paglarini, C.D.C., Vidal, V.A.S. and Pollonio, M.A.R. (2020). Bamboo fiber improves the functional properties of reduced salt and phosphate-free Bologna sausage. Journal of Food Processing and Preservation 44(12): 14929.

Milićević, D., Vranić, D., Mašić, Z., Parunović, N., Trbović, D., Nedeljković-Trailović, J. and Petrović, Z. (2014). The role of total fats, saturated/Unsaturated fatty acids and cholesterol content in chicken meat as cardiovascular risk factors. Lipids in Health and Disease 13 (1): 42.

O'Flynn, C., Cruz-Romero, M., Troy, D., Mullen, A. and Kerry, J. (2014). The application of high-pressure treatment in the reduction of salt levels in reduced-phosphate breakfast sausages. Meat Science 96: 1266–1274.

Powell, M., Sebranek, J., Prusa, K. and Tarté. R. (2019). Evaluation of citrus fiber as a natural replacer of sodium phosphate in alternatively-cured all-pork Bologna sausage. Meat Science 157: 107883.

Wang, Y., Yuan, J., Li, K., Chen, X., Wang, Y. and Bai, Y. (2022). Evaluation of chickpea protein isolate as a partial replacement for phosphate in pork meat batters: Techno-functional properties and molecular characteristic modifications. Food Chemistry 404(Part A): 134585.